เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ : เรื่องที่ “ผู้นำเมือง” ต้องสนใจ

เริ่มชั่วโมงแรกของเดือนมีนาคม ผู้บรรยายให้ความรู้คือ ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ประธานสภาธุรกิจกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง รองประธานหอการค้าไทย และอีกหลายตำแหน่ง เรื่อง “บทบาทประเทศไทยในฐานะผู้นำในกลุ่มอาเซียน กับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ”

การบรรยายแบ่งเป็นหัวข้อ เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงในอาเซียน ในบริบทของประเทศไทย ตั้งแต่

1. วิวัฒนาการของอาเซียน ประกอบด้วยทางการเมืองถึงเศรษฐกิจ บทเรียนจากอาเซียน และ 3 เสาหลักจากปี 2016

2. ASEAN + 3 to ASEAN + 6 มีการสร้างความยอมรับของ ASEAN + 6 : RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) อาเซียนในฐานะจุดเชื่อมระหว่าง East Asia และ South Asia กับ Central Asia ทั้งมาตรการที่จะไม่ให้ ASEAN กลับไปเน้นเรื่องการเมือง

3. ความเชื่อมโยงในภูมิภาคแบบบูรณาการสำหรับประเทศไทย คือ ความเชื่อมโยงของอาเซียน จากหลังสู่หน้า บทบาทของประเทศไทยใน Continental ASEAN : GMS + CHINA และยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการที่จะเป็นจุดเชื่อมสำคัญของอาเซียน

4. ปัญหาหลักของอาเซียนในปัจจุบัน คือการขยายอิทธิพลของประเทศจีนและบทบาทของไทยในฐานะ Honest Broker ASEAN กับ TPP และ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

5. ประเทศไทยและอาเซียน ใน ค.ศ.2036 คือ อาเซียนในฐานะผู้นำการพัฒนาเศรษฐกิจ PAN ASIA – PACIFIC ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ความเป็น Supra national ของอาเซียน และการสนับสนุนของประเทศไทย

ถัดจาก ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ พักกาแฟ ถึงรายการของ ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม บรรยายในหัวข้อ “แผนการจัดการกากอุตสาหกรรม”

ดร.จุลพงษ์ บอกว่า หน่วยงานที่กำกับดูแลในเรื่องนี้ ประกอบด้วยกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สองหน่วยงานแรก กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบทั่วประเทศ มีสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เป็นหน่วยงานดูแลโรงงานในแต่ละจังหวัด ส่วนการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดูเฉพาะพื้นที่มีนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งมีไม่มากพื้นที่ เช่น ในกรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ชลบุรี เป็นต้น

ปัญหากากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรม ดังที่เราทราบดี ผู้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นคือโรงงานอุตสาหกรรม หลายครั้งบอกว่ามีกากอุตสาหกรรม แต่ทางโรงงานบอกว่าไม่มีกากปนเปื้อน ทั้งยังไม่ค่อยเอาใจใส่ดูแล หรืออาจนำไปบำบัด หรือขจัดบางส่วน บางครั้งทิ้งส่งๆ ให้ใครก็ได้เอาไปที เป็นการปัดขยะให้พ้นตัว หรือเป็นการซุกขยะใต้พรม ดังเกิดกรณีกากปนเปื้อนขึ้น

การนำกากอุตสาหกรรมไปทิ้ง ปัญหาเกิดจากผู้ขนส่ง ตั้งแต่รถที่ใช้ขนส่งไม่ปลอดภัย สภาพรถไม่เหมาะสมที่จะขนนำไปทิ้ง รวมถึงการขนไปทิ้งไม่ถึงที่ ทิ้งก่อนถึงที่ทิ้ง มีการใช้อิทธิพล สุดท้ายคือไม่ได้รับอนุญาตให้ขนไปทิ้งก็มี

จากนั้น เป็นส่วนของผู้รับกำจัด อาจจะไม่สามารถนำไปบำบัดได้ แต่ขอรับเอาไว้ก่อน หรือไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ แต่จะทำ เพราะได้รับค่าจ้าง

รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมบอกถึงการแบ่งโรงงานออกเป็น 3 พวก ได้แก่

โรงงานที่ประกอบกิจการได้ทันที

โรงงานที่ต้องแจ้งให้ทางราชการทราบก่อน

และโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้

หน้าที่ของโรงงานที่ประกอบการมีกากปนเปื้อน ต้องขอความเห็นชอบ และมีรายงาน สก. 5

ต้องขออนุญาตเก็บเงิน 90 วัน (สก. 1)

ขออนุญาตนำกากปนเปื้อนออกนอกโรงงาน (สก. 2) และการแจ้งขนส่ง รายงาน สก. 3

กรมโรงงานมีแผนจัดการกากอุตสาหกรรม พ.ศ.2558-2562 เป็นยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การควบคุม กำกับดูแล และการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังกับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความร่วมมือและแรงจูงใจกับผู้ประกอบการ และประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย เพื่อติดตามผู้กระทำผิด และอำนวยความสะดวกให้ผู้ปฏิบัติตามกฎหมายตัวชี้วัด

1. โรงงานจำพวกที่ 3 เข้าสู่ระบบ (แจ้งขนส่ง) เฉลี่ยปีละ 12,500 โรงงาน ต่อเนื่อง 5 ปี

2. กากอันตรายเข้าสู่ระบบการจัดการที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้น 0.36 ล้านตันต่อปี

3. กากไม่อันตรายเข้าสู่ระบบการจัดการที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้น 4.47 ล้านตันต่อปี

นอกจากนั้น ยังมีแผนจัดการกากอุตสาหกรรม เป้าหมายหลัก 5 ปี (พ.ศ.2558-2562)

– เร่งรัดโรงงานจำพวกที่ 3 จำนวน 68,000 โรง เข้าสู่ระบบไม่น้อยกว่า 90%

– เร่งรัดให้มีปริมาณกากอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบไม่น้อยกว่า 90%

– ติดตั้งระบบ GPS กับรถขนส่งกากอันตราย (พัฒนาระบบ – Hardware และ Software – เสร็จแล้ว, ทดสอบระบบเดือนมกราคมถึงมิถุนายนนี้, ออกระเบียบ/ประกาศเกี่ยวกับการติดตั้งและการรายงาน, คาดว่าจะบังคับใช้เดือนกรกฎาคมนี้)

– เข้มงวดกับโรงงานที่ลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม และไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งเพิ่มบทลงโทษจากปรับเพียงอย่างเดียว เป็นทั้งปรับทั้งจำ

– ศึกษาพื้นที่รองรับกากอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 6 แห่ง

– ส่งเสริมให้เกิดเตาเผา (กากอุตสาหกรรมกับขยะชุมชน) ที่ผลิตไฟฟ้าได้

– จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือและติดตามการต่ออายุโรงงานตามกรอบเวลาของแผนฯ (พ.ศ.2559-2560)

เรื่องของโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะที่มีกากอันตรายนับวันจะแผ่ขยายออกไปในแต่ละจังหวัดมากขึ้น ดังนั้น ความรู้เรื่องนี้จึงจำเป็นสำหรับผู้บริหารและผู้นำเมืองอย่างมาก โปรดให้ความสนใจ