“รมว.ธรรมนัส”พร้อมรักษาเสถียรภาพราคายางพารา ต่างชาติดันไทยนำร่องมาตรการ EUDR ย้ำเดินหน้าทำงานยุคนี้

“รมว.ธรรมนัส”พร้อมรักษาเสถียรภาพราคายางพารา ต่างชาติดันไทยนำร่องมาตรการ EUDR ย้ำเดินหน้าทำงานยุคนี้ ไม่ใช้ระบบราชการนำ แต่ต้องเป็นผู้นำราชการ

เมื่อวันที่ 4 เม.ย.2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานการประชุม พิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ต่อมาเวลา 16.00 น.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงกรณีที่นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ตั้งคำถามด้วยความเป็นห่วงชาวสวนยางว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้ราคายางมีเสถียรภาพ  คำถามนี้ตนได้ถามผู้บริหารการยาง และบอร์ดการยางว่าเมื่อเราทำมาตรฐานสูงแล้วเราจะรักษาอย่างไร  ซึ่งนโยบายแต่ละรัฐบาลก็มีจุดเด่น จุดขายเป็นของตัวเอง แต่ละรัฐบาล เพราะฉะนั้นอุปสงค์และอุปทานมีผลต่อราคายาง บอร์ดการยาง ทางตลาดยุโรป ส่งออก 88 เปอร์เซ็นต์ 4.8 ล้านตัน และใช้ในประเทศ 12 เปอร์เซ็น อย่าใช้งบประมาณบิดเบือนตลาด เช่น การประกันราคา และเขาขอให้ประเทศไทยเป็นประเทศนำร่องในการที่จะพลิกล็อคมาตรการอียูดีอาร์

ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ย้ำเสมอว่า เราต้องใช้ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ดังนั้นดีมานด์ ซัพพลาย อุปสงค์ อุปทานเป็นเรื่องสำคัญที่จะรักษาเสถียรภาพราคายาง เราจะปลูกอะไรก็ต้องดูว่าผู้ใช้ต้องการสินค้าประเภทอะไร มีมาตรฐานอย่างไร เข้ากับความต้องการของตลาดโลกอย่างไร ส่วนโบบายที่จะทำให้ราคายางมีเสถียรภาพ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องเข้าใจว่าวันนี้บริบทของตลาดโลกเปลี่ยนไปอย่างไร ผู้ที่ใช้อุตสาหกรรมการยางเขาต้องการมาตรฐานอะไร เวลานี้ทั้งตลาดยุโรป และเพื่อนบ้านเรา ต่างก็ตื่นตัวในนโยบายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า ( European Union’s Deforestation Regulation: EUDR) สินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประเทศเพื่อนบ้านกระทบแน่นอนทำให้ปริมาณยางประเทศเพื่อนบ้านลดลง

