รมต.อังกฤษ เตือน “ปูติน-สี” ชาติตะวันตกพร้อมสู้เพื่อประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ

วันที่ 20 มกราคม ที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า อังกฤษได้ออกมากล่าวเตือน 2 มหาอำนาจอีกฝั่งอย่างรัสเซียและจีนว่า ชาติตะวันตกจะร่วมยืนหยัดสู้เพื่อประชาธิปไตยและต่อต้านระบอบเผด็จการที่ขยายตัวอย่างแข็งกร้าวกว่าครั้งไหนนับตั้งแต่ยุคสงครามเย็น

ลิซ ทรูซ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ กล่าวระหว่างขึ้นปาฐกถาให้กับสถาบันโลวีย์ในนครซิดนีย์ของออสเตรเลียเมื่อวานนี้ว่า ชาติตะวันตกต้องตอบโต้ภัยคุกคามระดับโลกร่วมกัน กระชับสัมพันธ์กับระบอบประชาธิปไตยในอินโด-แปซิฟิก และเผชิญหน้ากับผู้กดขี่ระดับโลก

“ชาติผู้กดขี่เหล่านี้ ส่งออกระบอบเผด็จการไปให้ทั่วโลก นั้นทำไมระบอบปกครองในเบลารุส เกาหลีเหนือ และแม้แต่พม่า ได้หันเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับรัฐบาลจีนและรัสเซีย” ทรูซ กล่าวและว่า ชาติตะวันตกควรร่วมมือกับชาติพันธมิตรอย่างออสเตรเลีย อิสราเอล อินเดีย ญี่ปุ่นและอินโดนีเซียเพื่อเผชิญหน้ากับผู้กดขี่ระดับโลก โดยเฉพาะในแถบแปซิฟิก ถึงเวลาแล้วที่โลกเสรีจะต้องยืนหยัด

ท่าทีของรมต.ต่างประเทศอังกฤษออกมานี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดในแถบคาบสมุทรไครเมีย ที่รัสเซียเตรียมกำลังพลเข้าบุกยูเครน ด้วยความกังวลที่ยูเครนจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ที่ทำให้รัสเซียหวาดระแวงอิทธิพลชาติตะวันตกบั่นทอนเสถียรภาพของรัสเซีย ไม่นับร่วมเหตุก่อนหน้านี้ที่มาจากระบอบการเมืองรัสเซียทั้งความเกี่ยวข้องในการผนวกไครเมีย ความพยายามบั่นทอนเลือกตั้งสหรัฐฯและยุโรป รวมถึงการปฏิบัติการสอดแนมและความพยายามลอบสังหารกับบุคคลสำคัญทั่วโลก

ขณะที่ ทางการรัสเซียกล่าวว่า ชาติตะวันตกเต็มไปด้วยความแตกแยก เกาะกุมกับกระแสความกลัวรัสเซีย ไม่มีสิทธิมาสั่งสอนรัฐบาลรัสเซียว่าต้องทำยังไง เช่นเดียวกับจีนที่ออกมากล่าวว่า ชาติตะวันตกคิดว่าตัวเองเป็นใหญ่กับทั่วโลกแบบวิถีอาณานิคม และรัฐบาลจีนจะนิยามวิถีเองโดยไร้การบั่นทอนจากชาติตะวันตก

เต็มไปด้วยความแตกแยก รุสโซโฟเบียจับไว้ และไม่มีสิทธิ์สั่งสอนมอสโกวถึงวิธีปฏิบัติ จีนกล่าวว่าตะวันตกยังคงคิดว่าสามารถครองโลกในแบบอาณานิคมและกล่าวว่าปักกิ่งจะกำหนดเส้นทางของตนเองโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอำนาจจากต่างประเทศ

นอกจากนี้ ทรูซ กล่าวว่า รัฐบาลรัสเซียไม่เรียนรู้จากบทเรียนประวัติศาสตร์ การรุกรานจะนำไปสู่ความเลวร้ายและการสูญเสียชีวิตเท่านั้น ดังที่เราทราบจากสงครามโซเวียต-อัฟกานิสถานและความขัดแย้งในเชชเนีย”

ทั้งนี้ ตามข้อมูลโครงการ Costs of War ของสถาบันวัตสันแห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ นับตั้งแต่ปี 2001 มีผู้คนเสียชีวิตจากเขตสงครามทั้งในอัฟกานิสถานและปากีสถานแล้วราว 241,000 ราย