สมุนไพรมหิดล/คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล/ หนาด

สมุนไพรมหิดล/คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล

หนาด

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Blumea balsamifera (L.) DC. (1)

วงศ์ : Compositae (Asteraceae)

 

ไม้พุ่มหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก หลายปี ตั้ง สูง 1-3 เมตร กิ่งแขนงเรียงแบบช่อเชิงหลั่น แขนงตั้ง มีขนแบบขนแกะแกมมีขนอุยหนาแน่นสีขาวแกมเหลือง

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแคบ ใกล้แกนมีรอยย่นและมีขนยาวห่างพร้อมขนซ้อนทู่ โคนใบรูปติ่งหูแคบ เส้นใบ 10-12 คู่

ดอกเป็นดอกช่อกระจุกแน่น รวมเป็นแบบช่อแยกแขนงรูปพีระมิดกาง มีก้านช่อดอก วงใบประดับรูประฆัง วงใบประดับ 3 หรือ 4 ชุด

ผลเป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน สีน้ำตาล รูปขอบขนาน ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร มีขนหยาบแข็งประปราย แพบพัสสีแกมแดง ขนาด 4-6 มิลลิเมตร

ตำรายาไทยและยาพื้นบ้านใช้

ใบ ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ตำรายาไทยใช้ ใบสด หั่นเป็นฝอยเหมือนยาเส้น ผึ่งแดดพอหมาดๆ มวนกับยาฉุนสูบ แก้ริดสีดวงจมูก ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดในจมูก ทำให้หายใจขัด มีฝีหนองในจมูก โพรงจมูกอักเสบ ยาพื้นบ้านใช้

ใบ บดผสมกับต้นข่อย แก่นก้ามปู พิมเสน และการบูร มวนด้วยใบตองแห้ง สูบ รักษาโรคหืด

ในใบพบสาร cryptomeridion ซึ่งมีฤทธิ์ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น กล้ามเนื้อหลอดลม