จรัญ มะลูลีม : “โซไลมานี” บทบาทในกองทัพจนถึงวันถูกสังหาร

จรัญ มะลูลีม

คัสเซม โซไลมานี (1)

แม้ว่าอิหร่านจะถูกบังคับให้ตอบโต้สหรัฐอันเนื่องมาจากการลอบสังหารนายพลคัสเซม โซไลมานี (General Qassem Solaimani) แต่ก็มีความ dismay อย่างลึกซึ้งสำหรับอนาคตว่าจะต้องมีสงครามต่อกันหรือว่าสงครามลูกผสม (hybrid war) โดยสหรัฐจะยังคงดำเนินต่อไปกันแน่

เชื่อกันโดยทั่วไปว่าในเวลานี้เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากที่จะมีใครเข้ามาแก้ไขความตึงเครียดที่มีอยู่ในเวลานี้ได้ การลอบสังหารโซไลมานีก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนไปทั้งอิหร่าน

งานฝังศพของโซไลมานีมีผู้เข้าร่วมอย่างล้นหลามข้ามวันข้ามคืนทั่วผืนแผ่นดินของอิหร่าน คนนับล้านที่ออกมารวมตัวกันในที่สาธารณะต่างก็เรียกร้องให้มีการล้างแค้นให้กับนายพลผู้เป็นที่รักยิ่งของพวกเขา

อารมณ์ร่วมของพวกเขามิได้มาจากความรู้สึกต่อการล้างแค้นให้นายพลผู้นี้เท่านั้น แต่มันเป็นการระเบิดออกของพลังร่วมของผู้คนในประเทศที่ถูกข่มขู่ด้วยความตายจากสหรัฐมาตั้งแต่ปี 1979

ที่ผ่านมาสหรัฐข่มขู่คุกคามเพื่อที่จะล้มล้างรัฐบาลอิหร่านมาต่อเนื่องยาวนาน ทำสงครามลูกผสมต่อต้านอิหร่านด้วยการคว่ำบาตร ห้ามค้าขาย ก่อวินาศกรรม ลอบสังหารและคุกคามต่างๆ นานา

อิทธิพลของสงครามลูกผสมนี้ก่อให้เกิดความรู้สึกตึงเครียดอยู่ในอิหร่านตลอดเวลา

 

คนอิหร่านทุกคนไม่ว่าแนวความคิดที่มีต่อสาธารณรัฐอิสลามจะเป็นอย่างไรก็ตาม ต่างก็ได้รับผลกระทบจากสงครามประสาทอันทุกข์ทรมานที่สหรัฐมอบให้ ด้วยเหตุนี้การมารวมตัวกันอย่างเนืองแน่นเพื่อโซไลมานี จึงเป็นผลออกมาจากความรู้สึกอย่างลึกซึ้งที่มาจากการปิดล้อมของสหรัฐ

อะยาตะลลอฮ์ อะลี คอเมเนอี (Ayatoollah Ali Khamenei) ผู้นำนำจิตวิญญาณของอิหร่านร่ำไห้เมื่องานฝังศพโซไลมานีในกรุงเตหะราน มาถึงขั้นตอนสุดท้ายเป็นน้ำตาที่ออกมาจากจิตใจของผู้นำที่มีความใกล้ชิดกับโซไลมานีมาอย่างยาวนานนับจากสงคราม 8 ปี อิรัก-อิหร่าน (1980-1988) และเป็นหนึ่งในความโกรธเคืองที่ชาวอิหร่านมีต่อสหรัฐยากที่จะลืมเลือนได้

ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2019 รัฐบาลอิหร่านตัดความช่วยเหลือการใช้เชื้อเพลิงแก่ชาวอิหร่านลงไปเพียงเล็กน้อย แต่ประชาชนก็ออกมาชุมนุมต่อต้านมาตรการอันเข้มงวดนี้อยู่ทั่วไป การเข้าสลายการชุมนุมนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้คนจำนวนหนึ่ง

ศูนย์กลางของการประท้วงในเวลานั้นอยู่ที่เมืองอาห์วาซ (Ahwaz) อันเป็นเมืองที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับเขตแดนอิรัก

เมื่อเรือนร่างของโซไลมานีถูกนำเข้าเมืองดาห์วาซก็ปรากฏราวกับว่าผู้คนนับล้านๆ คนต่างออกมาตามท้องถนน

จากการจากไปของโซไลมานี เป็นการยืนยันว่าการถูกลอบสังหารจากน้ำมือของสหรัฐได้นำเอาผู้คนมารวมเข้าด้วยกัน ความรู้สึกรักชาติถูกห้ามให้เห็นอย่างชัดเจนแม้แต่ในเมืองที่ผู้คนเคยประท้วงการลดการช่วยเหลือด้านเชื้อเพลิงมาแล้วอย่างหนักหน่วงก็ตาม

 

อิทธิพลของอิหร่าน

นับตั้งแต่มีการปฏิวัติแห่งปี 1979 ตะวันตกได้สร้างพันธมิตรเอาไว้ทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอบๆ ชายแดนของอิหร่าน ประเทศอาหรับแถบอ่าวเปอร์เซียได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันตกให้ซัดดัม ฮุสเซน เป็นหัวหอกในการรุกรานอิหร่าน ในขณะที่กลุ่มต่อต้านรวมทั้งกลุ่มทาลิบันซึ่งเริ่มเติบโตขึ้นมาในอัฟกานิสถาน

เมื่อรัฐบาลสหรัฐโค่นถล่มกลุ่มทาลิบันลงในปี 2001และโค่นรัฐบาลซัดดัมลงในปี 2003 สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านก็สามารถขยายตัวเข้าไปมีอิทธิพลเป็นครั้งแรก โดยอิทธิพลนี้ได้ทะลุทะลวงจากเทือกเขาฮินดู กูธ (Hindu Kush) ไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

