เวิล์ดแบงก์ชี้ ศก.ไทยกำลังฟื้นยกเว้นท่องเที่ยว อ่วมราคาอาหาร-พลังงาน แนะ ศก.หมุนเวียน ทางออกแต่ต้องจริงจัง

วันที่ 30 มิถุนายน 2565 เมื่อเวลา 09.30 น. ห้องสัมมนาเอนกประสงค์ โรงแรม VIE Bangkok ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ได้จัดรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย มิถุนายน 2565 และการพึ่งพาเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้หัวข้อ Thailand Economic Monitor June 2022 edition on Building Back Better, Greener and Resilient – The Circular Economy นับเป็นรายงานสถานการณ์ที่มีครั้งแรกในปีนี้

Ndiame Diop (เอ็นดิอาเม่ ดิออฟ) ผู้อำนวยการประจำบรูไน,มาเลเซีย,ฟิลิปปินส์และไทย ของธนาคารโลก กล่าวเปิดถึงรายงานสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจไทยว่า รายงานนี้ธนาคารโลกทัง้ 2 ครั้งต่อปี เพื่อดูแนวโน้มและนโยบายทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในอีก 2 ปีข้างหน้า ว่าแนวโน้มไปทิศทางไหน โดยดูทั้งระดับโลกและภูมิภาค ในแต่ละฉบับจะมีหัวข้อพิเศษเจาะจงดู อย่างโอกาสและความท้าทาย สำหรับการติดตามเศรษฐกิจไทย ก็เป็นหัวข้อเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยภาพรวมนักวิเคราะห์มองว่า เราอยู่ในโลกที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ ในปี 2022 เป็นการฟื้นตัวทั่วโลก แต่ไม่คาดคิดว่าสงครามยูเครนที่เกิดขึ้นอยู่ ส่งผลอย่างรุนแรง โควิด-19 ส่งผลต่อรายได้ของประชาชนและเผชิญความยากลำบาก แล้วสงครามในยูเครน ทำให้กำลังซื้อและรายได้ของหลายคนหายไป เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก โควิด-19 ทำให้รัฐบาลทั่วโลกกู้ยืมเงินจนขาดดุลทางการคลังเพื่อช่วยคน ใช้นโยบายทางการคลังช่วยคนเปราะบาง แล้วส่งผลต่อเงินเฟ้อมากขึ้น จาก 2% เป็น 6% ในปีเดียว มีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เรามีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แล้วสภาพคล่องน้อยลง แล้วก็จะเห็นทั้งสหรัฐฯ ยุโรปและจีน ก็มีการเติบโตน้อยลง จาก 4.5%-9% ไม่รู้ว่า สงครามยูเครน-รัสเซียจะจบตอนไหน จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการเงินคลังแค่ไหน

มี 2-3 ประเด็นในภาพรวมสำคัญ อย่างแรก เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว แต่เป็นอย่างเชื่องช้าและเหลื่อมล้ำ จากวิกฤตโควิด-19 การเติบโตและฟื้นตัวของการท่องเที่ยวเป็นไปอย่างล่าช้า เมื่อเทียบกับมาเลเซียและฟิลิปปินส์ ไทยล่าช้ากว่าประเทศอื่น และเติบโตในอัตรา 2.9% ซึ่งช้ากว่าประเทศอื่น

เอ็นดิอาเม่ รายงานให้ข้อเสนอแนะ 3 อย่าง ระยะสั้น เราจะให้ความช่วยเหลือแบบเจาะจงจะเป็นสิ่งสำคัญกับคนเปราะบาง จะช่วยปกป้องคนเหล่านี้ ขณะเดียวกัน ทำให้ราคาตลาดปรับตัว เป็นสิ่งที่จะจำกัดต้นทุนด้านการคลัง

ระยะกลาง เมื่อฟื้นตัวก็ต้องเพิ่มศักยภาพการคลัง รัฐต้องเก็บรายได้เพิ่มและปรับการใช้จ่ายลงทุนสาธารระเพื่อพัฒนาสนับสนุน สร้างอนาคตที่แข็งแกร่งและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ระยะยาว เราจะใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นนโยบายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลไทยมุ่งมั่นในการลดก๊าซเรือนกระจก เรามีโอกาสและนวัตกรรมมากมาย แต่คงไม่เกิดขึ้นทันที ต้องมีความตั้งใจ ถ้าไม่ทำอะไรเลย การเปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียนจะใช้เวลานานกว่าที่เคย ต้องมีการร่วมทั้งรัฐและเอกชน ต้องลดการบิดเบือนตลาด ที่ไม่ทำให้เกิดการลงทุน ทั้งภาษีนำเข้ากับเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน จูงใจคนที่ลงทุนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน มีโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกต้อง เพราะเป็นส่วนสำคัญต่อการลงทุนเศรษฐกิจหมุนเวียน

