“อุตตม” แนะ ตั้งคณะทำงานร่วม “คลัง-ธปท.-กลต.-สภาพัฒน์” ถกแก้ปัญหา “เงินบาท”

“อุตตม” แนะ ตั้งคณะทำงานร่วม “คลัง-ธปท.-กลต.-สภาพัฒน์” ร่วมถกแก้ปม “เงินบาท” รมว.คลังถกธปท.แล้ว จับตา 3 ปัจจัยขึ้นดอกเบี้ย เชื่อเศรษฐกิจไทยยังโตตามเป้า 3-3.5%

 

วันที่ 22 กันยายน 2565 เมื่อเวลา 14.15น. ที่พรรคสร้างอนาคตไทย (สอท.)นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทยให้สัมภาษณ์กรณีที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ระบุให้ทุกหน่วยงานดูแลเรื่องค่าเงินบาท ว่า การดูแลอัตราแลกเปลี่ยน เป็นเรื่องของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)โดยตรง ที่ต้องไปดูว่าอัตราใดที่เหมาะสม และดูสภาพของเศรษฐกิจของไทยว่าเข็มแข็งแค่ไหน เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ได้อยู่ที่เรากำหนด แต่ขึ้นอยู่กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ว่าต้องการเงินบาทแค่ไหน ประเด็นสำคัญคือรัฐบาลจะบริหารจัดการอย่างไร

ผู้สื่อข่าวถามว่า การพูดของพล.อ.ประวิตร เข้าข่ายไปชี้นำแนวทางของธปท.หรือไม่ นายอุตตม กล่าวว่า ทุกคนมีหน้าที่ของตัวเอง แม้ธปท.จะเป็นกลไกส่วนหนึ่งของภาครัฐ แต่ไม่ใช่รัฐอิสระ ต้องมีการพูดคุยกับหน่วยงานเกี่ยวข้องโดยไม่เข้าไปก้าวก่าย ก่อนหน้านี้ตนเตรียมเสนอตั้งคณะทำงานขึ้นมาหารือเชิงนโยบาย ระหว่างกระทรวงการคลัง คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธปท. เหมือนกับที่ประเทศอื่นมี และเวลานี้ยังยังทันหากจะตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหา

ขณะที่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีการหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อติดตามสถานการณ์ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อีก 0.75% ตามที่ตลาดคาดการณ์ เพื่อลดความร้อนแรงเรื่แงเงินเฟ้อ ทีกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐให้ชะลอตัว โดยเฟดได้ตั้ง เป้าว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นไปอีก 4-4.5% ดังนั้น ขณะนี้หลายประเทศรวมถึงไทยยังต้องติดตามว่าการขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งที่ผ่านมา จะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และจะมีผลอย่างไรกับประเทศไทยด้วย

นายอาคม กล่าวว่า ทั้งนี้ ในการหารือกับธปท. ได้ให้ความสำคัญกับ 3 ปัจจัยหลัก ในการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยหรือไม่ ได้แก่ 1.อัตราเงินเฟ้อ โดยจะต้องดูว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะมีผลต่อเงินเฟ้อและมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน 2.การขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งธปท.จะต้องมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้แบบปกติ และ 3.เงินทุนเคลื่อนย้าย โดยช่วงที่ผ่านมามีเงินทุนไหลออกบ้าง แต่ยังไม่ถือว่าผิดปกติ ธปท.ก็มีการติดตามอย่างใกล้ชิด

“ปัจจัย 3 ข้อ คือ เงินเฟ้อ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการเคลื่อนย้ายของเงนทุน จะให้น้ำหนักในเรื่องใดมากกว่ากันนั้น เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และธปท. ที่จะเป็นผู้พิจารณาเอง ซึ่งทั้งคลังและธปท. ก็มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากสถานการณ์มีความผันผวนมากธปท.ก็จะเข้าไปดูแล”นายอาคม กล่าว

นายอาคม กล่าวว่า ขณะที่แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2565 นี้ หลายสำนักยังประเมินว่าจะขยายตัวได้ 3-3.5% ซึ่งมองว่เราก็น่าจะสามารถทำได้ จากปัจจัยสนับสนุนจกเรื่องส่งออกที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยได้รับอานิสงค์จากเงินบาทที่อ่อนค่า โดยกลุ่มที่ได้เปรียบคือการส่งออกอาหาร ที่ให้วัตถุดิบหลักภายในประเทศ ขณะที่ภาคการท่องเที่ยว ล่าสุด มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยมาแล้ว 5 ล้านคน และคาดว่าปีนี้ตัวเลขนักท่องเที่ยวจะถึง 8 ล้านคน ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

นายอาคม กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงรวดเร็ว จะมีผลต่อราคาพลังงาน และค่าครองชีพในประเทศเพิ่มสูงขึ้นหรือไม่นั้น มองว่าขณะนี้ราคาน้ำมันได้ลงมาต่ำวกว่า 100 เหรียญต่อบาร์เรลแล้ว ซึ่งอยู่ที่ระดับประมาณ 90-95 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่รัฐบาลบริหารจัดการได้ แต่ยังคงต้องติตดามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นช่วงหน้าหนาวแล้ว อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันผันผวนได้ ซึ่งอาจมีผลต่อเรื่องราคาสินค้า และค่าครองชีพ เนื่องจากมีต้นทุนทางด้านโลจีสติกสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ขณะนี้รัฐบาลก็ได้มีมาตรการช่วยเหลือด้านค่าครองชีพแล้ว ขณะเดียวกันภาคเอกชนก็ต้องมีการปรับตัว เพื่อลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นในการผลิต