E-DUANG : บทบาท PRA ในฐานะ “กองหนุน”

เหลือบไปเห็นพาดหัวปก “มติชนสุดสัปดาห์” ฉบับใหม่ส่งประกายแว้บ-แว้บมาแต่ไกล

เกม ออฟ PRA

เหนือภาษาอังกฤษที่ว่า PRA มีวรรณยุกต์ + จัตวาประดับให้รู้ว่าควรออกเสียง PRA ว่าอย่างไร

เป็นเสียงที่ใกล้เคียงกับ “ป๋า”

เมื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า “เกม” ก็พอจะเข้าใจว่ารากฐานของพาดหัว “มติชนสุดสัปดาห์”นี้มีความเป็นมาอย่างไร

แน่นอน ย่อมสัมพันธ์กับ”ซีรีส์”ดังของฝรั่ง

เป็นซีรีส์สะท้อนให้เห็นการช่วงชิง “อำนาจ” ในทางการเมือง ในทางการเมืองของ “เจ็ดราชอาณาจักร”

ดุเดือด เข้มข้น

 

จาก “เจ็ดราชอาณาจักร“ย่อมดูดดึงเข้ามาภายในสังคมการเมือง ของประเทศไทยอย่างแน่นอน

เพราะมีภาพใบหน้า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

เป็นภาพ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ วางเรียงเคียงกับหน้าปัทม์ “นาฬิกา”

นี่ย่อมสอดรับกับ “สมัยนิยม”

ไม่ว่า 20 กว่าเรือนที่มีการระบุจะเป็นของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไม่ว่าจะหยิบยืมมาจาก “เพื่อน” ก็ต้องถือว่า”นาฬิกา” ได้กลายเป็นตัวละครสำคัญ

กลายเป็น “เกม” สำคัญในทาง “การเมือง”

เพียงแต่เมื่อ “มติชนสุดสัปดาห์” ระบุอย่างเด่นชัดว่า เป็น เกม ออฟ PRA

สะท้อนว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ คือ “เหยื่อ”

 

คำถามที่ตามมาอย่างฉับพลันก็คือ เมื่อคนระดับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อยู่ในฐานะเป็น”เหยื่อ”ของการเมือง

แสดงว่า PRA คนนั้นย่อมไม่ธรรมดา

เพราะสามารถทำให้ชายชาติทหารจาก”บูรพาพยัคฆ์”อย่าง

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ต้องปวดเศียรเวียนเกล้า

พูดไม่ออก บอกไม่ถูก กระดูกเสือพากษ์ไทย

PRA ท่านนั้นหากเป็น “ทหาร”อก็ต้องเหนือกว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อย่างแน่นอน

ปมเงื่อนอยู่ที่ว่าเหนือกว่าทั้งๆที่เป็น “กองหนุน” หรือเปล่า