จากนั้นในส่วนรายละเอียดของรายงาน ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ระบุว่า ไทยได้รับผลจากสงครามยูเครนมากสุดจากราคาพลังงาน และจีนจากการส่งออกและภาคการท่องเที่ยว แต่ไทยมีภาคการเงินที่บรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจชะลอตัว

3 ประเด็นสำคัญในแนวโน้มเศรษฐกิจไทย คือ อันแรก เราเห็นสัญญาณภาวะถดถอยในไตรมาส 2 จากสงครามยูเครนและกรณีจีน
ประเด็นที่สอง เศรษฐกิจไทยค่อยๆฟื้นตัวกลับสู่ก่อนโควิด แต่ความไม่แน่นอนของยูเครนที่ทำให้ไม่แน่นอน
ประเด็นที่ 3 ปรับระบบคุ้มครองสังคมให้มีประสิทธิภาพ ปรับให้ถูกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อ และเร่งโครงการภาครัฐ บรรดาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีอยู่ 8% ของจีดีพีและเสนอเพิ่มรายได้การคลัง เพราะภาระการคลังลดลงจากมาตรการโควิด จึงจำเป็นต้องเพิ่มรายได้ สร้างฐานะการคลังให้เข้มแข็งและยั่งยืน

เกียรติพงศ์กล่าวอีกว่า ตัวเลขจีดีพีของไทย ช่วง Q4 ของปี 2564 เพิ่มขึ้น แต่q2 ของปี65 ลดลง ระดับจีดีพีของไทยชะลอลงตามหลังประเทศอาเซียนอย่างอินโดฯและฟิลิปปินส์ สาเหตุอันหนึ่งคือ โควิด-19 หลายระลอก และราคาน้ำมันสูงที่ไทยได้รับผลกระทบเนื่องจากใช้จ่ายนำเข้าพลังงานสูง มากสุดถึง 5% ของจีดีพี ลาวก็นำเข้า 4% แต่ส่งออกไฟฟ้าสูงถึง 6%ของจีดีพี

3 ความท้าทายของไทยที่ต้องเจอคือ อันแรก โควิด-19 ไทยประกาศเข้าสู่โรคประจำถิ่น ท่องเที่ยวก็ค่อยๆดีขึ้น ระลอกระบาดค่อยๆลดลง การฉีดวัคซีนค่อยๆสูง ระดับฟื้นตัวค่อยๆเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเสียชีวิต เห็นว่าตอนระลอกเดลต้ามียอดเสียชีวิตที่สูง ระลอกโอมิครอนยังมีอยู่ จึงไม่ได้หมายความว่า โรคประจำถิ่นจะไม่มีการระบาดอีกแล้ว ไทยต้องพัฒนาระบบสาธารณสุขและต้องพัฒนาบุคลากรแพทย์ต่อประชากร ซึ่งยังต่ำกว่าในระดับประเทศรายได้ปานกลางในอาเซียน

อันที่สอง เงินเฟ้อ ล่าสุดอยู่ที่ 6% น่าเป็นห่วงระดับหนึ่ง แม้เห็นเศรษฐกิจฟื้นตัว ถ้าดูข้างในเงินเฟ้อมาจากพลังงานและอาหาร ยังไม่ได้กระจายไปกลุ่มอื่น ซึ่งจะเป็นเห็นแบบเดียวกันในสหรัฐฯ อีกสัญญาณที่น่าเป็นห่วงคือ ค่าการเงินเฟ้อ โดยรวมอยู่ในเป้าของ ธปท. 2-4% แต่ก็เริ่มเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องจับตามอง

และอันที่ 3 เงินเฟ้อส่งผลต่อคนกลุ่มเปราะบาง อย่างคนจน ถ้าดูราคาพลังงานและอาหารจะเพิ่มขึ้น 10% ก็จะเพิ่มตัวเลขคนจน 1% ทีนี้ในการบรรเทาผลกระทบ รัฐบาลไทยเน้นการคุมราคาสินค้า ซึ่งคุมได้ระดับหนึ่งกับราคาพลังงาน แต่การใช้เครื่องมือก็มีข้อเสีย ไม่ได้เป็นเครื่องมือทรงประสิทธิภาพ อาจสร้างภาระการคลังและซับซ้อนต่อนโยบายการเงิน ถ้าดูอาเซียนก็ใช้แนวทางนี้ จะใช้ในกลุ่มปิโตรเลี่่ยมและอาหาร แต่ถ้าดูไทยจะใช้สูงกว่าที่ประเทศอื่น

