E-DUANG :  เงื่อนงำ “ล่อพยัคฆ์ออกจากถ้ำ”

ถือกันว่า “ล่อเสือออกจากถ้ำ” เป็น 1 ใน 36 กลยุทธ์ อันดำเนินไปตามอนุสาสน์ที่ว่า

รอฟ้าให้ลำบาก

ใช้คนให้ล่อหลอก ไปยากก็ลวงให้มา

หนังสือ “36 กลยุทธ์แห่งชัยชนะในการสัประยุทธ์ทุกปริมณฑล” อัน บุญศักดิ์ แสงระวี แปลมาจากภูมิปัญญาแต่โบราณของจีน

อธิบายว่า

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอันเป็นเงื่อนไขตามธรรมชาติ ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่

เพื่อสร้างและเพิ่มความยากลำบากให้ข้าศึก

ใช้ภาพลวงล่อให้ข้าศึกออกจากแนวป้องกัน

 

วลีที่ว่า “ไปยากก็ลวงให้มา” มาจาก”คัมภีร์อี้จิง ยาก” ความว่า”ยาก” คือ ยากลำบาก

อันตรายอยู่ ณ เบื้องหน้า เห็นภัยก็หยุดนับได้ว่า “รู้”

“มา” มีความหมายว่า เคลื่อนย้ายข้าศึกหรือให้ข้าศึกเคลื่อนที่

นั่นก็คือ ในขณะที่กองทัพประจัญหน้ากัน จักรุกเข้าตีข้าศึกที่มีการเตรียมพร้อม

ก็ให้ลำบากนัก

การที่จะเข้าตีจุดแข็งของข้าศึกมิใช่แต่จะชนะได้โดยยาก ซ้ำยังจะเป็นอันตรายแก่ตนอีกด้วย

“ล่อเสือออกจากถ้ำ” ก็คือ กลอุบายที่ล่อหลอกข้าศึกให้ออกมาจากที่ตั้งอันแข็งแกร่ง

แล้วโจมตีทำลาย

ถือกันว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก มักมีผู้นำไปใช้กันอยู่เสมอ

และได้ประสบความสำเร็จตามประสงค์บ่อยครั้ง

 

กลยุทธ์นี้จึงมีผู้สรุปว่า

เมื่อใคร่ทำลายหรือได้ตัวข้าศึกจักต้องรอโอกาสที่เหมาะสมประกอบด้วยเงื่อนไขทางธรรมชาติ

บวกด้วยมาตรการที่คนเราสร้างขึ้น

ถ้าแม้นบุ่มบ่ามเข้าไปในอาณาเขตของข้าศึกอย่างผลีผลามก็มิอาจเห็นตัวข้าศึก ซ้ำยังอาจจะถูกลอบตีในที่ลับอีกด้วย

การใช้อุบายล่อข้าศึกษาออกมาแล้วบดขยี้เสีย จึงควร