E-DUANG : ปฎิบัติการ กดดัน และหลอมรวม “เพื่อไทย” กับ “ก้าวไกล”เข้าหากัน

ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวภายใต้กระบวนการ”ราษฎรราชประสงค์ ยกเลิก 112” ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวภายใต้กระบวนการ”กลุ่มพลเมืองเพื่อผู้ต้องขังทางการเมือง”

คือ รูปธรรมแห่งการเคลื่อนไหวในลักษณะ”กดดัน” เป้าหมายที่เห็นคือ รัฐบาล คือโครงสร้างแห่งกระบวนการยุติธรรม

โดยมีพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกลเป็นพันธมิตรในแนวร่วม

ขณะที่”ราษฎรประสงค์ ยกเลิก 112” อาศัยรูปการชุมนุม อาศัยการร่วมลงชื่อจากพลเมือง และอาศัยการเคลื่อนไหวผ่านคลับเฮาส์มาเป็นเครื่องมือ

“กลุ่มพลเมืองเพื่อผู้ต้องขังทางการเมือง” อาศัยแถลงการณ์และ 2 เท้าที่มีอยู่เดินทางไปยังพรรคเพื่อไทย เดินทางไปยังพรรคก้าวไกล ในท่วงทำนองแบบ”ขอแรงหน่วยเถิด”

ทั้งยังเป็นการขอแรงตามเงื่อนไขและความถนัดของพรรคเพื่อ

ไทย ตามเงื่อนไขและความถนัดของพรรคก้าวไกล

นั่นก็คือ การเคลื่อนไหวในเวทีรัฐสภา ผ่านการตั้งกระทู้ ผ่านการเสนอตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อหาทางออกให้กับ”ผู้ต้องขัง”

 

ถามว่าเหตุใดกลุ่มที่มี ทูตรัศม์ ชาลีจันทร์ และ นายสุณัย ผาสุก เป็นหัวหมู่ทะลวงฟันจึงใช้ชื่อว่า “กลุ่มพลเมืองเพื่อผู้ต้องขังทางการเมือง”

เป้าหมายที่ได้รับการเน้นอย่างเป็นพิเศษและจริงจัง นั่นก็คือ “ผู้ต้องขังทางการเมือง”

นั่นคือ วลีที่พรรคเพื่อไทยใช้ว่า “นักโทษในทางความคิด”

นั่นก็คือ บทบาทที่ ส.ส.หลายคนในพรรคก้าวไกลออกโรงไปประกันตัวและให้ความอบอุ่นกับน้องๆหลานๆที่เข้าร่วมการเคลื่อน ไหวและถูกจับกุม

ความหมายก็คือ คนเหล่านี้ยังไม่ได้ต้อง”คำพิพากษา” แต่ก็ถูก  

สั่ง”จำขัง”อย่างไม่เป็นธรรม

 

โดยบทบาทและการแสดงออกผ่าน”กลุ่มพลเมืองเพื่อผู้ต้องขังทาง การเมือง” จึงเป็นบทบาทในการกดดัน

เช่นเดียวกับที่”ราษฎรประสงค์ ยกเลิก 112” กำลังปฏิบัติ

และโดยการเคลื่อนไหวเช่นนี้ได้ทำให้พรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลค่อยๆก้าวมาอยู่บนเส้นทางการเมืองเดียวกัน หรืออย่างน้อย ก็มีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น

ดำรงความเป็น”พันธมิตร”ใน”แนวร่วม”เดียวกันเด่นชัดขึ้น