อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : การลุกฮือเพื่อประชาธิปไตยในตูนิเซีย

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

เมื่อเกิดเหตุการณ์อาหรับสปริง (Arab spring) ในปี 2011 เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง มีการโค่นล้มผู้นำเผด็จการตูนิเซีย Zine El Abidine Ben Ali

หลังจากนั้นคนหนุ่มสาวจำนวนล้านๆ คนทั่วโลกอาหรับ ได้ให้การสนับสนุนการลุกฮือเพื่อประชาธิปไตยในตูนิเซีย

พวกเขามองโลกในแง่ดีว่าสิ่งที่จะตามมาคือ ศักดิ์ศรี ประชาธิปไตยและมีงานทำ ถ้าผู้นำของเขาล้มเหลว ผู้นำเผด็จการในอดีตที่ถูกกำจัดออกไปจะกลับมา

 

คำมั่นสัญญา

8 ปีหลังจากอดีตผู้นำเผด็จการตูนิเซียลี้ภัยไปอยู่ในซาอุดีอาระเบียมีหลายคนมองว่า เศรษฐกิจตูนิเซียแย่ลงกว่าเดิม คนหนุ่มสาวที่ตกงานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่า 8 ปีที่แล้วมาก และมันนำมาสู่การก่อตัวของความไม่พอใจ

มีการคอร์รัปชั่นเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มีคนประท้วงมากขึ้นด้วย

ตูนิเซียถูกจัดอันดับจาก Transparency International”s Corruption Perception อยู่ที่อันดับที่ 73 ทั้งๆ ที่แต่ก่อนเหตุการณ์อาหรับสปริง ตูนิเซียได้รับการจัดอันดับจากองค์กรระหว่างประเทศด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นอยู่ที่อันดับที่ 59

แน่นอนคนหนุ่มสาวชาวตูนิเซียยังไม่ได้โหมโจมตีและปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล การประท้วงได้กระจายไปบางพื้นที่ แต่ก็ไม่ใช่ที่สุดท้ายที่มีการประท้วง จากการวิเคราะห์การประท้วงและประชาธิปไตยในตูนิเซียมีคำอธิบายหลายประการ บางกลุ่มคนหนุ่มสาวก็บอกว่าไม่ง่ายที่จะรวมตัวจะนำเอาคนยากคนจนกลับมาประท้วงแบบการลุกฮือและนำไปสู่การปฏิวัติครั้งแรก

บางคนมองว่า คนตูนิเซียกำลังดูว่าประเทศไหนในประเทศอาหรับจะจูงใจให้มีการต่อต้านเผด็จการ การเสียเลือดเนื้ออย่างการรัฐประหารในซีเรีย เยเมนและลิเบีย ซึ่งยังเป็นที่จับตาถึงสิ่งเหล่านี้อยู่

บางคนกล่าวว่า ช่วงเวลานี้ไม่มีสัญญาณใดๆ ของการ “แสดงความไม่พอใจของประชาชน”

ในปี 2011 ผู้ประท้วงแสดงความโกรธแค้นตรงไปที่ผู้นำตูนิเซีย Ben Ali ภรรยาและครอบครัวของภรรยาซึ่งได้รับเงินทองจากเงินที่มาจากกองทุนต่างๆ ของรัฐบาล ตอนนี้คนในระบบการเมืองถูกมองว่ามีการคอร์รัปชั่นด้วย

คำอธิบายที่น่าจูงใจที่สุดว่า ทำไมตูนิเซียจึงไม่เกิดการปฏิวัติ ตรงกันข้าม อาหรับสปริงได้ส่งสาร “คำสัญญา” บางอย่างและมีสัดส่วนเพียงพอต่อความพอใจของประชาชน คือ ประชาธิปไตย ได้ประชาธิปไตยที่แท้จริง พวกเขาต้องการทั้งหมดแค่นี้หรือไม่

ตอนนี้อาจตอบได้ว่า ประชาธิปไตยนับว่าพอเพียง แต่เพียงพอสำหรับตอนนี้

 

หลังจากการโค่นล้มผู้นำตูนิเซีย Ben Ali ในปี 2011 ตูนิเซียมีการเลือกตั้งอย่างเสรีและอิสระอีก 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งสำหรับการเลือกตั้งรัฐสภา ส่วนการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งคือ การเลือกตั้งประธานาธิบดี

