E-DUANG : ภาพลักษณ์ ความเขี้ยว การเมือง นักการเมือง อยู่เป็น กับ อยู่ไม่เป็น

การออกโรงของ นายเสรี สุวรรณภานนท์ กับ นายกิตติศักดิ์ รัตนะ วราวะ ได้กลายเป็นคำถามอันแหลมคมในทางการเมืองขึ้นมาโดย อัตโนมัติ

เพราะการเสนอแก้รัฐธรรมนูญโดยการตัดบทบัญญัติในเรื่อง อายุการเป็นนายกรัฐมนตรีน่าจะได้รับเสียงเชียร์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปีกของผู้กุม”อำนาจ”อยู่ในปัจจุบัน

ไม่ว่าจะมองจากด้านของ พรรครวมไทยสร้างชาติ พล.อ.ประ ยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ว่าจะมองจากด้านของ พรรคพลังประชารัฐ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

เพราะหมายถึงการแก้ปมและคลายข้อกำหนดซึ่งบีบรัดการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ยาวนานออกไปโดยไม่มีกำหนดสำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

แปลกอย่างยิ่งที่ปรากฏข่าวจากด้านของพรรครวมไทยสร้าง ชาติและจากด้านของพรรคพลังประชารัฐ ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไม่เห็นด้วย

สายตาที่มองไปยัง นายเสรี สุวรรณภานนท์ และ นายกิตติศักดิ์ รัตนะวราวะ จึงเปี่ยมด้วยความแคลงคลางกังขา

ถามว่า 2 ส.ว.นี้ออกโรงเพื่อรับใช้เป้าหมายการเมืองใดแน่

 

คำถามเช่นนี้จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะจากภายในของ 250 ส.ว. ไม่ว่าจะจากบางคนของพรรครวมไทยสร้าง ชาติ หรือบางคนของพรรคพลังประชารัฐ

ตัวอย่างสดๆร้อนๆที่ก่อให้เกิดความหวาดระแวงเห็นได้จากในกรณีของ นายวีระกร คำประกอบ

การเคลื่อนไหวของ นายวีระกร คำประกอบ ที่เคยกระทำในฐานะ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ คล้ายกับจะเป็นปากเสียงให้กับบางส่วนที่ไม่พอใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

เป็นการเสนอการเปิดบทบาทให้กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุ วรรณ ในฐานะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี อันเท่ากับเป็นการรุกไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

เหมือนกับ นายวีระกร คำประกอบ รับงานจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เพื่อกดดันและทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร็โอชา จำเป็นต้องตัดสินใจโน้มเอียงไปทางด้านพรรครวมไทยสร้างชาติ

แต่ที่สุด นายวีระกร คำประกอบ กลับเลือกพรรคภูมิใจไทย

 

ก่อนการยุบสภาจะบังเกิดขึ้นในทางเป็นจริง แต่ละจังหวะก้าวของ”นักการเมือง”จึงปรากฏ ณ เบื้องหน้าประชาชน

ทั้งที่สะท้อน”เขี้ยวลากดิน”และที่สะท้อน”ละอ่อน”เด่นชัด

ภาพในแบบ”เขี้ยวลากดิน”ที่ดำเนินไปด้วยความอึกทึกครึกโครมจึงก่อให้เกิดความแคลงคลางกังขาตลอด 2 รายทาง