ส้ม-แดง สงคราม TOXIC นักวิชาการจุฬาฯ ‘เกษม เพ็ญภินันท์’ ชวนคิดแบบไม่กลัวทัวร์ลง

ผศ.ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นกรณี “สงครามส้ม-แดง” ว่าเป็น toxic ที่สุด ที่ว่า toxic ที่สุด เพราะว่ามันขยายตัวออกจากแคมเปญหาเสียง ก่อนอื่นต้องยอมรับข้อเท็จจริงอันหนึ่งว่าทุกครั้งที่มีการหาเสียง ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ทุกที่บนโลกนี้การโจมตีกันเป็นเรื่องปกติมาก

แต่ทีนี้สิ่งที่มันเกินเลยกับการโจมตีอันนี้ก็คือการสร้างฝักฝ่าย และการไม่ฟังเหตุผลของกันและกัน และการพยายามแก้ต่างในแบบที่มันรุนแรง

สิ่งเหล่านี้แหละที่นําไปสู่ toxic จํานวนหนึ่ง แล้วสุดท้ายมันจะหาทางที่จะหันกลับมาคุยกันยาก

“ผมไม่ปฏิเสธว่าอารมณ์มันไม่สําคัญ และผมคิดว่าการมีอารมณ์มันสําคัญตรงที่ทุกคนได้เห็นถึงการแสดงออกอย่างเต็มที่ แต่ที่ต้องทําคือว่าเราจะก้าวข้ามอารมณ์โดยที่ไม่ไตร่ตรองนี้อย่างไร ด้วยเหตุผลหรือไม่บาลานซ์อารมณ์

อันนี้ต่างหากที่บอกว่ามัน toxic เพราะทั้งคู่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถบาลานซ์อารมณ์และเหตุผล

ยกตัวอย่างเช่นสิ่งที่เกิดขึ้นในทวิตเตอร์ ที่พอบอกว่าคุณทักษิณ ชินวัตร จะกลับบ้าน ฝ่ายหนึ่งก็บอกว่า “โกหกอีกแล้ว”

ในขณะที่บางคนจะบอกว่า “โอ้ย ไม่กลับหรอก มาถึงเดี๋ยวก็หันเครื่องบินกลับ”

expression เหล่านี้ไม่ได้ชั่งด้วยเหตุผลว่ามันเป็นไปได้แค่ไหน และเมื่อมันเป็นไปได้จริง ก็จะมีประเด็นอื่นผุดขึ้นมาอีกเพราะท่าทีเหล่านี้ที่มันเป็น toxic ต่อกัน มันไม่สามารถที่จะคุยกันได้ มันมองไม่เห็นความเป็นภราดรภาพของการอยู่ร่วมกันในสังคม คุณแบ่งแยกกันแค่ไหนคุณก็อยู่ในสังคมเดียวกันนะ

มีคนบอกว่าไม่พอใจ ก็ออกนอกประเทศไปสิ คือเราก็อยู่ร่วมโลกกันนะ คุณอยู่ต่างประเทศคุณก็รับรู้สิ่งที่มันเกิดขึ้นในเมืองไทย มันคือการอยู่ร่วมสังคมการเมืองร่วมโลกกัน มันไม่มีทางไปไหน

แม้ว่าคุณจะไปอยู่ต่างดาว ไปอยู่ดาวอังคาร อยู่บนดวงจันทร์ได้ ตราบใดคุณก็แชร์ความเป็นชุมชนทางการเมืองร่วมกัน แชร์ข้อมูลข่าวสารกัน แล้วมันก็ต้องเกี่ยวเนื่องกัน

เพราะฉะนั้นความมีภราดรภาพระหว่างกันมันควรจะเกิด

แล้วตัวนี้มันจะสลาย toxic โดยยอมรับในแง่ของจุดยืนทางการเมือง

“สําหรับผม การมีส้มมีแดงหรือมีเหลืองไม่สําคัญด้วยซ้ำนี่ คือจุดยืนทางการเมืองที่มันควรจะมีในสังคมประชาธิปไตยแต่ไม่ใช่ว่าใช้จุดยืนทางการเมืองเหล่านี้สร้างความแบ่งแยก ทําลายการแลกเปลี่ยนหรือพูดคุยกันอย่างมีเหตุเป็นผลหรือพูดคุยทั้งอารมณ์และเหตุผลร่วมกันอันนี้คือสิ่งที่ขาดหายในวุฒิทางการเมืองในแบบสังคมประชาธิปไตยของสังคมไทย”

