รายงานพิเศษ / โชคชัย บุณยะกลัมพ/ภาพวาด AI ราคา 14 ล้าน ศิลปะยุคศตวรรษที่ 14-20 ‘คริสตีส์’ สถาบันการประมูลระดับโลกนำร่อง

รายงานพิเศษ /โชคชัย บุณยะกลัมพ

https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

 

ภาพวาด AI ราคา 14 ล้าน

ศิลปะยุคศตวรรษที่ 14-20

‘คริสตีส์’ สถาบันการประมูลระดับโลกนำร่อง

 

พัฒนาการของระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีความโดดเด่นเหนือสมองมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ

เป็นสิ่งที่น่าทึ่งน่าเหลือเชื่อ เมื่อสถาบันคริสตีส์ ซึ่งเป็นสถาบันการประมูลระดับโลก ที่เปิดทำการตั้งแต่ปี 1766 ประกาศผ่านเว็บไซต์ของตนเองว่า ได้เปิดประมูลรูปวาดของ AI และผลการประมูลครั้งนี้ถือเป็นการมาถึงของยุคแห่งศิลปะเอไอในเวทีประมูลระดับโลกแล้ว

ภาพวาดที่เป็นฝีมือจากระบบปัญญาประดิษฐ์ ที่ถูกนำมาประมูลเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เป็นภาพของชายคนหนึ่งที่มีรูปลักษณ์อวบอ้วน และชื่อของเขาคือ Portrait of Edmond Belamy ในชุดเสื้อคลุมยาวสีดำ คอเสื้อขาว

ใบหน้าของเขาเหมือนเป็นภาพวาดที่ยังไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นภาพที่ต้องบอกว่าดูมีศิลปะทีเดียว ถ้าไม่บอกก็คงจะไม่รู้ว่านี่เป็นภาพที่หุ่นยนต์วาด

การวาดภาพตรงส่วนใบหน้าของมุนษย์คือความท้าทายที่สุด และการใช้หุ่นปัญญาประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลงาน เพื่อให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นงานศิลปะนั้นเป็นอะไรที่ยาก

เนื่องจากเรายังให้คุณค่ากับหุ่นยนต์ไม่เทียบเท่าฝีมือมนุษย์

 

งานจิตรกรรมภาพบุคคลชื่อ Portrait of Edmond Bellamy “พอร์ตเทรตส์ ออฟ เอ็ดมอนด์ เบลลามี” ที่สร้างประวัติศาสตร์เป็นงานศิลปะชิ้นแรกเป็นภาพวาดสร้างขึ้นโดย “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ “AI” ที่ถูกนำออกประมูลเมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้ราคาสูงเกินคาดถึง 432,500 ดอลลาร์ คิดเป็นเงินบาทประมาณ 14,270,556 บาท

ทั้งๆ ที่ผู้ประมูลคาดหมายว่าน่าจะได้ราคาอยู่ที่ราว 7,000-10,000 ดอลลาร์ หรือราว 230,900-329,900 บาทเท่านั้นเอง

ยังไม่มีการเปิดเผยตัวผู้ที่ประมูลภาพแต่อย่างใด

เบื้องหลังงานศิลป์จากปัญญาประดิษฐ์ชิ้นนี้ Portrait of Edmond Bellamy สร้างสรรค์ขึ้นโดยอัลกอริธึม ชื่อว่า Generative Adversarial Networks (GANs) คอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ซึ่งเป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยสมาชิกของกลุ่มทำงานศิลปะชื่อ “ออบเวียส” 3 คน ที่ร่วมมือกันดำเนินกระบวนการที่ลงเอยด้วยผลงานชิ้นนี้ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เป็นภาพพอร์ตเทรตหรือภาพบุคคลของชายผู้หนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับบุคคลที่เคยปรากฏอยู่ในงานศิลปะในประวัติศาสตร์

ทางคริสตีส์เองตั้งข้อสังเกตว่า เนื่องจากชายในภาพสวมเสื้อดำ มีปกสีขาว จึง “อาจเป็นไปได้ว่าเป็นบุคคลในโบสถ์ (คริสต์)”

ริชาร์ด ลอยด์ ผู้จัดการการประมูลของคริสตีส์ระบุว่า งานศิลปะจากเอไอชิ้นนี้ โดยรวมแล้วก็ไม่ต่างจากภาพจิตรกรรมอีกเป็นจำนวนมากที่คริสตีส์นำออกประมูลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ถึงแม้งานชิ้นนี้จะไม่ได้เป็นฝีมือของศิลปินคนสำคัญ

