เปิดจุดอ่อน ‘แรงงานไทย’ ขาดทั้งปริมาณ คุณภาพ!

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศศช.)

รายงานสถานการณ์แรงงานไทย

ระบุถึงเงื่อนไขและผลกระทบที่มีต่อตลาดแรงงานไทย โดยเฉพาะในส่วนของโครงสร้างประชากรที่มีการคาดการณ์ว่าในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 (2560-2564) ประชากรไทยจะเพิ่มจาก 65.5 ล้านคนเป็น 66.1 ล้านคน

สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17.1 เป็นร้อยละ 19.8

ขณะที่สัดส่วนของประชากรแรงงานจะลดลงจากร้อยละ 65.3 เหลือร้อยละ 64.1

โดยเมื่อถึงช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 13-15 (1565-2579) สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20.6 ขณะที่ประชากรวัยแรงงานจะลดลงจากร้อยละ 63.1 เหลือร้อยละ 56.3

สถานการณ์ตลาดแรงงานไทยกำลังเผชิญกับข้อจำกัดในหลายด้าน

ประชากรในวัยแรงงานปัจจุบันมีจำนวน 38.08 ล้านคน ลดลงจากปี 2553 ที่มี 38.64 ล้านคน

ปัญหากำลังแรงงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงานไม่สอดคล้องกับความต้องการ ตลาดแรงงานในปัจจุบันมีแนวโน้มความต้องการแรงงานในภาคบริการมากขึ้น จากร้อยละ 36.4 ในปี 2545 เพิ่มเป็นร้อยละ 45.9 ในปี 2560

แรงงานไทยยังมีปัญหาในด้านคุณภาพ โดยปี 2560 แม้ว่าแรงงานจะมีการศึกษาเพิ่มขึ้น แต่ร้อยละ 62.0 ยังมีการศึกษาระดับมัธยมและต่ำกว่า ขณะที่สัดส่วนแรงงานที่มีอายุ 50 ปีขึ้นมีสัดส่วนร้อยละ 31.7 ซึ่งในกลุ่มนี้จะมีปัญหาในการปรับทักษะการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีระดับสูงในอนาคต

จึงสะท้อนปัญหาทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