 

รัฐบาลสลายขั้ว

ผมไม่ได้คิดว่าสลายขั้วหรือไม่ได้คิดว่าข้ามขั้ว นี่คือวิถีของรัฐบาลผสมทุกประเทศในโลกนี้

นี่คือวิถีโดยธรรมชาติ เพราะคุณไม่สามารถหาจํานวนอื่นใดที่นอกเหนือจาก 500 ที่นั่งได้ ดังนั้น คุณจําเป็นที่จะต้องดึงพรรคการเมืองที่สามารถทํางานร่วมกับคุณได้

ซึ่งหลายครั้งพรรคการเมืองที่ทํางานร่วมกับคุณได้ อาจจะไม่ได้อยู่ในชุดอุดมการณ์ ไม่ได้อยู่ในชุดจุดยืนทางการเมือง แต่คําถามคือว่าเมื่อมาเป็นรัฐบาลแล้ว ก็ต้องอยู่ในกฎกติกาบรรทัดฐานที่เป็นประชาธิปไตย คือทําหน้าที่ตามที่คุณสัญญากับประชาชน ทํานโยบายที่คุณต้องทํา

ขณะเดียวกันคุณก็ถูกตรวจสอบและถ่วงดุลจากฝ่ายค้าน

สําหรับผมนี่คือเรื่องปกติมาก แต่สิ่งที่มันไม่ปกติหรือว่าสิ่งที่มันถูกผลักออกไป ใน 2 เรื่อง ผมคิดว่ามันกลายเป็นสิ่งที่ย้ำซ้ำๆ ถึงตัวหลักการและความเข้าใจพื้นฐาน ของการจัดตั้งรัฐบาลผสมนั่นก็คือเรื่อง ของอารมณ์ความรู้สึก

ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกก็คือการเรียกร้องความเป็นธรรมเรียกร้องความยุติธรรมที่เกิดขึ้นกับเรื่องของสัจจะ เรื่องของการตระบัดสัตย์ เรื่องของการฉีก mou คือต้องแยกแบบนี้

ตัวกติกาของรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่เป็นธรรม แต่เมื่อทุกคนอยู่ในกติกา ในเมื่อลงแข่งขันถึงให้กติกาไม่เป็นธรรมยังไง อย่างน้อยความเป็นธรรมอย่างหนึ่งที่มีก็คือทุกคนยังอยู่ในกติการ่วมกัน ทุกคนแข่งภายใต้กติกาเดียวกัน ถึงแม้ว่ากติกามันจะไม่ได้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย

แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ทุกคนยังอยู่ในกติกาอันนั้น ไม่เปลี่ยนแปลงและพยายามที่จะเล่นในกติกานั้น อย่างน้อยความเป็นธรรมเบื้องต้นมันมี เพราะทุกคนยังอยู่ในกติกาเดียวกันอยู่

นั่นคือสิ่งหนึ่งที่คนรู้สึกกับตัวกติกาไม่ได้รู้สึกกับกระบวนการเลือกตั้ง

ดังนั้น พอทุกคนรู้ว่า ถ้าจะชนะในกติกานี้ที่ไม่เป็นธรรมคุณจะต้องได้เสียงเกิน 376 เพื่อที่จะไม่พึ่งพิงเสียงของ ส.ว. ในการจัดตั้งรัฐบาลมันจึงจะเป็นไปได้มากที่สุด

ดังนั้น แคมเปญของก้าวไกลและแคมเปญของเพื่อไทยเราจะเห็นทันทีเลยว่า ทั้งคู่มียุทธศาสตร์ร่วมกัน และแยกพื้นที่ของโหวตเตอร์ เป้าหมายก็คือเพื่อที่จะชนะ ในกติกาที่ไม่เป็นธรรมอันนี้ให้ได้

