E-DUANG : มาตรการ เข้มในการ สลายม็อบ เป็นการต่อสู้ หรือว่า ปราบปราม

ก่อนเกิดคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 ภายในหน่วยงานอัน เกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ไม่ว่า พลเรือน ไม่ว่า ตำรวจ ไม่ว่า ทหาร ได้เกิด การสัประยุทธ์ในทางความคิดอย่างสำคัญ

เหมือนกับเป็นการปะทะระหว่าง 1 ความโน้มเอียงไปในทางปราบปราม กับ 1 ความโน้มเอียงไปในทางต่อสู้

สรุปเรียกได้ว่าเป็นการปะทะระหว่างการทหารกับการเมือง

ภายในแวดวงคนทำงานอันเกี่ยวกับ”คอมมิวนิสต์”แยกออกเป็น 2 สาย โดยสายหนึ่งเรียกว่า “สายเหยี่ยว” โดยสายหนึ่ง เรียกว่า”สายพิราบ”

สายเหยี่ยวเน้นการปราบปราม เน้นการทหาร ขณะที่สายพิราบ เน้นการต่อสู้ เน้นการเมือง

กระทั่งเข้าสู่ยุค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ สายพิราบดำรงอยู่ใน ฐานะด้านหลักเหนือกว่าสายเหยี่ยว จึงผลักดันคำสั่งสำนักนายกรัฐ มนตรีที่ 66/2523 ออกมา

คำสั่งนี้มีชื่ออย่างรวบรัดว่าเป็น “การต่อสู้”เพื่อเอาชนะคอมมิว นิสต์ ที่รับรู้ว่าเป็นแนวทาง”การเมืองนำการทหาร”

 

แรกที่คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 ประกาศออกมาไม่ว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไม่ว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ไม่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อาจยังเป็นนายทหารชั้นผู้น้อย

อาจมีบทบาทในการปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ของ รัฐมนตรี ของผู้บัญชาการทหารบก

อาจไม่มีความซาบซึ้ง อาจไม่มีความเข้าใจอย่างเพียงพอ

และเมื่อทุกคนเข้ามามีบทบาทอยู่ในกองทัพ ผลสำเร็จของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 ก็ได้กลายเป็นอดีตไปตามวัยวันของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ไปด้วย

เมื่อเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี มาเป็นรัฐมนตรีภายหลังรัฐประ

หารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 และเผชิญกับ”เยาวชนปลดแอก”นับ แต่เดือนกรกฎาคม 2563 เป็นต้น

ท่าทีและการปฏิบัติต่อปัญหาของรัฐบาลจึงน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถสรุปบทเรียนจาก”อดีต”มาได้มากน้อยเพียงไร

 

เมื่อประสบเข้ากับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงและลงมือสลายการชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นเช้ามืดของวันที่ 15 ตุลาคม ไม่ว่าจะเป็นตอนค่ำของวันที่ 16 ตุลาคม

ตลอดจนมาตรการเข้มในวันที่ 17 พฤศจิกายนหน้ารัฐสภา

น่าสงสัยว่าเป็นจังหวะก้าวบนพื้นฐานความคิด”การเมืองนำการทหาร” หรือว่า “การทหารนำการเมือง”กันแน่