ถ้าดูแนวโน้มจากความท้าทาย เศรษฐกิจไทยปรับลดเป็น 2.9% ในปีนี้ จากเดิม 3.9-4.3% เป็นการปรับตัวค่อยเป็นค่อยไป ทั้งที่ไทยเจอหนักสุดในกลุ่มอาเซียน

เกียรติพงศ์กล่าวด้วยว่า ที่ถามว่าทำไมไทยฟื้นตัวช้า เพราะกลุ่มท่องเที่ยวในเอเชียและไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ การคลังมีบทบาทมากในช่วงโควิด รัฐบาลไทยได้ออกพรก.เงินกู้ 1.5 ล้านล้าน ซึ่งเป็นช่วงบรรเทา แล้วไปสู่การฟื้นตัว แต่หนี้สาธารณะกลับเพิ่มถึง 61% หรือมากขึ้น 10% แต่ก็ยังปานกลางเมื่อเทียบกับมาเลเซียหรือจีน

สรุปข้อเสนอในนโยบาย ภาวะความท้าทายนี้ ไทยต้องส่งเสริมระบบสาธารณสุข การฉีดวัคซีนบูสเตอร์ต้องทำต่อ เปิดการท่องเที่ยว

นโยบายการคลัง 1.ต้องปรับมาตรการคุ้มครองสังคมถูกกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ คนนอกระบบ ถ้าทำได้ จะสร้างพื้นที่การคลังให้ดีขึ้น 2.ต่อมาเร่งลงทุนโครงการภาครัฐ โครงสร้างพื้นฐาน
และ3.เพิ่มรายได้ทางการคลัง ที่ผ่านมาถ้าดูจีดีพีไม่ได้สูงกว่าเพื่อนบ้าน ซึ่งมีโอกาสเพื่อรักษาฐานะการคลังให้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมโอกาสการสร้างประเทศที่ดีขึ้นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้่น

ทั้งนี้ เกียรติพงศ์ กล่าวในช่วงถามตอบว่า โดยคาดว่าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยประมาณ 6 ล้านคน และจะเพิ่มเป็น 15 ล้านคนในปี 66 ก่อนจะขยับเพิ่มขึ้นเป็น 24 ล้านคนในปี 67 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับก่อนเกิดโควิด-19 มีนักท่องเที่ยวเข้าไทยจำนวนกว่า 40 ล้านคน จากตรงนี้ถือว่ายังน้อย

พร้อมประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 66 จะขยายตัวที่ระดับ 4.3% และปี 67 ขยายตัวที่ระดับ 3.9%

ต่อจากนั้น ในส่วนเศรษฐกิจหมุนเวียนที่กำลังถูกพูดมากขึ้นนั้น ไจเม เฟรยาส นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลกกล่าวว่า เศรษฐกิจหมุนเวียนไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับไทย เพราะทำเรื่องนี้มาแล้ว แต่คนกำลังสนใจมากขึ้น สิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนซึ่งเราฟังมาก่อนไปแล้วว่า เศรษฐกิจผันผวน จากราคาอาหารและเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความท้าทาย การพึ่งพา วัตถุดิบต่างๆ เป็นสิ่งที่รัฐต้องการควบคุมราคา ที่ผ่านมา ไทยต้องการการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ละเลยสิ่งแวดล้อม ทำให้สถาบันต่างๆได้ติดตามแล้วพบว่า ปัญหาสภาพอากาศเกิดขึ้นในไทยมากขึ้น ทั้งโลกต้องมีการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งส่งผลต่อวิธีการซื้อของผู้ซื้อผู้ขาย นักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุน เหล่านี้ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของไทย รัฐบาลไทย ทำปฏิญญาเรื่องนี้และจัดวางในยุทธศาสตร์ไว้ เราเน้นการผลิตที่ยั่งยืน การผลิตที่มุ่งเน้นนวัตกรรม สิ่งที่อยากบอกนั้นชัดเจน นิยามของเศรษฐกิจหมุนเวียนคืออะไร เป็นโมเดลของการลดการเชื่อมโยงของการเติบโตและวิธีการการผลิตที่เราเคยมี ได้สร้างความเสื่อมถอยและไม่สามารถนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ ถ้าทำเศรษฐกิจหมุนเวียน จะมีผลิตภาพมากขึ้นด้วยวัตถุดิบที่มีอยู่ ลดการพึ่งพาวัตถุที่นำเข้ามา แล้วคงไม่ได้อยู่เรื่องนี้ตรงๆ แต่เศรษฐกิจหมุนเวียนในวิธีการเชิงนโยบายที่ใช้ได้ สิ่งที่อยากมองเชิงลึก ผลลัพธ์อะไรที่เราทำได้ หากเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน การผลิตจะแยกเป็นภาคส่วน การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนจะเพิ่มผลผลิต 1.2% จะสามารถเพิ่มงานถึง 1.6 แสนตำแหน่งในปี 2030 องค์ประกอบอีกอย่างที่สำคัญ ที่ควรสนใจคือการกระจายรายได้ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และโมเดลที่มีรายได้เพิ่มขึ้นในปี 2030 จะมีความแตกต่างออกไป จะเห็นได้ว่า เส้นแนว จะมีความเสถียรในปี 2035 มีนัยยะสำคัญและเป็นส่วนสำคัญที่รัฐบาลสัญญาไว้ใน NVC เราอยากมองลึกลงไปว่าอะไรคืออุปสรรคที่จะเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งไมไ่ด้เกิดขึ้นทันที แต่ต้องในการเรื่องนวัตกรรม เทคโนโลยีและทำใหม่ยังไงบ้าง ซึ่งมี 3 ภาคส่วนเป็นตัวแทนของโอกาสที่เห็นชัดในเศรษฐกิจหมุนเวียนและภาคส่วนอื่นที่มีแรงต้านน้อยที่สุด