ส่วนที่สองเราพูดถึงสิ่งที่เรียกวว่าสัจจะ-สัตยาบัน ทั้งสองพรรคทั้งก้าวไกลแล้วก็เพื่อไทยจําเป็นจะต้องทําตามที่สัญญาไว้กับประชาชน ทําตามภารกิจที่ตัวเองคิดมาจัดตั้งรัฐบาล

โจทย์เดิมก็คือว่าก้าวไกลไม่ประสบความสําเร็จด้วยกติกาแบบนี้ แล้วให้เพื่อไทยทําบ้าง ซึ่งสิ่งที่เพื่อไทยทําก็คือทําทุกอย่างที่จะจัดตั้งรัฐบาลให้ได้

สําหรับผมคิดว่านี่คือวิถีทั่วไป แต่สําหรับที่มันเกิดขึ้นในเรื่องของ emotion ความรู้สึกต่างๆ เหล่านั้น เวลาเราพูดถึงโลกของการเมืองมันไม่เคยมีอะไรที่อยู่นิ่ง มันคือโลกของการเปลี่ยนแปลงและทุกอย่างมันสามารถปรับเปลี่ยนมีอะไรเกิดขึ้นได้เสมอ ทุกอย่างเป็นไปได้หมดในโลกการเมือง คือความจริงทางการเมืองมันอยู่ที่ว่าคุณยึดอะไรเป็นความจริงที่เที่ยงแท้หรือสมบูรณ์ว่า ถ้าออกมา แบบนี้ ต้องได้อย่างนั้น แต่มันเป็นความจริงที่เกิดขึ้น บนพื้นฐานของ การปรับร่วมกับความเปลี่ยนแปลง

สําหรับผมการที่เพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ผมไม่ได้คิดว่า เขาทําผิดหลักการประชาธิปไตย หลักการของการได้เสียงข้างมาก แต่วิถีทางที่เขาทําหรือเรื่องของจริตต่างๆ อันนั้นเป็นสิ่งที่เราตั้งคําถามได้

แต่ถ้ากลับมาคิดในเรื่องหลักการตรงๆ ผมคิดว่า มันไม่ fair ที่จะไปไปโจมตีเพื่อไทยอย่างงั้น

แต่ขณะเดียวกันสิ่งที่เพื่อไทยทําก็ไม่แฟร์กับประชาชน โดยเฉพาะความไม่สามารถสื่อสารเป้าหมายและทิศทางของพรรคการเมืองของตนเองต่อสาธารณชนได้นี่คือปัญหาที่ไม่แฟร์กับประชาชนของเพื่อไทย

เรียกร้องหาวุฒิภาวะ

สิ่งที่เกิดขึ้นในการเมืองไทยหลังเลือกตั้งเป็นความโกลาหล เรารู้ว่าเมื่อก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาลเราก็คาดหวังว่า ส.ว. จะยกมือให้เพราะ ส.ว. เคยบอกว่าพรรคที่ได้เสียงข้างมากพรรคที่สามารถที่จะฟอร์มจัดตั้งรัฐบาลโดยหลักการ ส.ว. จะยกให้

ทีนี้มันก็มีประเด็นบางอย่างที่คัดง้างเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมาตรา 112 ทุกคนพยายามใช้อํานาจที่ตนเองมีอยู่ แสดงพลังของตัวเองหมด มันก็ทําให้ทุกอย่างเริ่มอลเวงเกิดขึ้น

กรณีของคุณทักษิณก็เช่นกันผมไม่อยากไปสนใจเรื่องของดีลลับอะไร เหล่านั้น ถึงแม้ว่ามันมีอยู่จริงอะไรคือเครื่องพิสูจน์ อะไรคือหลักฐาน การที่คน 2-3 คนออกมาพูดว่า โอ้มันมีดีลลับอย่างงั้นแล้วทุกคนเชื่อในการอธิบายต่อสาธารณชนในการทํางานทางวิชาการเราทําไม่ได้ ด้วยจรรยาบรรณของนักวิชาการ จรรยาบรรณในการถ่ายทอด

