หญิงหน่อย รับฟังปัญหาผู้ค้าจตุจักร ร้องขอลดค่าเช่า ชี้ รบ.มีงบกระตุ้นแต่ใช้เงินไม่เป็น

คุณหญิงสุดารัตน์” ลงพื้นที่ ตลาดนัดจตุจักร รับฟังความเห็นผู้ค้า มองรัฐบาล มีงบกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ไม่รู้จะใช้อย่างไร ด้านผู้ค้า ร้อง คมนาคมขอลดค่าเช่า เรียกร้องนายกฯลงพื้นที่ดูปัญหา

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พร้อมด้วย นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือและนายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม.ของพรรค ลงพื้นที่ตลาดจตุจักร เพื่อพบปะและรับฟังปัญหาความเดือดร้อน จากกลุ่มสหกรณ์ผู้ค้า และผู้ค้าตลาดนัดจตุจักร

ซึ่งมีผู้เช่าอยู่ประมาณ 10,300 แผง ขณะที่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. มีแผนพัฒนาและลงทุนในพื้นที่และ ให้ กทม.เป็นผู้บริหารจัดการแผงค้าขาย ต้องส่งเงินให้ รฟท. ราว 169 ล้านบาทต่อปี โดยให้ กทม.คิดค่าเช่า 900 บาท, 1,400 บาท และ-1,800 บาท ต่อแผงต่อเดือน ตามแต่ละโครงการ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยผู้ค้าบางส่วนได้จ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยไปแล้ว แต่บางส่วนยังไม่ได้ดำเนินการ และมีการเข้ายื่นเรื่องต่อ กมธ.ตรวจสอบเงินกู้ 1.9 ล้านบาท ฟื้นฟูผลกระทบโควิด-19 เกี่ยวกับผลกระทบโควิด-19 ก่อนหน้านี้ด้วย

โดยกลุ่มผู้ค้า ต้องการให้หน่วยวานที่เกี่ยวข้องทั้ง กทม.และ รฟท.ช่วยลดค่าเช่าแผง รวมถึง ดอกเบี้ยและค่าปรับที่ผู้ค้าติดค้างด้วย

ส่วนตัวแทนผู้บริหารตลาดจตุจักร กล่าวถึงรายได้ของตลาดจตุจักร ที่หดหายไป นอกจากเก็บค่าเช่าไม่ได้เเล้ว ยังมีผู้ยกเลิกสัญญาเช่าหลายราย พร้อมอธิบายเงื่อนไขทั้งตามมติ ครม.และ MOU ระหว่าง รฟท.กับ กทม. เกี่ยวกับการบริหารจัดการตลาดจตุจักร ซึ่งเฉลี่ยแล้ว ตลาดจตุจักรต้องส่งเงินให้ กทม.เพื่อจ่ายให้ รฟท.เดือนละ 14 ล้านบาทเศษ โดยยกตัวอย่างค่าแผงที่แพงที่สุดคือ 1,800 แบ่งไว้บริหารจัดการในตลาด 450 บาท ส่งให้ รฟท. 1,350 บาท แทบไม่เหลือกำไร บาวเดือนตลาดจตุจัดรมีกำไรเพียง 20,000 บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากกับการบริหารพื้นที่กว่า 70 ไร่

นายประเดิมชัย ในฐานะ กมธ.ติดตามเงินกู้ ทบทวนกรณีกลุ่มผู้ค้าจตุจักร ไปยื่น กมธ.ติดตามเงินกู้ฯ ว่า ได้ร้องเรียนไว้ใน 3 ประเด็น คือ
1.) ยุติฟ้องร้องผู้ค้าที่ติดค่าเช่าแผง
2.) ยกเว้นดอกเบี้ยและขอผ่อนชำระเงินต้น หลัง รฟท.ยอมยกเว้นดอกเบี้ย แต่ให้จ่ายเลินต้นในคราวเดียว
3.) ผู้ค้าที่จ่ายทั้งต้นและดอกแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเยียวยา หรือให้ กทม.ลดเงินต้นให้จากยอดดอกเบี้ยที่จ่ายไป

พร้อมรับปากว่า จะนำขอเสนอเพิ่มเติมในวันนี้ เข้าที่ประชุม กมธ.ติดตามเงินกู้ฯ ในวันอังคารนี้


ส่วน คุณหญิงสุดารัตน์ ระบุถึงวิสัยทัศน์ผู้บริหาร ที่ต้องเน้นดูแลประชาชน ไม่มุ่งแสวงหากำไรอย่างเดียว พร้อมเน้นย้ำถึงจุดเด่นของตลาดจตุจักรที่มีความแตกต่าง จากตลาดอื่นๆ เพราะเป็นที่รวมของสินค้าชุมชนทั้งจากวิสาหกิจชุมชนและชาวบ้านมากระจายที่นี่ ดังนั้นการดูแลเชิงการค้าอย่างเดียวไม่เพียงพอต้องส่งเสริมหรือมีหน้าที่ดึงผลิตภัณฑ์จากชุมชนมาขายด้วยซ้ำ และเห็นว่า ผู้ที่รับสินค้าเหล่านี้มาขาย ควรได้รับสิทธิพิเศษจากภาครัฐ อย่างน้อยก็จากเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ “4 แสนล้านบาท” ด้วย

สำหรับแนวทางการช่วยเหลือมี 2 ระดับคือ ในชั้นกรรมาธิการ อย่างที่นายประเดิมชัย นำเสนอและจะดำเนินการ อีกระดับคือ คุณหญิงสุดารัตน์ จะประสานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและผู้ว่าการรถไฟฯ เพื่อนำสู่การนัดประชุมร่วมกัน 3 ฝ่ายกับกลุ่มผู้ค้า จะได้นำสู่การคลี่คลายปัญหา คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวด้วยว่า แต่ถ้าผู้มีอำนาจไม่ยอมมาประชุม กลุ่มผู้ค้าอาจจะ “พาม็อบไปเยี่ยม” ก็ได้