อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : ปักกิ่ง วอชิงตัน กรุงเทพฯ

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์
Chinese President Xi Jinping (R) shakes hands with US Vice President Joe Biden (L) inside the Great Hall of the People in Beijing on December 4, 2013. Biden arrived in Beijing to raise concerns over a Chinese air zone ramping up regional tensions, looking to bolster ties while also underscoring alliances with Tokyo and Seoul. His trip follows weeks of furore after Beijing declared an "air defence identification zone" (ADIZ) covering East China Sea islands disputed with Japan. AFP PHOTO / POOL (Photo credit should read LINTAO ZHANG/AFP via Getty Images)

ท่ามกลางความยินดีเมื่อโจ ไบเดน ชนะเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่

สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ฉันทานุมัติระบบสองพรรคการเมือง (bipartisan consensus) ของสหรัฐกลับมาสู่ประเด็นเรื่องจีน

จีนเป็นคู่แข่งทางยุทธศาสตร์ (strategic competitor) หรือแม้แต่จีนเป็นศัตรูของสหรัฐ มากไปกว่านั้น คณะผู้บริหารของไบเดนได้กดดันต่อจีนให้ต่อต้านสหรัฐ และต้องมองสหรัฐอย่างรอบด้าน เพราะประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐจะต้องทำให้ประเด็นเรื่องจีนมีความเหนียวแน่นและให้มีความต่อเนื่องเมื่อเขาก้าวเข้าสู่กระบวนการกำหนดนโยบาย และในเวลาเดียวกัน ต้องประสานความร่วมมือการบริหารกับจีนร่วมกับประเทศพันธมิตรของสหรัฐ

แต่ไม่ได้หมายความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนจะยังคงตกต่ำต่อไปด้วยแนวทางใดๆ ก็ตาม

ตรงกันข้าม โจ ไบเดน ได้ให้โอกาสที่ทรงคุณค่า ก่อเสถียรภาพความสัมพันธ์ทวิภาคีจากแง่มุมมองระดับโลก

 

ล้มลัทธิทรัมป์ (de-Trumpism)

เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคนโยบายต่างประเทศไบเดน โดยเฉพาะเราสามารถคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานบางอันในนโยบายหลักของสหรัฐ ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นโยบายไม่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (nonproliferation of nuclear weapons) การควบคุมโรคระบาดใหญ่โควิด การค้าระหว่างประเทศและเสถียรภาพทางการเงิน

ไม่ต้องประหลาดใจที่จะเห็นคณะบริหารของไบเดนกลับมาพิจารณาอีกครั้งหรือกลับเข้าไปอีกครั้งในความตกลงปารีสด้านสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement on Climate) กรอบเจรจานิวเคลียร์กับอิหร่าน การจัดแนวทางใหม่อีกครั้งต่อองค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) จัดแนวทางใหม่ต่อองค์การการค้าโลก (World Trade Organization-WTO) ซึ่งในยุคทรัมป์เคยต่อต้านอย่างสำคัญ

คณะผู้บริหารไบเดนต้องเข้าผูกพันอีกครั้งอย่างแข็งขันกับกลุ่มเศรษฐกิจโลกใหญ่อื่นๆ ในสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น เพื่อเจรจากรอบการค้าและการลงทุนใหม่ ในทุกอาณาบริเวณเหล่านี้ จีนสามารถและควรแสวงหากรอบพื้นฐานที่เหมือนกันกับทางการสหรัฐ

 

ระบอบเอกนิยม (Unilateralism)

โจ ไบเดน จะยอมละทิ้งระบอบเอกนิยม ไม่เพียงเพราะระบอบนี้ได้ทำลายล้างสาหัสต่อจุดยืนของสหรัฐ

ทว่ายังเพราะว่า ระบอบพหุนิยม (Mulitlateralism) มีความจำเป็นที่สุด

ถ้าสหรัฐฟื้นฟูและรักษาระบบพันธมิตรที่สำคัญภายใต้การนำของสหรัฐ

ทั้งสหรัฐและจีนต่างเชื่อมโยงระหว่างกันไปมาอย่างเปลี่ยนแปลงไม่ได้ในโลกเดียวกัน

แม้ว่าคู่แข่งทางยุทธศาสตร์ยังเกิดขึ้นไม่หยุดยั้งระหว่างทั้งสองประเทศ

 

โลกกับความเสี่ยง

ระบบโลกกำลังเผชิญหน้าความเสี่ยงเศรษฐกิจล้มละลาย หรืออย่างน้อยเศรษฐกิจถดถอย เพราะผลกระทบในปริมาณมหาศาลที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนจากโรคระบาดใหญ่โควิด

ได้มีการใส่เม็ดเงินจำนวนหลายๆ หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเข้าไปในตลาด เพื่อป้องกันการพังทลายของตลาด

ตอนนี้ทั้งปักกิ่งและวอชิงตันสามารถค้นหาพื้นฐานร่วมเพื่อรักษาเสถียรภาพการเงินโลก อีกทั้งอภิมหาโกลาหลที่อาจจะเกิดขึ้นมีผลต่อ ทั้งปักกิ่งและคู่ค้าใหญ่ที่สุดในโลก

ส่วนสหรัฐเสถียรภาพทางเศรษฐกิจนำมาซึ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

