E-DUANG : ภาพ เปรียบเทียบ การเมือง อยากกับไม่อยาก “เลือกตั้ง”

มีคดีมากมายภายหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 เมื่อ ผ่านมาถึงเดือนมกราคม 2562 จะถูกมองด้วยอารมณ์และความรู้สึกที่แปลกและแปร่ง

อย่างเช่นการอายัด “บัญชีธนาคาร” ของ นายจาตุรนต์ ฉาย แสง และ นายสมบัติ บุญงามอนงค์

อย่างเช่นกรณีของ “อุทยานราชภักดิ์”

ซึ่งพยายามสกัดขัดขวางถึงกระทั่งมีการอุ้มเป้าหมายบางเป้าหมายจากตลาดมหาชัยและจากโบกี้รถไฟจากบ้านโป่ง

อย่างเช่นกรณีของ “ประชามติ”

ยิ่งคดีที่มีการแจ้งความกล่าวโทษต่อ “คนอยากเลือกตั้ง” ยิ่งเป็นเรื่องที่ยิ่งปล่อยไปยิ่งเป็นเรื่องประเภท บีลีฟ อิท ออร์ น็อต

ทำท่าว่า “โจทก์” อาจต้องกลายเป็น “จำเลย

 

ที่ตลกร้ายเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นกรณี “อุทยาราชภักดิ์” กรณี”ประชามติ” กรณี”คนอยากเลือกตั้ง”

เบื้องหน้าบรรยากาศ”คนไม่อยากเลือกตั้ง”จะทำอย่างไร

ต้องยอมรับว่าพลันที่มีความพยายาม “เลื่อน” การเลือกตั้ง ออกไป ก็เกิด 2 ปรากฎการณ์นำไปสู่การเปรียบเทียบอย่างแหลม คมยิ่งในทางการเมือง

สังคมมองเห็นได้เลยว่า มีคนที่”ไม่อยาก”ให้มี”การเลือกตั้ง”ดำรงอยู่จริง

แม้จะไม่คึกคักเหมือนเมื่อหลายปีก่อน แต่ก็สัมผัสได้ผ่านการเคลื่อนไหวหลังจากมีการประชุมร่วมระหว่างคสช.และรัฐบาล กับกกต.เมื่อวันที่ 3 มกราคม

จึงมิได้แปลกใจที่มีความพยายามร้องทุกข์ แจ้งความกล่าวโทษและเกิดเป็นรูปคดีเล่นงาน”คนอยากเลือกตั้ง”กลุ่มแล้วกลุ่มเล่านับแต่เดือนมกราคม 2561 เป็นต้นมา

      หากแจ้งความกล่าวโทษ”คนอยากเลือกตั้ง” แล้วเหตุใดไม่แจ้งความกล่าวโทษ”คนไม่อยากเลือกตั้ง”เล่า

 

ที่ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ยืนยันในฐานะ”นักประวัติศาสตร์”ในห้วงแห่งการเปลี่ยนผ่านหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ว่า

ที่ไม่เคยเห็น ก็ได้เห็น

กำลังสำแดงความเป็นจริงให้สัมผัสนับแต่เดือนพฤษภาคม 2557 กระทั่งเดือนมกราคม 2562