เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติดจดหมายเปิดผนึกปมกัญชาเสรี

เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด

15 กันยายน 2565

เรื่อง จดหมายเปิดผนึกฉบับที่สาม ขอขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ ขอเรียกร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติด

เรียน สมาชิสภาผู้แทนราษฎรที่ลงมติให้ถอนร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ รองนายกรัฐมนาตรี นายวิษณุ เครืองาม ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

สืบเนื่องจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ถอนร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ ออกจากวาระการประชุมเพื่อให้กรรมาธิการวิสามัญกลับไปทบทวนรายละเอียดใหม่นั้น ทางเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติดขอแสดงความเห็นด้วยและขอบพระคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้ ด้วยเหตุผล คือ (1) ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯฉบับนี้มุ่งเน้นกัญชาเพื่อนันทนาการ ไม่ใช่กัญชาทางการแพทย์อย่างที่กล่าวอ้างไว้ จะทำให้เกิดเศรษฐกิจกัญชาเพื่อนันทนาการทั่วประเทศไทย (2) การอนุญาตให้ปลูกกัญชาในครัวเรือนโดยไม่มีมาตรการป้องกันการรั่วไหลที่เพียงพอ จะทำให้เยาวชนนำดอกกัญชาไปสูบ ให้กัน และจำหน่ายอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และจะมีการนำกัญชาไปใส่อาหารขายทั่วไปโดยไม่บอกผู้บริโภค (3) มาตรการควบคุมการขายและโฆษณากัญชามุ่งควบคุมเฉพาะช่อดอกและยางกัญชา จะเกิดการโฆษณาและส่งเสริมการขายดอกกัญชาโดยใช้กลยุทธ์โฆษณาและส่งเสริมการขายใบกัญชาแทน ในทุกสื่อตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง เหมือนกับที่เราได้เห็นการโฆษณาน้ำแร่หรือโซดาแทนการโฆษณาเบียร์อยู่ทั่วไป (4) ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯฉบับนี้บังคับให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำหน้าที่สนับสนุนผู้ประกอบการกัญชา แทนที่จะทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค อันเป็นการบิดเบือนภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขอย่างร้ายแรง ประชาชนจะไม่มีหน่วยงานใดช่วยคุ้มครอง และ (5) ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯนี้จะนำประเทศไทยไปกระทำผิดต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติด จะส่งผลให้ประเทศไทยอาจถูกลงโทษห้ามนำยาที่จำเป็นบางชนิดเข้ามาใช้ในประเทศไทย (เช่น มอร์ฟีน) เป็นต้น การมีมติให้ถอนร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ นี้เพื่อให้มีการทบทวนให้รอบคอบจึงเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะการได้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพจะก่อปัญหามากกว่าแก้ปัญหา

ปัญหาผลกระทบของกัญชาเสรีไม่ได้อยู่ที่ ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ (ที่ไร้ประสิทธิภาพ) ต้องตกไปแล้วทำให้เกิดสภาวะสุญญากาศ แต่ปัญหาสภาวะสุญญากาศอยู่ที่การคงอยู่ของประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติด ดังนั้นในขณะที่กำลังพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ นี้ ให้รอบคอบซึ่งต้องใช้เวลา เพราะต้องผ่านกระบวนการทั้งสองสภา หรือ อาจมีการยุบสภาก่อน ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้อง “ปิดกัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศก่อน” เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อประเทศและอนาคตของเยาวชน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้กล่าวไว้หลายครั้งต่อสาธารณะว่า พร้อมที่จะชะลอการปลดกัญชาเสรี เพียงรอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเรียกประชุมเท่านั้น (เช่น https://www.youtube.com/watch?v=5VYQx3y-WMQ&t=1272s ประมาณนาทีที่ 20) เครือข่ายฯ จึงขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติด เพื่อ “ปิดสภาวะสุญญากาศทันที” ในขณะที่กำลังพัฒนาร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ ฉบับนี้ให้รอบคอบ ประเทศไทยจะกลับไปเป็น “กัญชาทางการแพทย์” อย่างเดิม ซึ่งจะสามารถพัฒนาให้ผู้ป่วยเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้นได้ต่อไป หากทำเช่นนี้จะเรียกได้ว่าเป็นนโยบายกัญชาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ลงชื่อ เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด

๑. นพ.ชาตรี บานชื่น อดีตกรรมการแพทยสภา อดีตอธิบดีกรมสุขภาพจิต และ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์

กระทรวงสาธารณสุข

๒. นายนิยม เติมศรีสุข อดีตเลขาธิการ ป.ป.ส. และ อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม

๓. นายเพิ่มพงษ์ เขาวลิต อดีตเลขาธิการ ป.ป.ส.