แต่สิ่งเดียวที่ทําได้ก็คือความเป็นไปได้ทั้งหมดมันมีเหตุและผลต่อกันอย่างไร แบบนี้ทําได้

ผมไม่ปฏิเสธว่าการกลับบ้านของคุณทักษิณเนี่ยมันเกี่ยวข้องกับเรื่องของการจัดตั้งรัฐบาลแต่ผมก็ไม่สามารถที่จะบอกได้ว่ามันเกี่ยวข้องกันมากน้อยขนาดไหนเพราะเราไม่มี

สิ่งที่พิสูจน์ถึงรายละเอียดตรงนั้นได้เมื่อเป็นรัฐบาล เมื่อการจัดการคืนความเป็นธรรมให้คุณทักษิณมันถูกต้องและชอบธรรมหรือเปล่าถ้าถูกต้องและชอบธรรมก็ยอมรับได้ แต่ถ้าไม่ถูกต้องและชอบธรรมแน่นอนสิ่งที่เราจะต้องตั้งคําถามกลับวิพากษ์วิจารณ์กลับ หรือตรวจสอบการทํางานตรงส่วนนี้

อันนี้คือสิ่งที่เราทําได้มากที่สุดและถูกต้องที่สุด ไม่ใช่มาบอกว่าว่ามีข่าวลือ เขามีดีลลับอย่างงั้น เขาพูดว่าอย่างงี้ ทุกคนมีเรื่องมาแฉ

ผมคิดว่า วุฒิภาวะทางการเมืองของในสังคมไทยมันควรจะขยับออกจากเรื่องพวกนี้ มาดูซิว่าขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ เราสามารถเข้าไปตรวจสอบความโปร่งใสขั้นตอนเหล่านี้ โดยเปิดสู่สาธารณะได้ยังไงมันจะทําให้ ตัวประชาธิปไตยเรียกศรัทธา เรียกความเป็นธรรมให้กับ ระบบการเมืองได้ คืนสิ่งเหล่านี้ให้กับประชาชน ให้ศรัทธาต่อประชาธิปไตย-รัฐบาลได้มากขึ้นอันนี้คือสิ่งที่เราทําได้มากที่สุด

 

ไม่กลัวทัวร์ลง?

ไม่กลัว ผมคิดว่าผมพูดในสิ่งที่ผมอยากจะพูดผมไม่ต้องการทําตัวเองเป็นโฆษกของพรรคการเมืองกลุ่มการเมืองกลุ่มก้อนใด ผมพูดจากบรรทัดฐานทางการเมืองที่ควรจะเป็นและบรรทัดฐานอันนี้มันจะทําให้เราอยู่ร่วมกันอย่างอย่างปกติสุข

ผมเรียกร้องการวิพากษ์วิจารณ์ผมเรียกร้องกระบวนการตรวจสอบ ผมสนับสนุนพรรคการเมืองที่ทําหน้าที่เหล่านี้ ผมสนับสนุนพรรคการเมืองที่มีนโยบายที่เป็นประโยชน์กับประชาชน

ผมไม่เห็นด้วยกับอํานาจเผด็จการ แต่ผมก็ต้องยอมรับเมื่อคนเหล่านั้นเข้ามาอยู่ในกระบวนการประชาธิปไตยแต่เขาอาจจะไม่ได้เลือกหรือเทคจุดยืนสนับสนุนเขาแน่นอน

แต่ผมเชื่อว่านี่คือคุณสมบัติที่ดีที่สุดของประชาธิปไตยที่โอบรับเขาเข้ามาและทําให้เขา อยู่ร่วมกับเราเราไม่สามารถที่จะกําจัดเผด็จการออกไปจากสังคมการเมืองได้

แต่ทางที่ เขาอยู่ร่วมกับเราภายใต้บรรทัดฐานประชาธิปไตยที่เขาไม่สามารถล่วงละเมิดได้นั้นต่างหากนั่นคือวิธีที่ดีที่สุด

นี่คือวิธีทําให้อํานาจเผด็จการค่อยๆ ลดลงไปบนบรรทัดฐานประชาธิปไตย