อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : GLCs

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

GLCs ย่อมาจาก Government-linked companies หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลอันเป็นองคาพยพอันแข็งแกร่งของรัฐบาลมาเลเซีย แต่กำลังอยู่ในฐานะง่อนแง่นที่สุดจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองคือพรรคร่วมฝ่ายค้านเอาชนะพรรครัฐบาลเป็นครั้งแรก แต่ความง่อนแง่นนี้อาจไปไกลถึงฐานะของเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียเลยทีเดียว ผมจึงอยากนำเสนอบางด้านของ GLCs

ก่อนการเลือกตั้งเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้นำฝ่ายค้าน ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด หยิบยกความวิตกกังวลบทบาทของ GLCs ที่แสดงบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจคือ ทั้งมีขนาดใหญ่และร่ำรวย พอที่จะเรียกขานว่าเป็น “อสุรกาย” ได้

มีข้อมูลสนับสนุนว่า สัดส่วนของ GLCs เป็นครึ่งหนึ่งของ Kuala Lumpur Index และมีบริษัทอยู่ 7 บริษัทที่เป็น 10 บริษัทอันดับใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียในปี ค.ศ.20181

GLCs มีบทบาทในเกือบทุกภาคเศรษฐกิจสำคัญของมาเลเซีย ในระดับโลกแล้ว GLCs ของรัฐบาลมาเลเซียอยู่ในอันดับ 5 สูงสุดที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ

หลังการเลือกตั้งที่ผ่านมามีข้อมูลเกี่ยวกับ GLCs ปล่อยออกมามากขึ้น

มีรายงานว่ารัฐบาลมาเลเซียชุดที่แล้วได้ใช้ธนาคารกลางมาเลเซีย (Malaysia”s Central Bank) และ Khazanak ซึ่งเป็น sovereign wealth fund อันหนึ่งให้บริการข้อผูกมัดทางหนี้สินของคดีฉ้อโกง 1 Malaysia Development Berhad Government Fund และผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซียได้ลาออกจากตำแหน่ง

ข่าวสารได้เผยออกมาว่า GLCs เกี่ยวข้องกับโครงการฉ้อโกงที่ดินจำนวนมหาศาลที่เกี่ยวพันกับ Felda Global Ventures ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเกษตรแปลงใหญ่ (plantation) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ยังมีรายงานการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจำนวนมหาศาลของ GLCs เป็นเวลาหลายปี รวมแล้วอาจสูงถึง RM 85 พันล้าน หรือ 21 พันล้านเหรียญสหรัฐ2

จนมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า GLCs เปรียบได้ดัง “รังของพวกนักปล้น” และรัฐบาลมาเลเซียควรขายมันออกไปให้หมด ข้อเสนอนี้อาจถูกมองว่าสุดโต่งเกินไป

 

ย้อนพินิจ

สําหรับ GLCs คำตอบมีความตรงไปตรงมา ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด อ้างว่า GLCs หลุดออกจากแนวทางการทำหน้าที่ดั้งเดิม ก่อนที่รัฐบาลมาเลเซียจะตัดสินใจว่าทำอะไร ต้องมีการตรวจสอบก่อนว่า บทบาทของ GLCs ควรทำหน้าที่อะไร ซึ่งไม่ใช่บทบาทของ GLCs ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และต้องตรวจสอบด้วยว่า ผลกระทบของ GLCs ต่อเศรษฐกิจมาเลเซียจะเป็นอย่างไร

ในมาเลเซีย GLCs ทำหน้าที่ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวคือ ช่วยโครงการต่างๆ ของรัฐบาลในการปรับปรุงคนเชื้อชาติมาเลย์และคนพื้นเมืองอื่นๆ หรือที่เรียกว่าภูมิบุตรา (Bumiputera) มีความตั้งใจช่วยสร้างผู้ประกอบการ (entrepreneur) ชนชั้นใหม่ของภูมิบุตราเป็นอันดับแรกโดยผ่าน GLCs และต่อจากนั้นผ่านกระบวนการปลดเปลื้องคนเหล่านั้นทางเศรษฐกิจ สังคม และเพื่อสถานะทางการเมือง