แต่ก็เป็นงานศิลป์ชิ้นหนึ่งเหมือนกับงานทั้งหลายที่คริสตีส์จำหน่ายไปตลอด 250 ปี

 

ภาพวาดมีขนาด 70 x 70 ซ.ม. บนผืนผ้าใบชิ้นนี้เป็นผลงานจากระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในรูปแบบที่มีชื่อเรียกว่า GAN (Generative Adversarial Network) โดยเจ้าระบบปัญญาประดิษฐ์ GAN นี้ ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มที่มีชื่อว่า Obvious ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มศิลปินและนักวิจัยในเทคโนโลยี AI พวกเขาทำการสอนให้ปัญญาประดิษฐ์ AI รู้จักการวาดภาพ

Caselles-Dupr? เองกล่าวว่า “เทคโนโลยีใหม่นี้เปิดโอกาสให้เราทดลองเรื่องความคิดสร้างสรรค์ของจักรกล และในขณะเดียวกันก็สำรวจเรื่องบทบาทของศิลปินในกระบวนการสร้างสรรค์”

โดยความสำเร็จครั้งนี้เริ่มจากเอาภาพพอร์ตเทรตภาพวาดบุคคลในช่วงศตวรรษที่ 14-20 เป็นจำนวนมากถึง 15,000 ภาพ ป้อนให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบ AI ทำการเรียนรู้

งานศิลป์ในคอลเล็กชั่นดังกล่าวนั้นเป็นงานฝีมือของจิตรกรจำนวนมากจากอดีต

และถึงแม้ว่า AI จะไม่เข้าใจว่าศิลปะคืออะไร แต่มันก็สามารถเรียนรู้รูปแบบจากภาพวาดจำนวนมากด้วยวิธีการของมันเอง

 

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถซึมซับรายละเอียดจากภาพวาดในช่วงหลายศตวรรษ และสามารถสร้างสรรค์ผลงานภาพวาดที่เป็นบทสรุปรวมของผลงานจากหลายจิตรกรดัง

แต่ความสามารถนั้นเป็นอะไรที่ลึกซึ้ง ขณะที่ภาพถ่ายเซลฟี่ให้กลายเป็นภาพวาดในสไตล์ของศิลปินอย่างปิกัสโซ่ หรือโกลด มอแน (Claude Monet) ทำการวิเคราะห์ว่าทิศทางของงานศิลปะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในช่วงศตวรรษ และสร้างสรรค์ผลงานที่มีความทันสมัยโดยอิงจากสไตล์ภาพวาดในช่วงศตวรรษที่ 18

ต่อจากนั้นทีมงานใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะเรียกว่า “เจเนอเรเตอร์” สร้างภาพพอร์ตเทรตขึ้นมาใหม่โดยอาศัยข้อมูลทั้งหมดที่ป้อนเข้าไปในระบบเป็นพื้นฐาน

เมื่อแล้วเสร็จ ก็นำภาพที่ได้ไปผ่านโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเฉพาะอีกตัวซึ่งเรียกว่า “Discriminator” ให้ทำหน้าที่หาความแตกต่างระหว่างภาพที่จิตรกรมนุษย์เขียนขึ้นกับภาพที่สร้างขึ้นโดย “เจเนอเรเตอร์”

กระบวนการวาดจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนกว่า Discriminator จะไม่สามารถแยกความแตกต่างออก นั่นหมายความว่าภาพนั้นดีพอ พร้อมนำไปขายแล้ว

เป้าหมายก็เพื่อให้เจเนอเรเตอร์สร้างผลงานที่ดีที่สุดขึ้นมาจนสามารถหลอก Discriminator ได้ว่าผลงานดังกล่าวเป็นภาพเขียนฝีมือมนุษย์จริงๆ

ผลที่ได้ก็คือ ภาพพอร์ตเทรตที่เป็นผลงานชุดหนึ่ง และหนึ่งในจำนวนนั้นคือ “Portrait of Edmond Bellamy”

ภาพวาดจากระบบปัญญาประดิษฐ์ ที่ถูกนำออกมาประมูล ที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนในครั้งนี้ ถือเป็นผลงานจากปัญญาประดิษฐ์ที่อาจจะส่งผลต่ออนาคตของงานศิลป์ของเหล่าศิลปินก็เป็นไปได้

 

https://youtu.be/Nb8jA-PhWFs?t=15

ที่มา

https://www.digitaltrends.com/cool-tech/ai-painting-goes-up-for-auction/

https://www.smithsonianmag.com/smart-news/christies-will-be-first-auction-house-sell-art-made-artificial-intelligence-180970086/