สิ่งนี้ประชาธิปไตยเป็นมากกว่าการออกเสียง และเห็นได้ว่าชาวตูนิเซียพอใจระดับสูงมากเรื่องสิทธิพลเมือง รวมทั้งสิทธิทางการเมือง อันนี้เป็นการสำรวจและวิจัยของ Freedom House

แต่ที่สำคัญตัวชี้วัดนี้สำคัญสำหรับตูนิเซีย ไม่มีตัวชี้วัดและจำนวนปริมาณใดสำคัญมากเท่ากับเสรีภาพ ที่ตรงใจต่อคนในตูนิเซีย เช่น ความเข้มแข็งของกองทัพของรัฐแทบจะหายไป แม้แต่ในที่ที่คุณคาดไม่ถึง เช่น อาคารรัฐสภา บ้านรับรองประธานาธิบดี

สิ่งนี้มีผลอย่างมากต่อโลกอาหรับ แม้ว่ารัฐต่างๆ ไม่ได้รับแรงบันดาลใจการปฏิวัติในตูนิเซีย ผู้ปกครองต่างๆ ในโลกอาหรับพูดว่า แนวโน้มการลุกฮือของประชาชนจำกัดวงและสกัดกั้นและเป็นความฝันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

ราชอาณาจักรต่างๆ ในคาบสมุทรอาหรับซึ่งไม่เคยอดทนกับการต่อต้านของประชาชน ราชอาณาจักรเหล่านี้มีความเข้มแข็งจากเครื่องมือประเพณีต่างๆ ที่ใช้ในการกดขี่ เช่น หน่วยสืบราชการลับ ตำรวจที่คอยดูแลการสื่อสารทางออนไลน์ มีเพียงในประเทศอียิปต์เท่านั้นซึ่งไม่มีความรุนแรง การต่อต้านระบอบรัฐประหาร

ส่วนในตูนิเซีย เสรีภาพและประชาธิปไตย อนุญาตให้พลเมืองของตนแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกซึ่งความไม่พอใจด้วย มีการชุมนุมใหญ่

แต่การชุมนุมใหญ่ไม่มีการแสดงตนเป็นศัตรูกับเสถียรภาพทางการเมืองของตูนิเซีย

มีการประท้วงในที่สาธารณะ มีการแสดงความคิดความเห็นทั้งเรื่องการว่างงานไปจนถึงเรื่องสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งรัฐบาลตูนิเซียไม่ได้ตอบสนองความต้องการเหล่านี้

แต่ความโกรธแค้นก็ไม่ได้กว้างจากข้างล่างสู่บน จนนำไปสู่แรงกดดันการปฏิวัติ

 

ข้อสังเกต

หลังจากอาหรับสปริงปี 2011 ตูนิเซียโค่นล้มเผด็จการที่ฝั่งรากลึกมานาน หลังจากนั้น ประชาธิปไตย สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมืองค่อยๆ ดีขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจของตูนิเซียย่ำแย่ลง ไม่ได้ดีขึ้นอย่างที่คนคาดคิด การคอร์รัปชั่นมีขึ้นทั่วไป การว่างงานของคนหนุ่มสาวยิ่งว่างงานมากขึ้น การชุมนุมและการประท้วงเกิดขึ้น แต่ทั้งหมด ตูนิเซียก็ต้องการประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยไม่ใช่คำตอบทุกอย่าง ประชาธิปไตยเป็นความหวังและคำมั่นสัญญา แต่ด้วยแรงกดทับมานานของเผด็จการและระบอบอำนาจนิยมในอาณาจักรต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาหรับ ตูนิเซียและประชาธิปไตยที่ก่อตัวขึ้นอย่างยากลำบากก็เป็นแนวทางที่ประชาชนชาวตูนิเซียเลือก

นี่เป็นตัวอย่างของประชาธิปไตยในประเทศเผด็จการ แล้วในประเทศที่มีการเมืองเปิด (open politics) มายาวนานอย่างไทยเล่า ทำไมเราเชื่อแต่วัฏจักรการรัฐประหาร แต่เราไม่เชื่อการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยบ้างเล่า

ประเทศไทยในศตวรรษที่ 21