สรุปข่าวต่างประเทศ : วิวาทะอเมริกา-เกาหลีเหนือ / สถานการณ์โรฮิงญา / ซาอุอนุญาติให้ผู้หญิงขับรถแล้ว!

(COMBO) This combo of file photos shows an image (L) taken on April 15, 2017 of North Korean leader Kim Jong-Un on a balcony of the Grand People's Study House following a military parade in Pyongyang; and an image (R) taken on July 19, 2017 of US President Donald Trump speaking during the first meeting of the Presidential Advisory Commission on Election Integrity in Washington, DC. Nuclear-armed North Korea mocked President Donald Trump as "bereft of reason" on August 10, 2017, raising the stakes in their stand-off with an unusually detailed plan to send a salvo of missiles towards the US territory of Guam. / AFP PHOTO / SAUL LOEB AND Ed JONES

ซาอุดีอาระเบีย

ริยาด – สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อวันที่ 26 กันยายน กษัตริย์ซัลมาน แห่งซาอุดีอาระเบีย ทรงออกพระราชกฤษฎีกาเปิดทางให้ผู้หญิงในประเทศซาอุฯ สามารถขับขี่รถยนต์ได้เองแล้วเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นก้าวย่างสำคัญของประเทศซาอุฯ ที่ถูกวิพากษ์ว่าเป็นสังคมมุสลิมอนุรักษนิยมสายเคร่งที่กดขี่สิทธิสตรี โดยซาอุฯ ยังเป็นประเทศเดียวในโลกที่ห้ามผู้หญิงขับรถ ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายปัจจุบันของซาอุฯ อนุญาตให้เฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่สามารถขับขี่รถยนต์ในประเทศได้ ส่วนผู้หญิงที่ฝ่าฝืนจะถูกจับกุมและรับโทษปรับตามกฎหมาย สำนักข่าวของทางการซาอุฯ รายงานว่า หลังจากมีพระราชกฤษฎีกานี้ของกษัตริย์ซัลมานออกมา ขั้นตอนต่อไปจะมีการตั้งคณะทำงานของกระทรวงต่างๆ เพื่อถวายคำปรึกษาภายในเวลา 30 วัน ก่อนที่พระราชกฤษฎีกาอนุญาตให้ผู้หญิงขับรถได้จะมีผลบังคับใช้ในประเทศซาอุฯ ในวันที่ 24 มิถุนายนปี 2561

คำประกาศนี้สร้างความยินดีให้กับผู้หญิงชาวซาอุฯ และกลุ่มนักเคลื่อนไหวรณรงค์ด้านสิทธิเป็นอย่างมาก หลังจากมีการรณรงค์ต่อสู้ในเรื่องนี้มายาวนาน โดย นางมานาล อัล-ชารีฟ นักเคลื่อนไหวชาวซาอุฯ จากกลุ่มรณรงค์ “วีเมน 2 ไดรฟ์” ที่ต้องโทษจำคุกจากข้อหาขับรถ ทวีตข้อความบนทวิตเตอร์ว่า “ซาอุดีอาระเบียจะไม่เป็นเหมือนเดิมอีกแล้ว” ขณะที่ เจ้าชายคาลิด บิน ซัลมาน เอกอัครราชทูตซาอุฯ ประจำประเทศสหรัฐ ชี้ว่า เป็นวันประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ในราชอาณาจักรซาอุฯ

สหรัฐอเมริกา

Vice President Mike Pence (L) and Speaker of the House Paul Ryan (R) listen as US President Donald J. Trump (C) delivers his first address to a joint session of Congress from the floor of the House of Representatives in Washington, DC, USA, 28 February 2017. / AFP PHOTO / EPA POOL / JIM LO SCALZO

วอชิงตัน – สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สงครามวิวาทะระหว่างสหรัฐอเมริกากับเกาหลีเหนือยังคงดำเนินไปอย่างเผ็ดร้อน ที่ล่าสุด นายรี ยอง โฮ รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีเหนือ ใช้เวทีในการมาร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (ยูเอ็นจีเอ) ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐ กล่าวโจมตีสหรัฐว่าเป็นผู้ประกาศสงครามกับเกาหลีเหนือก่อน ซึ่งมีขึ้นหลังจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ทวีตข้อความตอกหน้าผู้นำเกาหลีเหนือว่าจะอยู่ได้ไม่นานหากยังตีปากเล่นสำบัดสำนวนคุกคามความมั่นคงอยู่ต่อไป ท่ามกลางบรรยากาศบนคาบสมุทรเกาหลีที่ตึงเครียด โดยช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กองทัพสหรัฐยังส่งเครื่องบินรบบินแสดงแสนยานุภาพเหนือน่านฟ้าใกล้ชายฝั่งของเกาหลีเหนือ เป็นผลให้รัฐมนตรีเกาหลีเหนือกล่าวขู่เตือนบนเวทียูเอ็นจีเอว่าเกาหลีเหนือมีสิทธิ์ที่จะยิงสอยเครื่องบินรบสหรัฐได้ไม่ว่าจะบินอยู่ในน่านฟ้าของเกาหลีเหนือหรือไม่

ด้าน นางซาราห์ ฮัคคาบี แซนเดอร์ส โฆษกทำเนียบขาวโต้กลับว่า สหรัฐไม่ได้ประกาศสงครามกับเกาหลีเหนือ และว่า คำกล่าวหานี้ของเกาหลีเหนือเป็นเรื่องไร้สาระ ขณะที่เกาหลีใต้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันป้องปรามไม่ให้สถานการณ์ตึงเครียดลุกลามบานปลายหรือทำให้เกิดการปะทะทางทหารเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ที่จะไม่สามารถควบคุมได้

พม่า

ย่างกุ้ง – สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานถึงปัญหาวิกฤตความรุนแรงในรัฐยะไข่ของพม่าที่กองกำลังฝ่ายความมั่นคงพม่าทำการกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธ จนเป็นผลให้มีชาวโรฮิงญาที่ได้รับผลกระทบต้องหนีภัยความรุนแรงข้ามแดนไปยังบังกลาเทศมากกว่า 480,000 คนแล้วว่า จากการเปิดเผยของรัฐมนตรีต่างประเทศบังกลาเทศระบุว่า คณะผู้แทนรัฐบาลพม่าจะเดินทางมาบังกลาเทศในสัปดาห์หน้าเพื่อหารือถึงชะตากรรมของผู้อพยพชาวโรฮิงญาที่หลบหนีมาพักพิงในบังกลาเทศ พร้อมกับหาแนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ก่อนหน้านี้ นางชีค ฮาซินา นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ ยังได้เสนอให้มีการจัดตั้งเขตปลอดภัย หรือ เซฟโซน ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ขึ้นในฝั่งพม่า เพื่อที่จะคอยคุ้มครองปกป้องชาวโรฮิงญาให้พ้นจากการถูกปราบปรามของกองทัพพม่า ด้านกลุ่มฮิวแมนไรท์วอชท์ องค์กรเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ออกมากล่าวหารัฐบาลพม่าว่ากำลังก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติจากการปล่อยให้มีการปราบปรามชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา แต่ถูกตอบโต้กลับจาก นายซอ ฮเต โฆษกรัฐบาลพม่า ที่ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว

และว่า ไม่เคยมีรัฐบาลพม่าชุดใดที่ส่งเสริมสิทธิ์ด้านต่างๆ มากเหมือนกับรัฐบาลพม่าชุดนี้มาก่อน