๔. ดร.วิโรจน์ สุ่มใหญ่ ที่ปรึกษาคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ สหประชาชาติ

๕. นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก

๖. ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล นักวิทยาศาสตร์ Centre for Addiction and Mental Health, Canada

๗. รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กุมารแพทย์ผู้เชียวชาญด้านการแพทย์วัยรุ่น

และ ผู้จัดการโครงการต้นทุนชีวิต ประเทศไทย

๘. ศ.นพ.มานิต ศรีสุรภานนท์ ศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

๙. ศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์ ศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

๑๐. พล.ต.นพ.พิชัย แสงชาญชัย ประธานชมรมจิตเวชศาสตร์การเสพติดแห่งประเทศไทย

๑๑. รศ.ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ อาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล

๑๒. ผศ.นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ นายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย

๑๓. ศ.ดร.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย ศาสตราจารย์ สาขาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

๑๔. ผศ.ดร.อุษณีย์ พึ่งปาน ที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๕. ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๑๖. นายพงศธร จันทรัศมี มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

๑๗. นายไฟซ้อน บุญรอด ประธานเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันภัยยาเสพติด

๑๘. นายวัชรพงศ์ พุ่มชื่น นักพัฒนางานวิชาการ ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ

๑๙. นายวันชัย บุญประชา มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว

๒๐. นพ.ไพศาล ปัณฑุกำพล สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทร์บรมราชชนนี

๒๑. รศ.นพ.วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์ สาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ อดีตประธาน

ราชวิทยาลัยศัลยศาสตร์

๒๒. นพ.วิทยา จารุพูนผล ข้าราชการบำนาญ รพ.ขอนเก่น

๒๓. ศ. คลินิก นพ.อภิชาติ ศิวยาธร อดีตรองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

๒๔. นพ.วิโรจน์ เยาวพลกุล แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

๒๕. นพ.วัฒนา สุพรหมจักร แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

๒๖. พล.อ.นพ.ชูศักดิ์ สุวรรณศิริกุล แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

๒๗. พล.อ.ท.นพ.วิศิษฏ์ ดุสิตนานนท์ แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

๒๘. นพ.เจริญ ปฏิภาณเทวา แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

๒๙. พญ.ภาพิส เสงี่ยมพรพาณิชย์ ข้าราชการบำนาญ

๓๐. พญ.อรพินธ์ พจน์พริ้ง อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

๓๑. พล.อ.นพ.อิสสระชัย จุลโมกข์ ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ รพ.บางโพ และอดีตผู้อำนวยการ รพ.พระมงกุฏเกล้าฯ

๓๒. นพ.พงษ์สันติ์ ลี้สัมพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพ รพ.หัวเฉียว

๓๓. นพ.ณัฐกุล แย้มประเสริฐ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ รพ.มหาราชนครราชสีมา

๓๔. ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม อายุรแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ และ รองผู้อำนวยการ รพ.รามาธิบดี

๓๕. นพสรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์ แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

๓๖. นพ.อธิคม สงวนตระกูล กลุ่มงานอายุรกรรม รพ.มหาราชนครราชสีมา

๓๗. พญ.สริฐา มหาศิริมงคล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพ.กลาง

๓๘. นพ.ปฏิเวช งามวิจิตวงศ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพ.กลาง

๓๙. พญ.วิภัสรา สวัสดี นายแพทย์ชำนาญการ รพ.บุรีรัมย์

เครือข่ายนักวิชาการ

และภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด

15 กันยายน 2565

เรื่อง จดหมายเปิดผนึกฉบับที่สาม ขอขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ ขอเรียกร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติด

เรียน สมาชิสภาผู้แทนราษฎรที่ลงมติให้ถอนร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ รองนายกรัฐมนาตรี นายวิษณุ เครืองาม ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

