รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ/ ไทยติดอันดับ 56 พัฒนาเอไอ ตามหลังมาเลย์ ฟิลิปปินส์ อาจพลาดผลประโยชน์มหาศาล 10 ปีข้างหน้า

รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

 

ไทยติดอันดับ 56 พัฒนาเอไอ

ตามหลังมาเลย์ ฟิลิปปินส์

อาจพลาดผลประโยชน์มหาศาล 10 ปีข้างหน้า

 

ยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงโลก เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าสังคมและเศรษฐกิจของโลกในอนาคต ปัญญาประดิษฐ์เป็นนวัตกรรมใหม่ที่กำลังเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น

ความพร้อมเพื่อการอยู่รอด การปรับตัวของธุรกิจ ในโลกเทคโนโลยีตั้งแต่ผู้ประกอบการ แรงงานการผลิต การบริการ ควรเร่งผลักดันให้มีความพร้อม ไม่พลาดผลประโยชน์มหาศาลจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้แล้วในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แพร่หลาย

ประเทศไทยเราเองแม้จะพูดถึง AI กันในวงกว้าง

แต่ก็ยังไม่มียุทธศาสตร์หรือนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI

รวมทั้งยังไม่มีนโยบายที่จะสนับสนุนให้ประเทศได้รับประโยชน์จากการผลิตและพัฒนา AI

รวมทั้งยังไม่มีนโยบายที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ AI จะเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทย

ขณะเดียวกัน อีกมุมหนึ่ง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ก็สร้างผลกระทบต่อแรงงานในประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะประเด็นการทดแทนแรงงาน ซึ่งอาจทำให้เกิดการว่างงานจำนวนมาก

ปัญญาประดิษฐ์สามารถทำงานได้หลายรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพที่สูงจนเทียบเท่าหรืออาจจะมากกว่ามนุษย์

 

ในความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี เราควรเรียนรู้และปรับตัวให้เท่าทันเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับ AI ที่เกิดขึ้นและพัฒนาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ AI เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาต่อยอดขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น

จากการที่ปัญญาประดิษฐ์ AI เข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาผลักดันเศรษฐกิจโลก อาจทำให้แรงงานเกิดการตกงานขึ้น เพราะได้มีเทคโนโลยีเข้ามาทดแทน

อาจจะทำให้มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

แต่ในทางกลับกัน การเข้ามาของ AI นี้ทำให้เกิดอาชีพใหม่หลากหลาย มีรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ขึ้นมากมาย

ดังนั้น ภาครัฐควรมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมให้เป็นรูปธรรม เพื่อเป็นข้อเสนอให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดจากการเข้ามาของ AI

เช่น การเตรียมพร้อมบุคลากร พัฒนาทักษะแรงงาน ให้ความสำคัญกับคลังข้อมูล

เพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากเทรนด์การเปลี่ยนแปลงที่ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI กำลังจะเข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจและสังคมไทยมากขึ้นในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

และควรตระหนักถึงรับรู้และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการเตรียมตัวให้พร้อมรับการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI

 

ในปัจจุบันไทยติดอันดับ 56 ด้านการพัฒนาเอไอ แพ้สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เหตุขาดคนทำ “AI For Thai” แพลตฟอร์มช่วยองค์กรต่อยอด

ซึ่งนายชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เปิดเผยว่า ดัชนีความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของไทยอยู่อันดับที่ 56 จาก 194 ประเทศ โดยได้คะแนนอยู่ที่ 5.458 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

ขณะที่สิงคโปร์อยู่อันดับ 1 โดยมีคะแนน 9.18 มาเลเซียติดอันดับ 22 ด้วยคะแนน 7.10 ฟิลิปปินส์ติดอันดับที่ 50 มีคะแนน 5.70 และอินโดนีเซียติดอันดับ 57 ด้วยคะแนน 5.42 จะเห็นได้ว่ามาเลเซียและฟิลิปปินส์มีอันดับที่ดีกว่าไทย

ในการเติบโตของ AI เป็นรากฐานของเศรษฐกิจสมัยใหม่ โดยคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า เอไอจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมจีน) 0.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และ 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเฉพาะในจีน

 

ส่วนอุปสรรคในไทยคือ 1.ยังใช้แพลตฟอร์มต่างประเทศ จึงไม่ตรงบริบทการใช้งาน ทั้งข้อมูลยังถูกเก็บไว้กับเจ้าของแพลตฟอร์ม 2.ขาดงบฯ ลงทุนและขาดบุคลากร ซึ่งปัจจุบันมีแค่ 200 คน ทั้งยังไม่มีนโpบายที่ชัดเจน

“เอไอในช่วงแรกยังไม่สร้างรายได้ ต้องสะสมข้อมูลก่อน SMEs และสตาร์ตอัพจึงไม่มีกำลังพอ”

ล่าสุดเนคเทคได้เปิดตัว “AI For Thai” แพลตฟอร์มฟรีที่เปิด open API ให้องค์กรทุกระดับเข้ามาใช้งานได้ “มีจุดเด่นที่เข้าใจภาษาไทย สามารถตัดคำ เข้าใจและสร้างเสียงพูดภาษาไทย ตลอดจนสร้าง chatbot ได้”

เชื่อว่าถ้ามีจำนวนผู้ใช้มากขึ้น จะมีสปอนเซอร์อยากเข้ามาร่วมสนับสนุนมากขึ้น รวมทั้งได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐด้วย

ปัจจุบันสปอนเซอร์มี 4 ราย ได้แก่ CAT, INET เป็นสปอนเซอร์ด้านคลาวด์ Pantip ช่วยสนับสนุนข้อมูล และ KBTG ช่วยงบฯ สนับสนุน

“แพลตฟอร์มนี้จะช่วยในการพัฒนาบุคลากรในเชิงลึก ช่วยประหยัดต้นทุนในการพัฒนา ลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าให้ประเทศ ถ้าองค์กรไหนอยากได้ฟีเจอร์เพิ่มเติม หรือจะทำโซลูชั่นที่แอดวานซ์มากขึ้นก็ติดต่อทีมของเนคเทคได้”

ก้าวต่อไปของโครงการ คือ การวางนโยบายด้านเอไอให้เสร็จใน 3-6 เดือน เพื่อให้มีเป้าหมายการพัฒนาชัดเจน ทั้งจะร่วมกับมหาวิทยาลัยและสมาคมเอไอแห่งประเทศไทยจัดอบรมเชิงลึกบุคลากรไอทีในองค์กรที่สนใจ คาดว่าภายใน 3 ปีจะเพิ่มคนเอไอได้กว่า 500 คน “อุตสาหกรรมที่จะพัฒนาก่อน ได้แก่ เมดิคอล, อะกริคัลเจอร์ และทัวริlซึ่ม”

จากข้อมูลประเทศควรเร่งการพัฒนาความพร้อมให้มากกว่านี้ เพื่อที่จะไม่พลาดผลประโยชน์มหาศาลจากปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ใน 10 ปีข้างหน้า