มองในแง่จำนวนเงินที่เกี่ยวข้องและต้นทุนที่สร้างความเสียหาย ผลตอบแทนของ GLCs ต่อภูมิบุตราไม่ยุติธรรมและการกระจายตัวไม่เป็นธรรม วิธีการใช้ GLCs เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับล้มเหลวเพราะนำไปสู่การเติบโตขึ้นของทุนนิยมพวกพ้อง (Crony Capitalism) การพึ่งพารัฐ (state dependence) การเข้าครอบงำกฎกติกา (regulatory capture) และการคอร์รัปชั่นอันมโหฬาร

ยังมีหลักฐานเป็นรูปธรรมว่า GLCs แย่งชิงการลงทุนของภาคเอกชนและถูกหยิบยกว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับ New Economic Model ของมาเลเซียตั้งแต่ปี ค.ศ.2011

 

ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า หนี้สินของมาเลเซียอาจมีความไม่ปลอดภัยมากกว่าที่คิดเอาไว้ตั้งแต่ตอนแรก รัฐบาลใหม่ของมาเลเซียเน้นการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง รวม Balance sheet และหนี้สินที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เช่น การค้ำประกันต่างๆ ของรัฐบาล และการสั่งจ่ายเงินในโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่เรียกว่า Public-Private Partnership ในกรณีต่างๆ การเข้าถึงหนี้ที่ปรากฏออกมาโดยการใช้บริษัทในต่างประเทศ และเครื่องมือเฉพาะกิจพิเศษที่คิดอย่างรอบคอบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงร่างอีกครั้งหนึ่ง ที่ผูกพันอย่างแน่นอนว่าการคิดคำนวณหนี้เดิมต่ำกว่าหนี้สินจริงของมาเลเซีย

ปัจจัยต่างๆ ทั้งหมดนี้รวมอยู่ใน “แรงกระตุ้นใหม่” เพื่อการขยายไปสู่ความเกี่ยวข้องของรัฐบาลในภาคธุรกิจ การปลดเปลื้องจะไม่ได้แก้ปัญหาหนี้สินของรัฐบาลมาเลเซีย แต่มันสามารถช่วยได้ถ้ามีเหตุผลดีๆ ที่จะผลักดันต่อไปว่ารัฐบาลมาเลเซียควรทำอย่างไรต่อไป

มันมีความสำคัญในการยอมรับจากภายนอกถึง “ความชอบธรรม” ของรัฐบาลมาเลเซียในภาคธุรกิจ การจัดการบริการสาธารณะ

การนำเสนอความล้มเหลวของตลาดหรือการสนับสนุนความก้าวหน้าทางสังคมก็เหมือนกับทุกประเทศที่มี GLCs ที่ดีและที่เลว ในมาเลเซียถ้า GLCs ไม่เบียดขับกับบริษัทเอกชน มีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ ต่อจากนั้นก็ไม่มีเหตุผลที่จะพิจารณาปลดเปลื้องบริษัทที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล

แต่ถ้า GLCs เบียดขับภาคธุรกิจเอกชนในภาคส่วนหนึ่งโดยไม่มีรัฐบาลหรือหน้าที่ทางสังคมอันหนึ่งอันใด หรือทำงานอย่างไม่มีศักยภาพพอควร มีตัวแทนที่จะทำการปลดเปลื้อง กระบวนการปลดเปลื้องนี้ควรมีการจัดการที่ระมัดระวัง เพื่อให้แน่ใจว่าทรัพย์สินสาธารณะจัดเข้าที่ตรงกับมูลค่าทางตลาดที่ยุติธรรมและกระบวนการปลดเปลื้องภาคเศรษฐกิจครั้งนี้ไม่กระจุกตัวในอำนาจหรือความมั่งคั่งในมือของคนจำนวนน้อย

GLCs ในมาเลเซียก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “รวยกระจุก จนกระจาย” จนเศรษฐกิจก้าวเข้าสู่ความพังพินาศ

ใครสร้างอสุรกายตัวนี้ มาตรการอะไรจะควบคุมอสุรกายตัวนี้ หรือนี่คือภาพจริงของเศรษฐกิจการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพียงแต่ขนานนามต่างกันเท่านั้น

อย่าเชื่อ 4.0 อย่าเชื่อแผนยุทธศาสตร์ชาติ มาเลเซียทำมาก่อนทั้งนั้น แล้วเป็นอย่างไร

———————————————————————————————————————-
(1) http://www.ideas.org.my/wp-content/uploads/2017/12/PI45-Government-Linked-companies-and-its-Impacts-on-the-Malaysian-Economy-V4.pdf

(2) https//www.themalaysiainsight.com/s/1002/