ผลประโยชน์ของทั้งปักกิ่งและวอชิงตันที่สร้างกลไกสำคัญเพื่อบริหารวิกฤตการณ์เพื่อหาทางออกในช่วงเวลานี้ เช่น ทะเลจีนใต้ (South China Sea) ช่องแคบไต้หวัน (Taiwan Strait) เพื่อป้องกันความตึงเครียดจากการทะยานขึ้นจนเกิดความขัดแย้งอันตรายต่างๆ

ประเด็นที่ควรเตรียมการในอนาคต มีความสำคัญแต่ทว่าไม่อาจให้ความสำคัญกับคณะผู้บริหารของไบเดนได้คือ การสร้างกรอบนโยบาย นิยามที่ชัดเจนต่อจีนก่อนที่จะมีการเลือกตั้งครึ่งเทอม (midterm election) ในปี 2022

คณะผู้บริหารไบเดนกำหนดประเด็นวาระต่างๆ ทันทีทันใด จะรวมทั้งการสนับสนุนความสมานฉันท์แห่งชาติ (national reconciliation) ที่เกิดการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่ายขึ้นอย่างลึกซึ้งและมีอารมณ์รุนแรง (emotion) ในช่วงเลือกตั้ง เข้าสู่การควบคุมโรคระบาดโควิด กระตุ้นเศรษฐกิจให้แยกตัวออกจากปัญหาโรคระบาดใหญ่โควิด เสริมสร้างความเหนือกว่าของพรรคเดโมเครต

โดยมีเป้าหมายเพื่อชนะอย่างสำคัญในการเลือกตั้งครึ่งเทอมในปี 2022 เป็นต้น

 

กรุงเทพฯ

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็วนี้ ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหรัฐกล่าวโดยย่อๆ เกิดจากโรคระบาดใหญ่โควิดได้เปิดเผยความเสื่อมถอยของประชาธิปไตย ระบบการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law) สิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชนในประเทศต้นแบบประชาธิปไตยสหรัฐอเมริกา

คำถามต่อประชาธิปไตยสหรัฐอเมริกากระแทกลัทธิทรัมป์

แล้วความล้มเหลวด้านการจัดการโรคระบาดใหญ่โควิดของลัทธิทรัมป์ก็สะท้อนคำถามต่อประชาธิปไตยสหรัฐอเมริกาไปในตัว

ที่บ้านเรา ประเด็นการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศเวลานี้ไม่ใช่ทฤษฎีสมคบคิดจากชาติตะวันตก

ไม่ใช่การสมคบคิดของฝ่ายการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม

สำหรับผมมีเป็นประเด็นภายในใน 2 ประเด็น

ประเด็นแรก ปัญหาภายใน (domestic issue) คือ ความเปลี่ยนแปลงและกาลเวลา โรคระบาดใหญ่โควิดเพียงแค่เข้ามาเปิดเผย ประชาธิปไตยจอมปลอม ทว่าผู้เปลี่ยนแปลงหลัก หรือ Change Agent คือ นักเรียนเลว (Bad Students)

ควรยอมรับว่า นักเรียนเลวต่างเป็นห่วงอนาคตของประเทศไทยซึ่งคนรุ่นเขาจักต้องเดือดร้อนหรือทนทุกข์ทรมานภายใต้การเมืองไม่ดีและประชาธิปไตยจอมปลอม

เลิกคิดเรื่องการเมืองเรื่องอำนาจ (power politics) และการเมืองฝักฝ่าย (Faction politics) ในการเมืองไทยร่วมสมัยได้แล้ว นักเรียนเลวไม่มีทางได้และต้องการชิงอำนาจ ดูอายุของพวกเขา ยังอยู่ชั้นมัธยมอยู่เลย จิตสำนึกทางการเมืองก่อตัวและหล่อหลอมจากโซเชียลมีเดียก็จริง ทว่าใครคือแกนนำทางความคิดที่โฆษณาชวนเชื่อนักเรียนเลวได้

ดิจิตอลไลเซชั่น (digitalization) เป็นเครื่องมืออันหนึ่งช่วยให้พวกนักเรียนเลวแยกแยะความแตกต่างระหว่างประชาธิปไตยและอำนาจนิยม ดิจิตอลไลเซชั่นนำเสนอข้อมูลอันหลากหลายและความคิดเห็นของพวกเขาสู่สังคมไทยต่อการปฏิรูปการศึกษา ความเท่าเทียมทางสังคม เพศ ฯลฯ

พวกเขาสื่อสัญลักษณ์ไดโนเสาร์ เป็นความรุนแรงทางการเมืองตรงไหน

นักเรียนเลวของสังคมไทยจะเติบโตขึ้นภายใต้โลกใหม่ พวกเขาช่วยเราบอกว่า กาลเวลาเคาะประตูสังคมไทยแล้ว

ที่กล่าวมานี้ผมต้องการจะบอกว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยเกิดจากพลังภายในไม่ได้เกิดจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกอย่างที่ผู้ใหญ่หลอกลวง ทว่าประชาธิปไตย การปกครองโดยกฎหมาย สิทธิเสรีภาพของไทยนับเป็นกระแสเดียวที่เกิดขึ้นในสหรัฐ จีนและทั่วโลกเวลานี้

ประการที่สอง หากมองจากภายใน ระบอบประยุทธ์ยังเหลืออะไรอยู่บ้าง ยุบสภา รัฐประหาร…ใช้แก้ปัญหาการเมืองที่พวกท่านประกอบสร้างขึ้นมาได้หรือครับ?

กลับไปที่พื้นฐานที่สุด ความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy) ระบอบประยุทธ์มีหรือไม่?

I here too