นั้นคือ ภาคเกษตรกรรม พลังงานและอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีส่วนที่เปลี่ยนผ่านได้ยาก โดยจัดเป็น 4 ประเภท เราจัดประเภท อย่างความต้องการทางตลาด ที่เราวิเคราะห์กันใน 3 ส่วน อย่างแรก ผลกระทบภายนอกเชิงลบ เวลาทำผลผลิตทางการเกษตร ผลกระทบต่างๆจะได้รับโดยผู้บริโภคและวงนอกไปอีก ซึ่งเราเห็นชัดในภาคอาหารและเกษตร อย่างใช้น้ำมากเกินไป

อันที่สองคือความล้มเหลวของรัฐบาลเกี่ยวกับการบิดเบือนในปัจจุบัน ที่ลดแรงจูงใจในการลงทุนเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ชัดคือการเก็บภาษีเครื่องจักรที่ต้องใช้ในเศรษฐกิจหมุนเวียนไม่ว่า การซ่อมเครื่องจักรเหล่านี้ก็ตาม เป็นสิ่งขัดขวางไม่ให้เอกชนเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

ต่อมาคือความล้มเหลวตลาด เราอาจมีวิธีการผลิต ผู้ผลิตอาจชอบเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว อย่างภาคเกษตร บางทีจะมีการใช้อุปกรณ์ที่อยู่ภาคเกษตรอยู่แล้ว บางคนไม่ทราบอาจจะมีประโยชน์ยังไงหากใช้เทคโนโลยีใหม่

และสุดท้าย ความล้มเหลวที่เราเห็นบ่อยๆคือ การล้มเหลวการประสานงานในภาคเอกชน การศึกษาและภาครัฐ ต้องทำงานร่วมกันและทำแบบจริงจัง

ส่วนปัจจัยเอื้ออำนวยและข้อเสนอแนะการเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเราเคยกล่าวไปแล้วคือ การเพิ่มขีดสามารถการเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน เกี่ยวกับการติดตาม แบ่งจัดสรรทรัพยากรทั้งรัฐและเอกชน ต่อมาคือปรับแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในเศรษฐกิจหมุนเวียน 3 เสาหลักคือต้องขจัดปัจจัยภายนอกที่ลดแรงจูงใจอย่างภาษี และส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นบุกเบิก ผู้มีส่วนได้เสีย ลงมือทำและดำเนินการในระบบอุปทานตรงนี้ อีกอย่างคือ การร่วมทำงานกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งสำคัญเพราะเรามีข้อจำกัด เราพูดถึงสิ่งที่ทำให้เกิดโลจิสติกส์ย้อนกลับ วัตถุดิบที่รีไซเคิลได้ มีมาตรการแรงจูงใจและส่วนสุดท้าย รณรงค์สนับสนุน ซึ่งไทยทำงานไปตั้งแต่แรกแล้ว

เฟรยาส ทิ้งท้ายว่า เศรษฐกิจหมุนเวียนต้องมีการณรงค์ ให้ความรู้จนกลายเป็นกระแสหลัก เตรียมทรัพยากรและบุคคลให้พร้อม มีการพูดนิยามของแนวคิดที่ต้องทำงานกัน