เป้าหมายราคายางยังต้องการอยู่ที่กิโลกรัมละ ?

เตรียมดึงเวียดนามร่วม บริษัทร่วมทุนยางพารา

กฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เปิดเผย

มาตรการดำเนินการหยุดกรีดยางในพื้นที่หน่วยงานรัฐและโครงการชะลอการส่งออกที่จบโครงการไปแล้วเมื่อเดือนมีนาคม สะท้อนให้เห็นหรือไม่ว่า

ผลจากการดำเนินงานทำให้ราคาที่เกษตรกรได้รับปรับขึ้นหรือไม่ และคุ้มกับงบประมาณที่รัฐบาลจ่ายไปในแต่ละโครงการหรือไม่

เป้าหมายราคายางยังต้องการที่กิโลกรัมละ 60 บาท หรือสูงกว่าต้นทุน ในขณะที่ 3 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-มีนาคม) ราคาสูงสุดอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท และปรับลดลงในเดือนเมษายนอยู่ที่กิโลกรัมละ 48 บาท

ดังนั้น ต้องมาพิจารณาดูใหม่ว่ามาตรการต่างๆ ได้ผลจริง หรือเพื่อนำมาปรับเปลี่ยนแก้ไขได้อย่างเหมาะสม

กรณีที่เวียดนามส่งออกยางไปตลาดจีนในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมมากขึ้นถึงร้อยละ 30 ประเมินว่าเป็นผลจากที่ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ร่วมกันชะลอส่งออกรวม 3 แสนตัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องดึงเวียดนามเข้าร่วมเป็นภาคีในบริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศด้วย

ในเบื้องต้นได้หารือและให้เวียดนามได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในที่ประชุมหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่ยอมเข้าเป็นสมาชิกถาวร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยืนยันที่จะใช้มาตรการหยุดยางต่อเนื่องจากตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายนในพื้นที่ที่เกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการ โดยจะได้รับการชดเชยให้ตามความเหมาะสม ส่วนงบประมาณที่ใช้อยู่ที่ 13,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีทุนประเดิมผ่านความเห็นชอบจาก ครม. แล้ว 2,000 ล้านบาท

คาดว่าบางส่วนจะใช้จากเงินค่าธรรมเนียมพิเศษจากการส่งออกยาง (เงินเซส) แต่ต้องหารือกับคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดยคณะกรรมการ กยท. เห็นว่าโครงการนี้ใช้เงินเซสได้ แต่ผู้บริหาร กยท. ระบุว่าใช้ไม่ได้ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย