ภัยการเงิน ในยุค โซเชียล ปลอม บัตรอิเล็กทรอนิกส์

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

เปิดเผย

รายงานผลการดำเนินงานในการให้ข้อมูลคำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียนไตรมาส 2 ปี 2559 จากข้อมูลที่บันทึกในระบบ 13,991 รายการ

ส่วนใหญ่เป็นการสอบถามข้อมูลและคำปรึกษา 13,517 รายการ คิดเป็นร้อยละ 96.6

รองลงมาคือร้องเรียน 362 รายการ คิดเป็นร้อยละ 2.6

เรื่องอื่นๆ เช่น ข้อเสนอแนะ แจ้งเบาะแส 70 รายการ คิดเป็นร้อยละ 0.5 และขอความอนุเคราะห์ 42 รายการ คิดเป็นร้อยละ 0.3

ในเรื่องสถิติร้องเรียนและขอความอนุเคราะห์ซึ่งมีจำนวน 404 รายการ แบ่งออกเป็น ด้านบริการทางการเงินของสถาบันการเงิน 369 รายการ ซึ่งแยกเป็น 2 หมวดคือ

การร้องเรียนบริการทางการเงินของสถาบันการเงิน 327 รายการ

ขอความอนุเคราะห์จากสถาบันการเงิน 42 รายการ

โดยเป็นเรื่องภัยทางการเงิน 20 รายการ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องบัตรอิเล็กทรอนิกส์ถูกนำไปใช้โดยบุคคลอื่นและถูกสวมรอยหรือปลอมแปลงเอกสาร

การร้องเรียนด้านเงินให้สินเชื่อในไตรมาส 2 ปี 2559 มีจำนวน 152 รายการ

เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 19 รายการ เรื่องร้องเรียน 3 ลำดับแรก ได้แก่ เงินต้นและยอดหนี้ไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่เกิดจากความเข้าใจไม่ถูกต้องในวิธีการคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยบัตรเครดิต เป็นต้น