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า จากการศึกษาตลาดภายในประเทศมี 12 เปอร์เซ็นต์ ส่วนตลาดส่งออกยาง 88 เปอร์เซ็นถือว่าใหญ่ที่สุด ปริมาณยางในแต่ละปี มีอยู่ 4.8 ล้านตัน  ตนและผู้บริหารการยางก็พยายามรณรงค์ให้มีการใช้ยางภายในประเทศให้มากที่สุด นอกจากนี้ยังใส่ใจตลาดนอกเขาไม่ต้องการให้รัฐบาลไทย โดยตนได้ไปเจรจากับสหภาพยุโรป ในการประชุมกรีนวีค ที่กรุงเบอลิน ประเทศเยอรมัน ต้นเดือนม.ค.เขาขอร้องว่าอย่าใช้นโยบายบิดเบือนกลไกตลาดเสียหาย คือการประกันราคา ต้องใช้งบประมาณมหาศาล เขาขอร้องอย่าทำเด็ดขาด และขอร้องเด็ดขาดในเดือนธ.ค.2567 ทั่วโลกต้องทำคือมาตรการเข้มข้นอียูดีอาร์ สมัยรัฐบาลที่แล้วตนเป็นรมช.เกษตรฯทราบว่ามีการคุยแต่ไม่ได้ทำ เพราะสวนยางในประเทศมีมหาศาล เมื่อกลับมาเป็นก็มาได้มารณรงค์คิกออฟเรื่องอียูดีอาร์ ซึ่งได้สำรวจไปแล้วกว่า 2 ล้านไร่ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทูตได้มาพบตน และเมื่อวานนี้องค์การไม่แสวงหากำไรก็มาพบ และขอให้ประเทศไทยเป็นประเทศนำร่อง ในเรื่องมาตรการดียูดีอาร์ เมื่อเขาเชื่อมั่นว่าเราทำได้ เรามีผู้แทนการค้าไทยเดินไปสภาพยุโรป เรามีฝ่ายต่างประเทศไปเจรจาเรื่องเหล่านี้ เพราะฉะนั้นที่เกิดขึ้นในขณะนี้ประเทศไทยได้เปรียบที่จะเป็นประเทศแรกเจ้าใหญ่ที่จะนำร่องในเรื่องของการปลูกยาง การผลิตภัณฑ์ยาง การทำยางโดยไม่ทำให้ป่าไม้ทำลายระบบนิเวศน์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

รมว.เกษตรฯ กล่าวต่อว่า ดังนั้นบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ เขาต้องการให้เราทำเป็นต้นแบบ และเขาเชื่อมั่นในผู้บริหารการยางแห่งประเทศไทย บอร์ดการยาง ซึ่งการทำงานในยุคนี้ตนไม่ได้ใช้ระบบราชการนำ เราเป็นผู้กำกับนโยบายต้องนำข้าราชการ พอเราทำแบบนี้ทำให้ราคายางกระเตื้องขึ้น เพราะเราทำในสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ ดีมานด์ ซัพพลายถึงจะสมดุลกัน ส่วนการปราบยางเถื่อนนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกมธ.ความมั่นคงฯ ก็ลงไปตรวจยางเถื่อนกับตน ที่อ.สังขละบุรี ทำให้ปริมาณยางที่ทะลักเข้าบ้านเราน้อยลง จึงเป็นเหตุเป็นผลดีมานด์และซัพพลายสมดุลกัน ขอบคุณที่นายชวน ให้ข้อมูลหลายๆอย่างตรง ไม่ได้โต้ตอบ เพียงเสริมข้อมูลของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และตอบคำถาม ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ให้กับพี่น้องชาวสวนยาง

ในส่วนที่นายณรงเดช อุฬารกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่อภิปรายเรื่องกรมปศุสัตว์ว่า ผมติดตามทุกครั้งท่านอภิปรายที่มีเหตุและผล ถือเป็นประโยชน์ต่อตัวผมเอง เรื่องของปัญหาของราคาสุกรหน้าฟาร์มตกต่ำกว่าต้นทุนการผลิต หลับตาแล้วเหมือนการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลชุดที่แล้ว เพราะข้อมูลต่างๆเป็นการทำงานของรัฐบาล แต่ก็ถือว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล ถึงแม้ว่าจะถูกปลดกลางอากาศตั้งแต่ปี 2565 ปัจจัยที่ทำให้ราคาหมูหน้าฟาร์มตกต่ำราคาต้นทุนการผลิต มีปัจจัย 2 อย่างคือ ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ สำหรับปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยซึ่งประกอบด้วยการลักลอบนำเข้าสินค้าเข้าสู่ราชอาณาจักรแบบผิดกฎหมาย ก็คือหมูเถื่อน มาจำหน่ายภายในประเทศ ทำให้ราคาสุกรในประเทศตกต่ำ ที่พ่อค้าลักลอบนำเข้ามาโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ โดย 1 ตู้เเทียเท่าหมูปริมาณ 300 ตัว นี่สิ่งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2564

