อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : BCIM และจีน-เมียนมา

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

BCIM เป็นข้อริเริ่มจากจีน โดยเชื่อมจากเมืองคุนหมิงมายังเมือง Kolkata ของอินเดีย แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องผ่านเมียนมา แต่ดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ที่ลุ่มๆ ดอนๆ ระหว่างจีนและเมียนมานี่เองที่ทำให้การเชื่อมโยงระหว่างเมืองคุนหมิงกับ Kolkata แทบไม่มีพัฒนาการเลย

ความจริงแล้ว ก่อนที่จะมีโครงการ BCIM จีนมีความสัมพันธ์ทางการค้าโดยผ่านความเชื่อมโยงระหว่างเมืองคือ Ruili/Yunnan to Muse to Lashio ขึ้นไปเมืองเอกในภาคกลางของเมียนมาคือ Mandalay ซึ่งตลอดเส้นทางของเมือง 4 เมืองนี้มีผู้ประกอบการจีนรุ่นใหม่เข้าไปทำการค้าตลอดเส้นทาง

ในแง่ภาพรวมการค้าทวิภาคีจีน-เมียนมา จนถึงปี 2011 การค้าของเมียนมาเพิ่มขึ้น 27.5% จากมูลค่าการค้าทั้งหมดในช่วงปี 2011-2012 และได้เป็นการเพิ่มขึ้น 37.0% อันเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 4 ของอาเซียนกับเมียนมาซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 20 billion us dollars

สินค้าสำคัญได้แก่ วัตถุดิบ สินค้าขั้นกลาง เช่น ไม้สัก พลอย อัญมณี ยางพารา น้ำมันดิบ ผัก ปลา อันเป็นการส่งออกจากทางมณฑลยูนนานทั้งสิ้น

นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา บริษัท China National Petroleum Corporation ได้เข้าไปลงทุนด้านขุดเจาะน้ำมัน

หลังจากนั้นไม่กี่ปี มี 4 บริษัทเข้าไปลงทุนด้านน้ำมัน รวมทั้ง SIMOPEC ในปี 2004 มีการลงทุนขุดน้ำมันนอกชายฝั่งในทางตอนตะวันตกเฉียงเหนือของมัณฑะเลย์ ผู้ลงทุนคือ China National Offshore Oil Co

ซึ่งได้แหล่งน้ำมันนอกชายฝั่งใน Ramree Island (1) รวมทั้งอีก 4 แหล่งก๊าซธรรมชาติ (2)

 

ควรทราบก่อนว่า ความสัมพันธ์จีนกับเมียนมาในอดีตลุ่มๆ ดอนๆ ในช่วงสงครามเย็น

รัฐบาลเผด็จการทหารเมียนมาปิดประเทศ หันมาใช้นโยบาย Burmese to Socialism แต่จีนได้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์เมียนมา รวมทั้งกองกำลังติดอาวุธชนเผ่าที่ขัดแย้งและต้องการประกาศเอกราชจากเมียนมา

แต่เมื่อมีการเลือกตั้งปี 1988 พรรค NLD ของนางออง ซาน ซูจี ได้รับชัยชนะ แต่ทหารได้ทำการปฏิวัติ นานาชาติต่างบอยคอตเมียนมาและกดดันให้ปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี ออกจากการกักตัวในบ้าน

แต่จีนกลับสนับสนุนรัฐบาลทหารเมียนมาโดยใช้สิทธิวีโต้การประณามของ UN Security Council ในปี 2007

ถึงแม้มีการเลือกตั้งในปี 2010 เมียนมาเปิดกว้าง มีการปฏิรูปการเมืองและปฏิรูปเศรษฐกิจ แต่ความสัมพันธ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนกับรัฐบาลพลเรือนที่นำโดยพรรค NLD ไม่ค่อยราบรื่นนัก

เพราะรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่สานงานปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลเมียนมาที่นำโดยนายพลเต็ง เส่ง ซึ่งได้ระงับโครงการการลงทุนของต่างชาติหลายโครงการ ซึ่งรวมทั้งการทำเหมืองทองแดงและโครงการท่อกาซและน้ำมัน ซึ่งโครงการนี้อยู่ที่ Kyaukpyu ในรัฐ Rakhine

