สื่อเทศเผยผลสำรวจ 14 ประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิค ปลอดภัยต่อผู้หญิง

ต้อนรับวันสตรีสากล 8 มีนาคม ด้วยรายงานของ เซาท์ไชนา มอร์นิง โพสต์ ถึงผลการสำรวจ กลุ่มที่ปรึกษา แวลู แชมเปียน ในฮ่องกง สำรวจเมืองที่มีความปลอดภัยที่สุดในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก 14 ประเทศ สำหรับผู้หญิง

คะแนนที่เป็นตัวชี้วัด ได้แก่ ความปลอดภัย สุขภาพและโอกาส โดยอันดับด้านความปลอดภัยจะพิจารณาจากการคุ้มครองทางกฎหมายและคุณภาพชีวิต ส่วนด้านสุขภาพ พิจารณาจากการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และการมีเสรีภาพของผู้หญิงในการวางแผนครอบครัว ขณะที๋โอกาส พิจารณาจากการศึกษาและการมีงานทำของผู้หญิง

“กระแส แฮชแทก #MeToo แรงไปทั่วโลกและการประท้วงมีผู้หญิงเป็นแกนนำต่อต้านการละเมิดทางเพศ และความจริงของคุณภาพชีวิตของผู้หญิงกำลังปรากฏขึ้น” นักวิจัยโครงการสำรวจกล่าวและบอกว่าความรู้สึกปลอดภัยในสถานที่ที่อาศัยอยู่เป็นสิ่งที่ถูกมองข้าม ประเทศใดปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้หญิง

รายงานวิจัยพบว่าขณะที่สิงคโปร์เป็นประเทศที่ปลอดภัยมากสำหรับผู้หญิง แต่กลับมีคดีลวนลามทางเพศเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ระหว่างปี 2560-2561 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ายังคงมีปัญหาการคุกคามทางเพศอยู่

ขณะที่ีญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปลอดภัยในทุกด้าน ซึ่งได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 4 รองจากออสเตรเลีย แต่ก็ยังมีเหตุข่มขืนโดยเจ้าหน้าที่ไม่ได้รับรายงาน และการเลือกปฎิบัติเป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้หญิงญี่ปุ่น เนื่องจากเหตุล่วงละเมิดทางเพศร้อยละ 95 ไม่ได้รายงานให้ตำรวจทราบเรื่องซึ่งคณะนักวิจัยเชื่อว่าเป็นเพราะผู้หญิงอายหรืออาจโทษตัวเอง

ส่วนอินโดนีเซียและฟิลิิปปินส์ รวมทั้ง อินเดีย รั้งท้ายตาราง แม้ว่ารัฐบาลประเทศเหล่านี้พยายามปรับปรุงคุณภาพชีิิิวิตของผู้หญิงก็ตาม

แม้อินโดนีเซียมีกฎหมายห้ามข่มขืน การทำร้ายภายในบ้านและความรุนแรงรูปแบบอื่นๆ แต่จากการสำรวจของรัฐบาลในปี 2559 พบว่าผู้หญิงร้อยละ 33 จากประชากรหญิงอายุระหว่าง 15 -64 หรือประมาณ 26 ล้านคนเคยถูกกระรทำความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ

ส่วนการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิงในอินเดียจุดกระแสประท้วงทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากกรณีข่มขืนหมู่และฆาตกรรมนักศึกษาแพทย์บนรถโดยสารในกรุงนิวเดลี ปี 2555

เหตุข่มขืนในอินเดียทวีความรุนแรงขึ้นทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์นายนเรนทรา โมดิ นายกรัฐมนตรีอินเดียว่าให้ความคุ้มครองผู้หญิงไม่ดีพอ (ปี 2555 มีคดีข่มขืน 24,923 คดีทั่วประเทศ ขณะที่ปี 2559 เพิ่มขึ้นเป็น 38,900 กว่าคดี)

ส่วนการวิจัยในปี 2561 จัดทำโดยมูลนิธิธอมป์สัน รอยเตอร์ พบว่าอินเดียเป็นประเทศที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้หญิงหลังจากอยู่ในอันดับที่ 4 จากการวิจัยเดียวกันเมื่อ 7 ปีก่อน

ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก มีพลเมือง 1.3 ล้านคน ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับสูงที่สุด จากคำถามทั้ง 3 หัวข้อ ได้แก่ ความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงและล่วงละเมิดทางเพศ อันตรายที่ผู้หญิงต้องเผชิญจากการปฏิบัติทางวัฒนธรรม ชนเผ่า หรือธรรมเนียม และยังเป็นประเทศที่ผู้หญิงตกอยู่ในอันตรายมากที่สุดจากการลักลอบค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงานและการใช้แรงงานเยี่ยงทาสภายในบ้าน