ผลการศึกษาชี้ กินถั่วหลากชนิด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า มีรายงานศึกษาที่ถูกเผยแพร่สัปดาห์นี้ว่า คนที่รับประทานของขบเคี้ยวประเภทถั่วหลากชนิดอาจลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าคนที่ไม่ได้รับประทาน

โดยงานศึกษาถูกเผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยอเมริกันด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดระบุว่า การทานถั่วประเภท วอลนัท ถั่วลิสงและถั่วชนิดอื่นประมาณสัปดาห์ละ 5 เสิร์ฟ จะสามารถลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ 14 เปอร์เซ็นต์ และลดความเสี่ยงอาการแทรกซ้อนรุนแรงที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวได้ 20 เปอร์เซ็นต์

รายงานการศึกษาระบุว่า ถั่ววอลนัทเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด จากการตอบแบบสอบถามสำรวจจำนวน 210,000 คน โดยการสำรวจการบริโภคถั่วของแต่ละคน พบว่า การกินถั่ววอลนัท 12 ครั้งต่อสัปดาห์ เกี่ยวกับการกับการลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจถึง 19 เปอร์เซ็นต์ และลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจคอโรนารีได้ 21 เปอร์เซ็นต์

ส่วนคนที่รับประทานถั่ว 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ สามารถลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนที่ไม่ได้กินถึง 13 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ คนที่ทานถั่วประเภทพืชยืนต้น เช่น อัลมอนต์ มะม่วงหิมพานต์ เกาลัดและถั่วพิสตาชิโอ ลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจได้ 15 เปอร์เซ็นต์

มาร์ธา เกาช์ เฟอร์เร นักวิจัยภาควิชาโภชนาการของวิทยาลัยสาธารณสุข ที.เอช.ชาน มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดกล่าวว่า การค้นพบของเรา สนับสนุนคำแนะนำในการเพิ่มปริมาณถั่วให้หลายชนิดขึ้น ในฐานะส่วนหนึ่งของแบบแผนการกินอย่างมีสุขลักษณะ เพื่ลดความเสี่ยงเกิดโรคเรื้อรังในกลุ่มประชากร โดยการศึกษาที่ผ่านมา กำหนดบทบาทการกินถั่วต่อสุขภาพของประชาชน

นักวิจัยยังกล่าวว่า  สิ่งหนึ่งที่ยืนยันอยู่ที่ขนาดของโรคและหนทางที่หาความเชื่อมโยงระหว่างลักษณะพิเศษของถั่วและลักษณะการเกิดโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม เพราะมันเป็นการศึกษาเชิงสำรวจจากการตอบแบบสอบถาม จึงยังไม่สามารถพิสูจน์สาเหตุและผลออกมาได้ชัดนัก

ขณะที่ เอมิลิโอ โรส บรรณาธิการร่วมและแพทย์โรงพยาบาลคลินิกบาร์เซโลน่ากล่าวว่า ตามทฤษฎีการสืบสวนต่อไปจะทดสอบผลในการบริโภคถั่วระยะยาวสู่มื้ออาหารปกติในช่วงเวลาเกิดภาวะโรคหัวใจได้ยาก แต่ในเวลาเดียวกัน ถั่วดิบหากไม่ได้แกะเปลือกหรือผ่านกระบวนการอื่น อาจถูกพิจารณาว่าเป็นแคปซูลธรรมชาติซึ่งสามารถเข้าร่วมกับอาหารป้องกันหัวใจ สู่การรักษาและส่งเสริมสุขภาพ