อย่าเพิ่งดีใจ! หมอธีระวัฒน์ ชี้ตรวจโควิดครั้งแรกผลเป็นลบ ไม่ได้แปลว่ารอด

หมอธีระวัฒน์ ชี้ตรวจโควิดครั้งแรกผลเป็นลบ ไม่ได้แปลว่ารอด ต้องเว้นระยะ-ตรวจซ้ำ

วันที่ 12 เมษายน 2564 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครั้งแรก แม้จะได้ผลเป็นลบ ไม่ได้แปลว่าคนนั้นจะปลอดเชื้อโควิด-19 เพราะหากสัมผัสเชื้อก่อนตรวจ 1 วัน มักจะยังไม่แสดงผลที่ชัดเจน ดังนั้นการรักษาระยะห่าง สวมหน้ากาก และตรวจครั้งที่ 2 หลังจากนั้นอีก 5-7 วัน จึงยังต้องทำ เพื่อให้เกิดความแน่ใจ หากผลตรวจครั้งที่ 2 ออกมาเป็นลบ แสดงว่าไม่ติดเชื้อ

ทั้งนี้ ข้อความระบุว่า การตรวจ ELISA ของจุฬาฯ ใช้ตัวจับคือ RBD ซึ่งจะแตกต่างกับชุดตรวจแบบอื่นดังนั้นที่รายงานในวารสาร PLOS one ที่เราตรวจให้คนไข้ที่มีอาการในโรงพยาบาลจุฬาเกือบ 100 ราย ในช่วงระยะอาการต่างๆตรวจได้ผล +100% ในตั้งแต่วันแรกที่เข้าโรงพยาบาลโดยไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนไวรัส และแม้จะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัสในระดับสูงก็ตาม ยังปล่อยไวรัสได้

และเลือดเป็นบวกตั้งแต่วันที่ห้าหลังจากสัมผัสเชื้อและวันที่หนึ่งที่มีอาการ (รายงานละเอียด ส่งพิจารณาตีพิมพ์)

ในคนที่ไม่มีอาการ จากการตรวจจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่นิสิตติดโควิดทั้ง 55 รายที่พีซีอาร์ + เลือดเป็นบวกทั้งหมด โรงงานแห่งหนึ่งที่สมุทรสาคร bubble and seal ผล ตรวจพีซีอาร์ครั้งแรกวันที่ 27 มกราคม ประมาณ 2200 คน มีเชื้อ จาก แยงจมูก 300 คน คัดออก ที่เหลือ 1,900 คน ทำงานต่อ ที่โรงงาน และที่พักในและนอกโรงงาน

ตรวจ ELISA หลังจากนั้น
ครั้งที่ 1 : 14/2/64
มี เลือด บวก 283 และในจำนวนนี้ยังปล่อยเชื้อได้ 148 คน

ตรวจครั้งที่ 2 : 5/3/64 มีเลือดบวก 538 ราย และเป็นคนที่เลือดบวกทั้งครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง 230 ราย แสดงว่ามีผู้ที่ติดเชื้อใหม่อีก และเมื่อตรวจหาเชื้อพบว่าสามารถปล่อยเชื้อได้ 200 ราย

ทุกรายที่พีซีอาร์ + แอนตี้บอดี้ + แต่ทุกรายที่แอนตี้บอดี้ + ไม่จำเป็นต้องพีซีแอร์ + เพราะติดเชื้อไปแล้วและหยุดแพร่เชื้อแล้ว

