E-DUANG : ศึกษา เงินบริจาค พรรคการเมือง พรรคมวลชน หรือใครเป็นเจ้าของ

จำนวนเงินบริจาคให้พรรคการเมืองได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคผ่านกระ บวนการเสียภาษีเงินได้

เพราะจำนวนเงินบริจาคที่ได้มาจะสะท้อนให้เห็นไปถึงแต่ละ กระบวนท่าของแต่ละพรรคการเมืองในการขับเคลื่อน

ถามว่าแต่ละ”อีเว้นท์”ที่แต่ละพรรคการเมืองจัดขึ้นอย่างอึกทึกครึกโครม ไม่ว่าจะมองผ่านพรรคพลังประชารัฐ มองผ่านพรรคภูมิใจไทย มองผ่านพรรคประชาธิปัตย์ ต้องใช้”เงิน”หรือไม่

ภาพของ”ประชาชน”ที่เดินทางมาเข้าร่วมอาจเป็นเครื่องยืนยันในคะแนนและความนิยมของพรรคการเมืองนั้นๆ แต่ถามว่าจำเป็นต้องใช้เงินหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด

ในการมาของมวลชนก็แสดงถึงความพร้อมของพรรคการเมือง ตั้งแต่เรื่องการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง การจัดหาเครื่องแบบเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

แต่ละกระบวนท่าเหล่านี้มิได้เป็นเรื่องทำด้วยความสมัครใจ

โดยที่พรรคการเมืองไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็นงบประมาณในการ ขับเคลื่อนอย่างแน่นอน

ยิ่งพรรคการเมืองที่เปิดยุทธการ”ดูด”ยิ่งต้องใช้เงินมหาศาล

 

ที่ โทนี่ วู้ดซั่ม พูดลอยลมผ่านข่องทางคลับเฮาส์ในวันอังคารหนึ่งว่าบางพรรคการเมืองใช้เงินมากถึง 80 ล้านบาทต่อการดูดนักการเมือง 1 คนเหมือนกับเป็นเรื่องเหลือเชื่อ

แต่คนที่ผ่านประสบการณ์จากพรรคเสรีมนังคศิลา พรรคสหประชาไทย พรรคสามัคคีธรรม มาแล้วยากยิ่งจะปฏิเสธ

ถามว่าการก่อรูปขึ้นของพรรคพลังประชารัฐมีแต่มาตรการทางด้าน”นิติสงคราม”เพื่อเปิดทางสะดวกให้กับบางนักการเมือง เท่านั้นหรือ

กรณีที่ปรากฏหลักฐานการรับเงินรายเดือนของ ส.ส.พรรคเล็กบางพรรคที่อยู่ในเครือข่ายของพรรคพลังประชารัฐย่อมเป็นคำ ตอบได้เป็นอย่างดี

คำถามก็คือ ในบรรดาพรรคการเมืองทั้งหมดมีพรรคการ

เมืองใดที่แสดงบทบาทเด่นเป็นอย่างสูงในการใช้”พลังดูด”

 

การสะสมทุนของแต่ละพรรคการเมืองจึงมิได้เป็นการสะสมทุนใน ลักษณะที่ผ่านมาโดยการบริจาคของประชาชนอย่างเปิดเผยและถูกต้องตามที่กกต.กำหนดอย่างเดียว

หากแต่ยังมีเงินทุนจาก”ขาใหญ่”ภายในพรรคการเมืองด้วย

บทบาทในสถานการณ์ดำรงอยู่อย่างเป็น”เจ้าของพรรค”จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง ไม่เพียงในหมู่”นักการเมือง”หากแต่ในสังคมแห่งการวิเคราะห์

พรรคการเมืองใดเป็นของใคร กระทำเพื่อใคร จึงสำคัญยิ่ง