สหรัฐเข้าทำสงคามในภูมิภาคตะวันออกนั้นในปี 2001 และปี 2003 และก็ได้รับชัยชนะทั้งสองครั้ง ในเวลาต่อมากองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติ (Revolutionary Guard Corps (IRCG) ซึ่งมีสายสัมพันธ์อักลึกซึ้งกับพันธมิตรที่ใกล้ชิดอยู่แล้ว ได้ขยายตัวเข้าไปทั้งในอัฟกานิสถาน อิรัก เลบานอนและซีเรีย

นายพลโซไลมานีเข้ามารับบทบาทนี้ ซึ่งทำให้อิทธิพลของอิหร่านขยายตัวเข้าไปยังอัฟกานิสถาน อิรัก เลบานอนและซีเรียในช่วงเวลานั้น

โซไลมานีทำงานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มกอตาอิ ฮิซบุลลอฮ์ (Kataits Hizbollah) ซึ่งให้กำเนิดโดยอัล-มุฮันดิส (al-Muhan dis) หลังจากการมีการลุกฮือในโลกอาหรับ เมื่อมีการลุกฮือในโลกอาหรับที่รู้จักกันในนามอาหรับสปริงนี้เกิดขึ้นในปี 2011 และสงครามได้ขยายซีเรียจากปี 2012 เป็นต้นไป

 

บทบาทของสหรัฐในภูมิภาค

นายพลโซไลมานีได้รับการเชิญชวนจากนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลอิรัก เพื่อมาหารือในเรื่องความตึงเครียดของสหรัฐกับอิหร่าน ขณะที่เขาถูกสังหารเขามีหนังสือเดินทางทางการทูต

มีความเข้าใจกันโดยทั่วไปว่าซาอุดีอาระเบียมีความกระตือรือร้นที่จะทำให้ความตึงเครียดนี้ลดลงผ่านรัฐบาลอิรัก ซึ่งย่อมมีความหมายว่ามีการลงมติร่วมกันในภูมิภาคอันเป็นดินแดนทื่สหรัฐประกาศให้มีแรงกดดันสูงสุด maximam pressure

การรณรงค์เพื่อให้เกิดแรงดันสูงสุดได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสถานภาพของตน ซาอุดีอาระเบียให้อิหร่านอ่อนแอลงไป แต่ก็ไม่ต้องการให้เกิดสงครามเต็มรูป

อย่างไรก็ตาม การสังหารโซไลมานีกลับส่งผลสะเทือนมากกว่าที่คิด ทำให้โลกมองว่าสหรัฐคือผู้สังหารผู้ถือหนังสือเดินทางการทูตอย่างถูกต้อง แสดงให้เห็นถึงความ recklessness ของรัฐบาลทรัมป์

ด้วยเหตุนี้อิหร่านจึงไม่มีทางเลือกนอกจากต้องตอบโต้ พวกเขาได้ตอบโต้ด้วยการยิงขีปนาวุธพิสัยใกล้เข้าไปยังฐานทัพสหรัฐในอิรักสองแห่ง สหรัฐเร่งรีบที่จะสังหารมากขึ้นเข้าไปในภูมิภาค

แหล่งข่าวจากเอเชียใต้ยืนยันว่าหลังการจากไปของโซไลมานีได้มีการหารือระหว่างอิหร่าน อิรัก สหรัฐและพันธมิตรของสหรัฐในภูมิภาคอย่างซาอุดีอาระเบียและอิสราเอล รวมทั้งกาตาร์ทั้งวันทั้งคืน ทั้งนี้ ไม่มีฝ่ายใดต้องการให้เกิดสงครามอย่างเต็มรูปแบบ

แต่ดูเหมือนว่าสงครามเป็นเรื่องที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้

ในทางหนึ่งสหรัฐยืนกรานว่าจะไม่ขยายการโจมตีออกไป แต่ในเวลาเดียวกันก็ข่มขู่อย่างบ้าคลั่ง โจมตีอิหร่านหากอิหร่านตอบโต้

สิ่งที่ไม่อาจคาดหมายได้คือความหวาดหวั่นสำหรับคนอิหร่านและประชาชนที่อยู่ในประเทศอิหร่าน เมื่ออิหร่านยิงขีปนาวุธเข้าไปยังฐานทัพสหรัฐในอิรัก

ผู้คนในประเทศต่างวิ่งกรูกันขึ้นไปบนหลังคาเพิ่ม ละหมาดขอพรจากพระเจ้า มันเป็นช่วงขณะของความสุขสำหรับผู้คนที่มองเห็นความเป็นไปของสงครามล่วงหน้านี้

ธงสีแดงได้โบกสะบัดอยู่เหนือมัสญิดญัมการาน (Jamkaran Masque) ในเมืองกูม (Qom) อันเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าสงครามอันยาวนานเพื่อจะเริ่มต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดมาก่อนนับเป็นร้อยๆ ปีมาแล้ว

ในเวลาเดียวกันความรู้สึกไม่พอใจต่ออนาคตก็เข้ามาพร้อมกัน นั่นคือการที่สหรัฐจะยังคงปิดกั้นอิหร่านต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็นสงครามลูกผสมหรือสงครามตามรูปแบบก็ตาม ไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตามชาวอิหร่านต่างก็รับรู้ถึงความทุกข์อันหนักหน่วงที่เกิดกับพวกเขามายาวนาน

ทัศนคติของอิหร่านที่มีต่อโลกถูกสร้างขึ้นบนความทุกข์ยากที่อิหร่านได้รับนี้ รวมทั้งความมีเหตุผลในด้านการทูตที่อิหร่านมีพันธมิตรต่อทั่วโลก