รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ/สงครามยังไม่หยุด Huawei อดใช้ SD Card

รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ

https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

สงครามยังไม่หยุด

Huawei อดใช้ SD Card

 

นับจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจเปิดศึกขั้นแตกหักกับหัวเว่ย บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนด้วยการลงนามในคำสั่งเชิงบริหารของประธานาธิบดี ห้ามการจัดซื้อหรือใช้งานอุปกรณ์ใดๆ จากบริษัทใดที่ “ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงของชาติซึ่งยอมรับไม่ได้ หรือส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและปลอดภัยของบุคคลของสหรัฐอเมริกา”

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้ประกาศเลื่อนการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อ Huawei ออกไปเป็นเวลา 90 วัน โดยให้เหตุผลว่าเป็นการเพิ่มเวลาเพื่อเปิดทางให้มีการอัพเดตซอฟต์แวร์ รวมถึงการปฏิบัติตามความตกลงที่มีการเซ็นสัญญาไว้แล้ว เพื่อให้สามารถดูแล สนับสนุน บำรุงรักษา สินค้าปัจจุบันที่ Huawei จำหน่ายอยู่ต่อไปได้ โดยใบอนุญาตชั่วคราวดังกล่าวมีอายุ 90 วัน จนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2019

จนกระทั่ง Huawei บริษัทโทรคมนาคมและผู้ผลิตสมาร์ตโฟนยักษ์ใหญ่ของจีน ที่ล่าสุดอาจถูกตัดขาดออกจากบริการต่างๆ ของกูเกิล ได้เตรียมรับมือกับกรณีดังกล่าวไว้แล้ว ด้วยระบบปฏิบัติการของตัวเองที่มีชื่อว่า “หงเหมิง” ไว้แล้วหากใช้ ‘Android’ ไม่ได้ ซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาแทนที่ระบบแอนดรอยด์ของกูเกิล

 

สงครามการค้าระหว่างประเทศจีนกับสหรัฐอเมริกายังไม่มีทีท่าจะหยุด หลังจากโดนโจมตีอย่างต่อเนื่อง กับประกาศยุติสัมพันธ์ทางการค้ากับ Huawei กับ SD Association หน่วยงานซึ่งดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานของการ์ด SD ทั้งหลายได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้ว

และเมื่อเข้าไปเช็กที่หน้าเว็บไซต์ของ SD Association ก็จะเห็นว่าไม่มีรายชื่ออุปกรณ์ของ Huawei อยู่ในรายการแล้ว แต่อาจจะไม่มีผลกระทบกับหัวเว่ย เพราะได้พัฒนา NM Card มาไว้เองเรียบร้อยแล้ว

SD Association ถือเป็นอีกองค์กรที่ตั้งอยู่ใน San Ramon, California ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็จำเป็นต้องทำตามนโยบายของรัฐบาลสหรัฐ ตาม Google, Intel, Broadcom และ Qualcomm

การที่ SD Association ได้ออกมาห้ามไม่ให้หัวเว่ยพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงสมาร์ตโฟนที่มีช่องเสียบการ์ด SD หรือ microSD ทาง SD Association ผู้พัฒนาและอนุญาตให้ใช้มาตรฐานเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลบนการ์ด SD และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ได้ออกมาประกาศตัดความสัมพันธ์กับ Huawei เหมือนกับหลายบริษัทของสหรัฐที่ออกมายุติการทำธุรกิจกับบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่จากจีน

ทาง SD Association เป็นอีกหนึ่งสมาคมที่ออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้ ทางสมาคมได้ทำการถอดชื่อ Huawei ออกจากสมาชิกของสมาคมอย่างเงียบๆ ส่งผลให้ทาง Huawei ไม่สามารถผลิต SD card หรือสร้างช่องสล็อต microSD card ลงในอุปกรณ์ของตัวเองได้