หมายความว่า

1.การแยงจมูกตรวจเชื้อครั้งเดียว ไม่แน่นอน
2.การคิดว่าคนที่เหลือ ไม่มีเชื้อ จากการตรวจแยง ปลอดภ้ย เป็นเรื่องไม่ปลอดภัย
3.การที่พบเลือดเป็นบวก และมีภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัสในเลือดได้ในระดับสูงไม่ได้เป็นเครื่องแสดงว่าปล่อยเชื้อไม่ได้ เมื่อไหร่ที่เลือดเป็นบวกต้องทำการแยงจมูกต่อ
4.การที่เลือดเป็นลบ ครั้งแรกไม่ได้หมายความ 100% ว่าไม่ติดเชื้อเนื่องจากอาจติดเชื้อหนึ่งวันก่อนตรวจดังนั้นยังคงต้องมีวินัยและรักษาระยะห่างอยู่เสมอและตรวจเลือดครั้งที่สองในช่วงห้าถึงเจ็ดวันถ้าเป็นลบหมายความว่าไม่มีการติดเชื้อ

การตรวจ ELISA ของจุฬา ใช้ตัวจับคือ RBD ซึ่งจะแตกต่างกับชุดตรวจแบบอื่นดังนั้นที่รายงานในวารสาร PLOS one ที่เราตรวจให้คนไข้ที่มีอาการในโรงพยาบาลจุฬาเกือบ 100 ราย ในช่วงระยะอาการต่างๆตรวจได้ผล +100% ในตั้งแต่วันแรกที่เข้าโรงพยาบาลโดยไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนไวรัส และแม้จะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัสในระดับสูงก็ตาม ยังปล่อยไวรัสได้ และเลือดเป็นบวกตั้งแต่วันที่ห้าหลังจากสัมผัสเ ชื้อและวันที่หนึ่งที่มีอาการ (รายงานละเอียด ส่งพิจารณาตีพิมพ์)

ในคนที่ไม่มีอาการ
จากการตรวจจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่นิสิตติดโควิดทั้ง 55 รายที่พีซีอาร์ + เลือดเป็นบวกทั้งหมด

โรงงานแห่งหนึ่งที่สมุทรสาคร bubble and seal ผล ตรวจพีซีอาร์ครั้งแรกวันที่ 27 มกราคม ประมาณ 2200 คน มีเชื้อ จาก แยงจมูก 300 คน

ค้ดออก ที่เหลือ 1,900 คน ทำงานต่อ ที่โรงงาน และที่พักในและนอกโรงงาน

ตรวจ ELISAหลังจากนั้น
ครั้งที่ 1 : 14/2/64
มี เลือด บวก 283 และในจำนวนนี้ยังปล่อยเชื้อได้ 148 คน

ตรวจครั้งที่ 2 : 5/3/64 มีเลือดบวก 538 ราย และเป็นคนที่เลือดบวกทั้งครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง 230 ราย แสดงว่ามีผู้ที่ติดเชื้อใหม่อีก และเมื่อตรวจหาเชื้อพบว่าสามารถปล่อยเชื้อได้ 200 ราย

ทุกรายที่พีซีอาร์ + แอนตี้บอดี้ + แต่ทุกรายที่แอนตี้บอดี้ + ไม่จำเป็นต้องพีซีแอร์ + เพราะติดเชื้อไปแล้วและหยุดแพร่เชื้อแล้ว

หมายความว่า

1.การแยงจมูกตรวจเชื้อครั้งเดียว ไม่แน่นอน
2.การคิดว่าคนที่เหลือ ไม่มีเชื้อ จากการตรวจแยง ปลอดภ้ย เป็นเรื่องไม่ปลอดภัย
3.การที่พบเลือดเป็นบวก และมีภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัสในเลือดได้ในระดับสูงไม่ได้เป็นเครื่องแสดงว่าปล่อยเชื้อไม่ได้ เมื่อไหร่ที่เลือดเป็นบวกต้องทำการแยงจมูกต่อ
4.การที่เลือดเป็นลบ ครั้งแรกไม่ได้หมายความ 100% ว่าไม่ติดเชื้อเนื่องจากอาจติดเชื้อหนึ่งวันก่อนตรวจดังนั้นยังคงต้องมีวินัยและรักษาระยะห่างอยู่เสมอและตรวจเลือดครั้งที่สองในช่วงห้าถึงเจ็ดวันถ้าเป็นลบหมายความว่าไม่มีการติดเชื้อ