ในภายหลัง เราเห็นการปรับความสัมพันธ์ของรัฐบาลจีนทั้งการเยือนของรัฐมนตรีต่างประเทศจีนต่อเมียนมาหลายครั้ง

การเข้าร่วมประชุมของนางออง ซาน ซูจี เรื่อง Belt and Road Forum ที่ทะเลสาบ Yanqi นครปักกิ่ง เมื่อ 15 พฤษภาคม 2017

แต่การเปิดโรงงานเหมืองแร่ทองแดง การดำเนินการก่อสร้างเขื่อนพลังน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า Myitsone และการดำเนินการขนส่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจาก Kyaukpyu ก็ได้รับการต่อต้านจากประชาชนเมียนมาซึ่งโจมตีว่ามีการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างมาก

ทั้งนี้ รัฐบาลพลเรือนเมียนมาก็ปล่อยให้มีการประท้วงของประชาชนต่อไป

 

ความจริงแล้ว จีนพยายามรื้อฟื้นความสัมพันธ์ที่หมางเมินกับเมียนมาอย่างมาก หลังมีการเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ของเมียนมาคือ Win Myint ในเดือนมีนาคม 2018 จีนได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าพบประธานาธิบดีเมียนมาคนใหม่ทันที

พร้อมกันนั้น Song Tao, minister of the International Department of the Communist Party ของจีนได้เข้าพบ State Councilor Aung San Suu Kyi ที่ Nayiptaw พร้อมทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศจีน นาย Wang Yi ได้เข้าพบอดีตประธานาธิบดี U Thein Sein

อีกทั้งเสนอโครงการ China-Myanmar Economic Corridor ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ ความจริงจีนได้เสนอการสร้างทางรถไฟความเร็วสูง แต่โครงการนี้ได้หยุดไป

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2017 Wang Yi เสนอเมียนมาเป็น Economic corridor เป็นส่วนหนึ่งของ One Belt One Road-OBOR ซึ่งตั้งต้นจากมณฑลยูนนานถึงมัณฑะเลย์ของตอนกลางของเมียนมา และจะสร้าง Special Economic Zone ที่ Rakhine state (3)

นั่นหมายความว่า เมียนมาเป็นศูนย์กลางทางด้านยุทธศาสตร์ของจีนในแง่การค้า ความมั่นคงทางพลังงานและโครงการ OBOR ด้วย

ดังนั้น เสถียรภาพของรัฐ Rakhine เป็นสิ่งสำคัญของความสำเร็จนั้น

แต่ทว่าถ้าย้อนกลับไปดู BCIM ส่วนของจีนคือเมืองคุนหมิง เชื่อมถนนต่อกับเมือง Kolkata ของอินเดียแทบไม่มีความคืบหน้าเลย

ดังนั้น ข้อเสนอของจีนเรื่อง OBOR Special Economic Zone และ China-Myanmar Economic Corridor จึงไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ Kunming initiative ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ BCIM

มิหนำซ้ำความสัมพันธ์จีนกับเมียนมาภายใต้ความตื่นตัวของประชาชนเมียนมาย่อมชี้ให้เห็นว่า ประชาชนไม่พอใจโครงการเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ โครงการเหมืองทองแดง โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันที่จีนมาลงทุน

นี่เองที่เป็นเหตุผลสำคัญให้ BCIM มีพัฒนาการน้อยมาก ในเวลาเดียวกันการบูรณาการต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ก็มีแต่การประชุม ข้อเสนอแนะ แต่ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด

———————————————————————————————————————–
(1) Arakan Coast
(2) Egreteau R. (2012), “Burmese Tango : Indian and Chinese Games and Gains in Burma (Myanmar) since 1988”, in Devare, S.T., S. Singh and R. Marwa (eds.), Emerging China : Prospects for Partnership in Asia, Routledge.
(3) Htet Naing Zaw, “Analysis : China”s shadow over Myanmar” The Irrawaddy 25 April 2018