ทั้งนี้วัตถุดิบจากประเภทอาหารสัตว์ที่นำเข้ามาราคาสูง สำหรับปัจจัยภายใน ซึ่งก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ประกอบด้วยปริมาณผลผลิตสุกรในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากเรามีมาตรการในการควบคุมโรคระบาด ASF ในสุกร หรือ African Swine Fever(ASF) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ปริมาณหมูล้นตลาด ขณะที่ความต้องการของตลาดภายในและตลาดส่งออกนอกประเทศ มีจำนวนลดลง สิ่งสำคัญเหล่านี้เป็นที่มาที่ไปของการแก้ปัญหา เรื่องสำคัญเรื่องแรกคงหนีไม่พ้นที่ตนพูดถึงคือ การประกาศทำสงครามสินค้าเถื่อน เพิ่มความเข้มข้นในการปราบปรามป้องกันไม่ให้พ่อค้านำสินค้าเหล่านี้เข้ามาในราชอาณาจักร โดยการใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542

การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ คือการประกาศทำสงครามกับสินค้าเถื่อน เพื่อเป็นการเพิ่มมาตรการที่เข้มข้นในการห้ามปราบปรามป้องกันไม่ให้พ่อค้าหัวไทรนำสินค้าเหล่านี้เข้ามาในราชอาณาจักร โดยใช้ พ.ร.บ. ฟอกเงิน หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการยึดทรัพย์เป็นต้น เพราะถ้าโทษไม่หนักคนพวกนี้ก็จะไม่เข็ด “ซึ่งเราสามารถพูดได้ร้อยเปอร์เซ็นว่า ในเวลานี้การนำสินค้าเถื่อนประเภทสุกรเข้ามา มันหายไปจากวงจร” แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำนโยบายควบคู่คือการรักษาเสถียรภาพราคาสุกรหน้าฟาร์ม ภายใต้มติคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์

ผลสัมฤทธิ์ที่ได้ทำมาตรการต่างๆ ทำให้ราคาสุกร ระหว่างต้นทุนการผลิตกับราคาหน้าฟาร์มเริ่มขยับเข้าหากัน และมีอีกหลายมาตรการที่รัฐจัดทำในเวลานี้จะทำให้ ราคาต้นทุนกับราคาเนื้อสุกรหน้าฟาร์มสมดุล แล้วทำให้พี่น้องเกษตรกรลืมตาอ้าปากได้มากขึ้น มาตรการเราทำร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ แต่สิ่งที่กระทรวงเกษตรฯ ในฐานะฝ่ายผลิตเป็นห่วงกังวลคือเรื่องของผู้บริโภค ซึ่งเราได้พูดคุยกับหลายฝ่ายและจับมือกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้ในอนาคตเราจะพยายามลดควบคุมปริมาณแม่พันธุ์ ลูกหมูสมดุลกันหมดราคายาง ให้กับพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร

ส่วนปัญหาราคาสัตว์น้ำ โดยได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมประมง ต้องหันหน้าเข้าหากันคุยกันระหว่างผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้าทั้งหลายกับภาครัฐโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกี่ยวกับเรื่องข้อกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้ประกอบการและชาวบ้าน และร่วมกันทำกฏหมายเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องชาวประมง ซึ่งตนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงได้ตั้งอนุคณะกรรมการแก้ไขราคาสัตว์น้ำ ที่มีพี่น้องจากประมงพื้นบ้าน และพาณิชย์ และภาคต่างๆมารวมอยู่ในคณะกรรมการชุดนี้เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาราคาต่ำ

นอกจากนี้ ในปลายเดือนเมษานี้ ผู้แทนการค้าไทย ที่มีนายกรัฐมนตรี รวมถึงนายภูมิธรรม เวชยชัย และนายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะชุดไปเจรจากับ IUU และสหภาพยุโรป กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาความเข้าใจผิดที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง IUU ที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเราต้องบนความเป็นจริง และรักษาผลประโยชน์ของคนไทยเป็นสำคัญ

////