สืบเนื่องจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ถอนร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ ออกจากวาระการประชุมเพื่อให้กรรมาธิการวิสามัญกลับไปทบทวนรายละเอียดใหม่นั้น ทางเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติดขอแสดงความเห็นด้วยและขอบพระคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้ ด้วยเหตุผล คือ (1) ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯฉบับนี้มุ่งเน้นกัญชาเพื่อนันทนาการ ไม่ใช่กัญชาทางการแพทย์อย่างที่กล่าวอ้างไว้ จะทำให้เกิดเศรษฐกิจกัญชาเพื่อนันทนาการทั่วประเทศไทย (2) การอนุญาตให้ปลูกกัญชาในครัวเรือนโดยไม่มีมาตรการป้องกันการรั่วไหลที่เพียงพอ จะทำให้เยาวชนนำดอกกัญชาไปสูบ ให้กัน และจำหน่ายอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และจะมีการนำกัญชาไปใส่อาหารขายทั่วไปโดยไม่บอกผู้บริโภค (3) มาตรการควบคุมการขายและโฆษณากัญชามุ่งควบคุมเฉพาะช่อดอกและยางกัญชา จะเกิดการโฆษณาและส่งเสริมการขายดอกกัญชาโดยใช้กลยุทธ์โฆษณาและส่งเสริมการขายใบกัญชาแทน ในทุกสื่อตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง เหมือนกับที่เราได้เห็นการโฆษณาน้ำแร่หรือโซดาแทนการโฆษณาเบียร์อยู่ทั่วไป (4) ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯฉบับนี้บังคับให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำหน้าที่สนับสนุนผู้ประกอบการกัญชา แทนที่จะทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค อันเป็นการบิดเบือนภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขอย่างร้ายแรง ประชาชนจะไม่มีหน่วยงานใดช่วยคุ้มครอง และ (5) ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯนี้จะนำประเทศไทยไปกระทำผิดต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติด จะส่งผลให้ประเทศไทยอาจถูกลงโทษห้ามนำยาที่จำเป็นบางชนิดเข้ามาใช้ในประเทศไทย (เช่น มอร์ฟีน) เป็นต้น การมีมติให้ถอนร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ นี้เพื่อให้มีการทบทวนให้รอบคอบจึงเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะการได้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพจะก่อปัญหามากกว่าแก้ปัญหา

ปัญหาผลกระทบของกัญชาเสรีไม่ได้อยู่ที่ ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ (ที่ไร้ประสิทธิภาพ) ต้องตกไปแล้วทำให้เกิดสภาวะสุญญากาศ แต่ปัญหาสภาวะสุญญากาศอยู่ที่การคงอยู่ของประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติด ดังนั้นในขณะที่กำลังพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ นี้ ให้รอบคอบซึ่งต้องใช้เวลา เพราะต้องผ่านกระบวนการทั้งสองสภา หรือ อาจมีการยุบสภาก่อน ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้อง “ปิดกัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศก่อน” เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อประเทศและอนาคตของเยาวชน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้กล่าวไว้หลายครั้งต่อสาธารณะว่า พร้อมที่จะชะลอการปลดกัญชาเสรี เพียงรอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเรียกประชุมเท่านั้น (เช่น https://www.youtube.com/watch?v=5VYQx3y-WMQ&t=1272s ประมาณนาทีที่ 20) เครือข่ายฯ จึงขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติด เพื่อ “ปิดสภาวะสุญญากาศทันที” ในขณะที่กำลังพัฒนาร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ ฉบับนี้ให้รอบคอบ ประเทศไทยจะกลับไปเป็น “กัญชาทางการแพทย์” อย่างเดิม ซึ่งจะสามารถพัฒนาให้ผู้ป่วยเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้นได้ต่อไป หากทำเช่นนี้จะเรียกได้ว่าเป็นนโยบายกัญชาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ลงชื่อ เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด

๑. นพ.ชาตรี บานชื่น อดีตกรรมการแพทยสภา อดีตอธิบดีกรมสุขภาพจิต และ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์

กระทรวงสาธารณสุข

๒. นายนิยม เติมศรีสุข อดีตเลขาธิการ ป.ป.ส. และ อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม

๓. นายเพิ่มพงษ์ เขาวลิต อดีตเลขาธิการ ป.ป.ส.

๔. ดร.วิโรจน์ สุ่มใหญ่ ที่ปรึกษาคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ สหประชาชาติ

๕. นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก

๖. ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล นักวิทยาศาสตร์ Centre for Addiction and Mental Health, Canada

๗. รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กุมารแพทย์ผู้เชียวชาญด้านการแพทย์วัยรุ่น

และ ผู้จัดการโครงการต้นทุนชีวิต ประเทศไทย

๘. ศ.นพ.มานิต ศรีสุรภานนท์ ศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร