บทเรียนสงครามเย็นกับห่วงโซ่อุปทานโลก

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

โลกทรรศน์ | อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

 

บทเรียนสงครามเย็นกับห่วงโซ่อุปทานโลก

 

ดูเหมือนโลกกำลังเผชิญกับความขัดแย้งระหว่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง ด้านความมั่นคงทางทหารและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจควบคู่กันไป

หนังสือพิมพ์ South China Morning Post รายงานว่า จากเอกสาร Global Development Initiative (GDI) และ Global Security Initiative (GSI) ของรัฐบาลจีนเสนอข้อเสนอต่างๆ มากมายให้แก่ประเทศเศรษฐกิจใหญ่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างอินโดนีเซีย

แต่อินโดนีเซียระมัดระวังเสียงเรียกร้องจากข้อเสนอมากมายของทางการจีน

อินโดนีเซียกังวลไม่เพียงแค่ยุทธศาสตร์และโครงการหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road-BRI) ที่จีนทำกับอินโดนีเซีย

ผู้นำอินโดนีเซียกังวลต่อความไม่ยั่งยืนของการปล่อยเงินกู้โครงการ และปัญหาที่ยังเหลืออยู่บริเวณรอบๆ พื้นที่ที่จีนอ้างแล้วเป็นความขัดแย้งในทะเลจีนใต้1

ความจริงแล้ว Global Development Initiative เป็นข้อเสนอที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนเสนอในที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ (United Nation General Assembly – UNGA) ในเดือนกันยายน 2021 ที่ทางการจีนหนุนประเทศเศรษฐกิจใหม่ ในการลดปัญหาความยากจน ส่งเสริมด้านสาธารณสุข การพัฒนายั่งยืน

ในขณะที่ผู้นำอินโดนีเซียกังวลในปัญหาหนี้สิน ความยั่งยืนของการพัฒนา ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการพัฒนาและห่วงใยต่อสันติภาพในทะเลจีนใต้

อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งและการเผชิญหน้าระหว่างกัน กำลังเปลี่ยนรูปแบบจากประเด็นหนี้สิน ความไม่ยั่งยืนของการพัฒนาและสันติภาพในทะเลจีนใต้ ไปสู่รูปแบบสงครามเย็น (Cold War) นั่นคือ กรณีบอลลูนสายลับ (Spy Balloon) ที่สื่อบางแขนงเทียบเคียงบทเรียนสงครามเย็น คล้ายวิกฤตการณ์คิวบา (Cuba crisis) ปี 1962 หรือคล้ายกรณีเครื่องบินสายลับสหรัฐอเมริกาตกลงหลังปะทะกับเครื่องบินจีนในปี 20012

เรื่องบอลลูนสายลับจีน ไม่ใช่เรื่องตลกของคนอเมริกัน คนอเมริกันทั่วไปคิดว่า การคุกคามจากจีนเห็นได้ทันที3

 

จากบอลลูนสายลับสู่ห่วงโซ่อุปทานโลก

บอลลูนสายลับจีนได้ปลุกกระแสความไม่พอใจของคนอเมริกันในหลายระดับพร้อมๆ กัน

ที่น่าติดตามมากคือ กระแสชาตินิยม (Nationalism) อเมริกันนิยม (Americanization) ลัทธิกีดกันทางการค้า (Protectionism) ห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain) ที่เป็นพลังขับเคลื่อนความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยเฉพาะชาติมหาอำนาจทั้ง 2 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกาและจีน

ในขณะที่ได้ร้อยรัดความขัดแย้งของเครือข่ายและพันธมิตรในระเบียบโลกที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและจีนพยายามสร้างอำนาจนำ

น่าสังเกตว่า แม้มีความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจทั้งสอง แต่การค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนกลับเติบโตต่อเนื่อง โดยทำสถิติใหม่ในปีที่แล้ว

จากข้อมูล 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มูลค่าการค้าสูงถึง 690.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

การค้าของทั้ง 2 ประเทศแสดงให้เห็นว่ามีความผสานเข้าด้วยกันระหว่างสองประเทศ

แม้เป็นเช่นนี้ แต่กรณีบอลลูนสายลับจีน ได้ปลุกกระแสความไม่พอใจของคนอเมริกันทั่วไป แล้วไปสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักการเมืองทั้ง 2 พรรค ทั้งจากพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครต

ส.ส.พรรครีพับลิกัน รัฐเท็กซัส Chip Roy ได้เสนอกฎหมาย BEAT CHINA Act โดยขยายฐานภาษี มีการตั้งเป้าจากความได้เปรียบด้านภาษีของสหรัฐอเมริกา สนับสนุนการย้ายโรงงานอุตสาหกรรมของนักลงทุนชาวอเมริกันกลับมาเปิดโรงงานในสหรัฐอเมริกา

ทั้งหมดนี้ เพื่อลดการพึ่งพาเกินไป (Over dependence) ของอุตสาหกรรมสหรัฐอเมริกาต่อเศรษฐกิจจีน

ส.ส.ของพรรคท่านนี้เห็นว่า การพึ่งพาเกินไปต่อจีน เป็นภัยคุกคามต่างประเทศใหญ่ที่สุด (greatest foreign threat) ต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ส.ส.ท่านนี้เห็นว่า

“…ตราบเท่าที่สหรัฐอเมริกาและทั่วโลกพึ่งจีน เท่ากับโครงสร้างพึ่งพานี้ ดึงเอาความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของเรา เสรีภาพทางการเมืองของเรา และความมั่นคงแห่งชาติของเรา เป็นอันตรายร้ายแรง”4

 

จุดเปลี่ยนสำคัญ

หากจะวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่นักการเมืองอเมริกันมองเป็นโอกาสสำคัญ เพื่อลดระดับการพึ่งพาจีนลง

น่าเกิดขึ้นจากห่วงโซ่อุปทานโลกเกิดดิสรัปต์ (disrupt) อันเป็นผลมาจากโรคระบาดโควิด-19 ในปี 2020

จะเห็นได้ว่า จีนยึดครองการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของโลก จนเกิดการขาดแคลนผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก อันเป็นความเสี่ยงด้านความมั่นคงแห่งชาติ

ครั้นเมื่อเกิดโรคโควิด-19 ระบาดในจีน แล้วรัฐบาลจีนล็อกดาวน์เมืองสำคัญ พร้อมออกนโยบาย Zero Covid-19 จนกระทั่งการผลิตสินค้าและบริการหยุดนิ่ง เป็นอันตรายต่อห่วงโซ่อุปทานร้ายแรง5 มีผลต่อบริษัทคู่แข่งของจีน แล้วเป็นที่มาของการย้ายฐานการผลิตของบริษัทสัญชาติอเมริกันคือ บริษัท Microsoft และบริษัท Apple ออกจากจีน

กฎหมาย BEAT CHINA Act มีผู้ร่วมเสนอคือ ส.ส.พรรครีพับลิกัน Dan Bishop (R.N.C), Paul Gosar (R. Arizona) และ Badin (R. Texas) และด้วยความสนับสนุนจากกลุ่มเคลื่อนไหวกลุ่มต่างๆ ได้แก่ FreedomWorks และ National Taxpayers Union พร้อมเกิดการเคลื่อนไหวของจีนที่ไม่ปลอดภัย ท่ามกลางความสัมพันธ์ทางการทูตที่ลดระดับลงเรื่อยๆ

เหตุการณ์บอลลูนสายลับที่สหรัฐอเมริการะบุออกมา เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์การสอดแนมของจีน ที่ขยายตัวออกไปทั่วโลก ยังเป็นการรณรงค์จาก ส.ส.จากทั้ง 2 พรรค ทั้งเดโมแครตและรีพับลิกัน

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริการับรองอย่างเป็นเอกฉันท์ ต่อข้อสรุปให้ประณามการใช้บอลลูนสอดแนมที่เก็บยึดโดยหน่วยงานราชการลับสหรัฐอเมริกา และต่อมารัฐบาลจีนปกปิดการปฏิบัติการดังกล่าว

 

กฎหมาย BEAT CHINA Act

ข้อเสนอกฎหมายของ ส.ส. Chip Roy โรงงานอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา นักลงทุนอุตสาหกรรมชาวอเมริกันและนักลงทุนที่มีคุณภาพ สามารถได้รับรางวัลพึ่งประเมิน ให้ทำการซื้อทรัพย์สินบุคคลที่ไม่ได้อยู่อาศัยถาวร (non residential property) ในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 20 ปี แทนที่จะเป็นต้องมีระยะอยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกานาน 39 ปี

หมายความว่า ทำให้นักลงทุนมีความสามารถและทำได้เต็มที่ในการซื้อทรัพย์สินจากทรัพย์สินของบุคคลที่ไม่ได้อาศัยถาวรได้เร็วและง่ายขึ้น เท่ากับจูงใจให้นักลงทุนอยู่ในสหรัฐอเมริกาสามารถซื้อกิจการของนักลงทุนต่างประเทศได้ง่ายขึ้น แล้วยังเป็นการจูงใจต่อนักลงทุนอเมริกันย้ายฐานการผลิตกลับมาที่สหรัฐอเมริกา เพราะสามารถซื้อทรัพย์สินได้ไวขึ้น

ในกฎหมายฉบับดังกล่าว ยังมีข้อเสนอด้านภาษี อนุญาตให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ย้ายเข้ามาสหรัฐอเมริกา ไม่ต้องนับรวม (exclude) รายได้รวมทั้งหมด รวมเป็นทรัพย์สินจากประเทศที่ย้ายมาเอาไว้ในพินัยกรรม โดยให้เงื่อนไขก่อนสำหรับบริษัทต่างๆ ที่ยังคงมีการผลิตบางส่วนเหมือนกับที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทต่างประเทศที่พวกเขากำลังจะย้ายมา

ตามความคิดเห็นของ ส.ส.ที่ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ นี่เป็นการยุติการพึ่งพาทางเศรษฐกิจต่อประเทศที่เป็นศัตรูของสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ ยังมีความพยายามออกกฎเกณฑ์เรื่องการจ้างงานของบริษัทอุตสาหกรรมอเมริกันให้เป็นแพลตฟอร์มใหญ่ที่สุดของรัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน

นั่นคือ กฎหมาย Chip Act ที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ลงนามเป็นกฎหมายเมื่อเดือนสิงหาคม 2022 ซึ่งจัดให้มีเงินทุนมูลค่า 280 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อใช้เร่งการผลิตชิ้นส่วน Semiconductor ภายในประเทศ

สำหรับคนอเมริกัน ความกังวลใหญ่ที่มากกว่าสายลับและการสอดแนมของต่างชาติคือ การพึ่งพามากเกินไปต่อเศรษฐกิจจีน

1Muhammad Zuefikar Rakhant and Yeta Purnama, “Why Indonesia is wary of China’s new development, security initiative”, South China Morning Post, 12 February 2023.

2“Cold-War Lessons from China’s spy balloon” The Economist, 11 February 2023.

3Ibid.,

4Eva Fu, “Rep. Chip Roy to Roll Out Bill Aimed at Cutting Manufacturing Reliance on China” The Epoch Times, 9 February 2023.

5Alex Wu, “Massive Covid Surge Across China Sparks Global Concern Over Virus Mutation, Supply Chain Breakdown”, The Epoch Times 22 December 2022.