แต่ถึงอย่างไรทาง Huawei ก็ได้เตรียมรับมือมาตั้งแต่ช่วงปี 2018 เป็นต้นมา โดยการเปิดตัวสมาร์ตโฟน Mate 20 Pro พัฒนาการ์ดหน่วยความจำของตัวเองที่มาพร้อมกับสล็อตเมมโมรี่การ์ดใหม่

ที่มีชื่อว่า Nano Memory Card ที่มีขนาดเท่ากับ nanoSIM

 

NM Card (Nano Memory Card) เป็นเทคโนโลยีหน่วยความจำแบบการ์ด ที่ทางหัวเว่ยได้เปิดตัวครั้งแรกพร้อมกับ Huawei Mate 20 Series เมื่อช่วงปลายปี 2018 ที่ผ่านมา โดยออกแบบให้มีหน้าตาและขนาดเท่ากับซิมการ์ด ทำให้สามารถใส่ในถาดซิมปกติได้ทันที ช่วยประหยัดพื้นที่ในบอร์ดและออกแบบได้ง่ายขึ้น

โดยตัว NM Card นั้นมีความเร็วในการอ่านสูงถึง 90MB/s

จากความล้ำหน้าของวิวัฒนาการของ  Huawei ถือเป็นบริษัทชั้นนำ มียอดขายสมาร์ตโฟนมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ที่ขายได้กว่า 200-300 ล้านเครื่องต่อปี จากการที่ถูกกีดกัน จนต้องหาทางออกด้วยการพัฒนาระบบขึ้นมาเอง ความแข็งแกร่งของ Huawei ความทะยานที่จะก้าวขึ้นสู่ความเป็นบริษัทธุรกิจระดับโลกที่ยังไม่มีใครตามทัน

จึงไม่แปลกใจที่เกิดกระแสความแตกตื่นและหวั่นวิตกกังวลในหมู่ผู้บริโภคต่อสมาร์ตโฟน “Huawei” ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เปิดศึกในครั้งนี้

 

นับจาก “โซลูชั่น 5G ของหัวเว่ย ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงโซลูชั่นที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบัน หากแต่ยังเรียกได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของยุโรปอีกด้วย เนื่องจากโซลูชั่นเหล่านี้ ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างที่พัฒนาโดยนักวิจัยและวิทยาศาสตร์ในยุโรป เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของยุโรป”

“หัวเว่ยดำเนินธุรกิจในยุโรปมานานเกือบ 20 ปีแล้ว โดยมีพนักงานในยุโรปกว่า 12,200 คน ซึ่ง 70% ของพนักงานเหล่านี้ เป็นการจ้างงานในพื้นที่ และในปี พ.ศ.2561 หัวเว่ยได้ซื้อสินค้าและบริการมูลค่ากว่า 5.6 พันล้านยูโรในยุโรป นอกจากนี้แล้ว หัวเว่ยยังมีความร่วมมือด้านงานวิจัยกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในยุโรปถึง 140 แห่ง”

ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ประกาศความพร้อมที่จะทำงานร่วมกับสหภาพยุโรป ในการเปิดตัว 5G “สหภาพยุโรปได้พิสูจน์ความสามารถในการผนวกประเทศในยุโรปเข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนากฎหมายที่ก้าวหน้าและครอบคลุมบางส่วน เช่น GDPR ซึ่งยุโรปควรผลักดันเรื่องนี้ต่อไป”

ถึงแม้แรงกระทบจากฝั่งอเมริกาอาจจะดูยิ่งใหญ่ หากในฐานะบริษัทระดับโลกแล้วอย่าง Huawei จะต้องคงเดินหน้าลงทุนและดำเนินธุรกิจในยุโรปต่อไป พร้อมความเชื่อมั่นจากพันธมิตรหลายบริษัทในหลายประเทศ รวมถึงมีการเตรียมมาตรการเชิงรุกเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากกรณีที่เกิดขึ้น

“หัวเว่ยจะทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อลดผลกระทบเชิงลบจากการกระทำของอเมริกา”