ญี่ปุ่นอนุมัติปล่อยน้ำ 1 ล้านตันจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมา ลงทะเล 

ญี่ปุ่นอนุมัติปล่อยน้ำ 1 ล้านตันจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมา ลงทะเล

 

หน่วยงานกำกับดูแลนิวเคลียร์ของประเทศญี่ปุ่นอนุมัติให้รัฐบาลสามารถปล่อยน้ำบำบัดจากระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ปรมาณูในโรงงานผลิตไฟฟ้าฟุคุชิมา ที่ได้รับความเสียหายจากคลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อปี 2011 จำนวนกว่า 1 ล้านตัน ลงสู่ทะเลได้แล้วอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา พร้อมทั้งยืนยันความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมของน้ำดังกล่าว

รายงานระบุว่าน้ำจากระบบหล่อเย็นที่ถูกบำบัดแล้วจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกๆวันวันละ 140 ลูกบาศก์ เวลานี้มีปริมาณมากถึง 1.29 ล้านตัน เมตรแล้ว ขณะที่พื้นที่เก็บน้ำดังกล่าวจะเหลือไม่เพียงพอภายในอีก 1 ปีข้างหน้า นั่นจึงส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดและกรองเอาเศษกัมมันตรังสีออกแล้วลงสู่ทะเล โดยการตัดสินใจดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) อย่างไรก็ตามบริษัท TEPCO จำเป็นต้องได้รับการลงมติจากประชาชนในท้องถิ่นก่อนที่จะดำเนินการปล่อยน้ำได้

อย่างไรก็ตามการอนุมัติปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับทางการจีนวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงโดยโฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน โจมตีการอนุมัติปล่อยน้ำลงทะเลดังกล่าวว่าเป็นการยึดถือเอาผลประโยชน์ส่วนตนโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทางทะเลในระดับโลกและสุขภาพของประชาชนในประเทศชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก และระบุว่าเป็นพฤติกรรมไร้ความรับผิดชอบ

อย่างไรก็ตามบริษัท TEPCO ยืนยันว่าน้ำดังกล่าวผ่านมาตรฐานระดับรังสีในระดับนานาชาติแล้วยกเว้น “ทริเทียม” ไอโซโทปกัมมันตรังสี ที่เป็นอัตรายต่อมนุษย์ที่ TEPCO วางแผนที่จะเจือจางลดปริมาณทริเทียมให้อยู่ในระดับปลอดภัยด้วยการค่อยๆปล่อยน้ำลงสู่ทะเลผ่านท่อความยาว 1 กิโลเมตร ในช่วงเวลาหลายสิบปี

ด้านไอเออีเอ ยืนยันว่าการปล่อยน้ำซึ่งจะใช้เวลานานหลายปี และจะเริ่มต้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2023 มีความปลอดภัยตามมาตรฐานนานาชาติ และจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้บรรดาชุมชนประมงในพื้นที่หวั่นเกรงว่าหากมีการปล่อยน้ำลงสู่ทะเลจะทำให้ผู้บริโภคไม่เลือกซื้อสินค้าประมงของตน ขณะที่เพื่อนบ้านอย่างจีน เกาหลีใต้ และกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างกรีนพีซก็เคยวิพากษ์วิจารณ์แผนการปล่อยน้ำดังกล่าวเช่นกัน