คุยกับทูต ‘โลเรนโซ กาลันตี’ Ep.3 ไทย-อิตาลี ยืนหยัดเคียงข้างวิกฤตโควิด -19

อิตาลีเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดในโลก กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

ในที่สุดอิตาลีก็เป็นประเทศแรกในยุโรปที่เปิดพรมแดนเต็มที่ และยกเลิกเงื่อนไขการกักตัวเฝ้าระวังอาการ 14 วันสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ

เพื่อรับนักท่องเที่ยวจากยุโรปแล้วเมื่อต้นเดือนนี้เอง

“การเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเข้าไปในอิตาลีอีกครั้งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราต้องตระหนักและมีความมั่นใจเรื่องความปลอดภัย เนื่องจากมีตัวแปรหลายอย่างที่ต้องนำมาประเมินเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และมาตรการในการรณรงค์ให้ผู้คนเว้นระยะห่างจากกันก็ยังต้องนำมาใช้ในการเปิดเมืองและย่านธุรกิจ”

มร.โลเรนโซ กาลันตี (H.E. Mr.Lorenzo Galanti) เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย เล่าถึงประเทศอิตาลีที่เข้าสู่ขั้นสุดท้ายของการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยอนุญาตให้เดินทางภายในประเทศได้อย่างอิสระ และเปิดชายแดนต้อนรับนักท่องเที่ยวจากยุโรปเป็นครั้งแรกในรอบสามเดือนโดยหวังว่าจะช่วยเร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

“เราเปิดประเทศให้ประชาชนในสหภาพยุโรปเดินทางเข้าไปได้แล้วตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งผมมั่นใจว่า ต่อไปเราจะเปิดให้ประชาชนจากประเทศอื่นๆ เข้าไปได้ โดยสถานทูตอิตาลีที่นี่จะทำงานอย่างหนักเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวไทย”

“ที่ผ่านมาสถานทูตอิตาลีมีภารกิจส่งชาวอิตาลีที่ตกค้างในประเทศไทยกลับประเทศจำนวนสองเที่ยวบิน (repatriation flights) กับสายการบิน NEOS ของอิตาลีโดยบินไปมิลาน และกับสายการบินไทย (THAI Airways) ไปกรุงโรม ผู้โดยสารที่ตกค้างเป็นชาวอิตาลีเกือบ 400 คน และบางคนเป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ในอิตาลี”

“ยังมีชาวอิตาลีบางกลุ่มที่เดินทางกลับบ้านโดยใช้เที่ยวบินซึ่งประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจัดให้ และบางกลุ่มก็กลับประเทศไปกับสายการบินที่ยังเปิดให้บริการอยู่ เป็นการดำเนินงานที่ซับซ้อนมาก ทุกเที่ยวบิน ผู้โดยสารจะต้องซื้อตั๋วในราคาปกติ ไม่มีเที่ยวบินไหนที่บินฟรี การจัดเที่ยวบินพิเศษเหล่านี้จึงนับเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่ง ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่คาดคิดและไม่สามารถคาดการณ์ได้”

สําหรับความร่วมมือระหว่างประเทศอิตาลีและประเทศไทยด้านสาธารณสุขในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

สถานทูตอิตาลีมีภารกิจส่งชาวอิตาลีที่ตกค้างในประเทศไทยกลับประเทศจำนวนสองเที่ยวบิน (repatriation flights) กับสายการบิน NEOS ของอิตาลีโดยบินไปมิลาน และกับสายการบินไทย (THAI Airways) ไปกรุงโรม

“เรื่องของสาธารณสุขระหว่างกันได้ก้าวไปสู่วาระสูงสุดระดับนานาชาติ ประเทศอิตาลีตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มความร่วมมือด้านสาธารณสุขกับอาเซียนและประเทศสมาชิก โดยการสมัครเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของอาเซียน มีการประชุมกันทางวิดีโอระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอิตาลี ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และประเทศจีนเมื่อเดือนเมษายน โดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมเช่นกัน”

“เราได้ขอบคุณประเทศไทย และหอการค้าไทย/คณะกรรมการการค้า ซึ่งบริจาคเครื่องช่วยหายใจ pulmonary ventilators จำนวนสองเครื่องให้แก่โรงพยาบาลในเมืองเบอร์กาโม (Bergamo) ซึ่งเป็นเมืองที่มีจำนวนผู้ป่วยสูง ผ่านทางอิตาเลียน-ไทย บิสซิเนส ฟอรั่ม (Italy-Thailand Business Forum)”

สถานทูตอิตาลีมีภารกิจส่งชาวอิตาลีที่ตกค้างในประเทศไทยกลับประเทศจำนวนสองเที่ยวบิน (repatriation flights) กับสายการบิน NEOS ของอิตาลีโดยบินไปมิลาน และกับสายการบินไทย (THAI Airways) ไปกรุงโรม

“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอิตาลี ลุยจี ดี มาโย (Luigi Di Maio) ก็ได้ส่งจดหมายขอบคุณมายังนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย”

มาตรการในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ของสถานทูตอิตาลี

“เราทำงานแบบ smart working คือมีความคิดสร้างสรรค์ มีการวิเคราะห์ วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ และจัดการงานอย่างเป็นระเบียบ ร่วมกับเพื่อนร่วมงาน อันเป็นมาตรการที่พวกเรากำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังดำเนินงานตามกฎข้อบังคับของรัฐบาลอิตาลีและตามคำแนะนำของรัฐบาลไทย” ท่านทูตชี้แจง

“ซึ่งส่งผลให้สถานทูตจัดกลุ่มเจ้าหน้าที่เป็นสามกลุ่มเพื่อผลัดเวรกันทำงานและไม่ได้พบกันเลยเป็นเวลาหลายสัปดาห์ การทำงานจากที่บ้าน (WFH) นับเป็นประสบการณ์ที่ดี แต่บางที smart working ก็มีขีดจำกัดหากจะต้องให้บริการแก่ประชาชน ตัวอย่าง การทำพาสปอร์ต”

“หากพูดถึงเรื่องการให้ข้อมูล พวกเราสามารถทำงานจากที่บ้านได้ การจัดกิจกรรมต่างๆ สามารถทำออนไลน์ได้”

อิตาลีเป็นประเทศแรกในยุโรปที่เปิดพรมแดนรับนักท่องเที่ยวจากยุโรป

“ในระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่พวกเราทำงานอย่างหนักเพื่อเร่งช่วยชาวอิตาลีที่ยังตกค้างอยู่ ทั้งในประเทศไทย กัมพูชา และลาว ซึ่งต่างก็ต้องการข้อมูลและความช่วยเหลือที่ชัดเจนและส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับทางเลือกในการบิน แผนการเคลื่อนย้าย และมาตรการใหม่ที่ได้รับการรับรองจากทางการ แน่นอนว่าทุกกรณีนั้นมีความแตกต่างกัน”

“ดังนั้น เราจึงต้องจัดสรรการบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละคน ผมคิดว่าเราได้รับบทเรียนมากมายจากการดำเนินงานในครั้งนี้” ท่านทูตยิ้ม


พิเศษ! สมัครสมาชิกนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์, ศิลปวัฒนธรรม และเทคโนโลยีชาวบ้าน ลดราคาทันที 40% ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิ.ย. 63 เท่านั้น! คลิกดูรายละเอียดที่นี่