จรัญ มะลูลีม : แนวคิดของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ว่าด้วยมุมมองที่มีต่อโลกมุสลิมปัจจุบัน (1)

จรัญ มะลูลีม
ที่มาภาพ : http://www.gmmoderates.org/

หมายเหตุ – 

Concluding Keynote Speaker ของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ที่นำมาเสนอนี้มาจากการประชุมนานาชาติเรื่องความเป็นสายกลาง – แนวคิดของอิสลามในการเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านของ ASEAN – ประเทศไทย (Moderation – An Islamic Approach to Face the Global Transition on ASEAN – Thailand) ณ ห้อง 111 ตึกมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ.2017 จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Wasatiyyah Institule for Peace and Development of Thailand และ Chula Global Network ขอขอบคุณ ดร.มุฮัมมัด ฟาฮีม (Mohd Faheem) อาจารย์จากโครงการอินเดียศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ถ่ายเทปภาษาอังกฤษ

อัสลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮ์ฮิวะบะเราะกาตุฮ์ ขอความสันติสุขและความเมตตาจากอัลลอฮ์จงมีกับทุกท่าน

บิสมิลลา ฮิรเราะห์มานิรเราะห์ฮีม (ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณา)

ท่านเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำราชอาณาจักรไทย ดะโต๊ะ นะซีเราะฮ์ (Dato Nazirah) ดร.นะชาห์รุดดีน (Dr.Nasharuddirs) แห่ง GMM ดร.วินัย ดะห์ลัน ดร.จรัญ มะลูลีม สมาชิกคณะกรรมการผู้จัดงาน ผู้เข้าร่วมผู้มีเกียรติทุกท่าน สุภาพบุรุษและสุภาพสตรี

การที่ผมได้รับเชิญครั้งนี้ก็ด้วยแก่นแกนของความรู้สึกที่ยังต้องการความรู้ เนื่องจากประเด็นที่ท่านขอให้ผมพูดนั้นเป็นประเด็นที่อ่อนไหวที่สุด

ด้วยเหตุนี้กระผมจึงเอาหนังสือเหล่านี้มาด้วยเพื่อที่ผมจะได้อ้างอิงในเรื่องที่ต้องการได้ อย่างน้อยผมก็จะเปิดให้ท่านเห็นความเป็นวิชาการที่มีอยู่ในตัวผมได้

 

ผมอยู่ในอาชีพการทูตมาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 40 ปี แต่ในส่วนลึกแล้วผมยังคงเป็นนักศึกษาที่ยังคงต้องแสวงหาความรู้ให้มากขึ้น เข้าใจมากขึ้นและหาทางนำมากขึ้น

เมื่อผมพูดว่ามันไม่ได้ห่างไกลจากประเด็นที่จะนำเสนอวันนี้ ผมคิดว่าปัญหาความสุดโต่ง การท้าทายของความเป็นอนุรักษนิยมสุดโต่ง และการได้มาจากแหล่งต่างๆ ของความสุดโต่งและความอนุรักษ์อย่างสุดโต่งนี้จะต้องมีอะไรบางอย่างขาดหายไปอย่างที่นักปรัชญาเรียกมันว่าความอ่อนด้อยทางปรัชญา ซึ่งมีความหมายว่าผมรู้ว่าผมรู้น้อย ซึ่งอย่างไรเสียก็เป็นความหมายในจารีตของอิสลาม

วิทยปัญญาจากปอเนาะ (Pondok) จากมัดเราะซะฮ์ (Madarasa) จากโรงเรียนในภาคใต้ของไทย ภาคใต้ของฟิลิปปินส์ภาคเหนือของมาเลเซีย ในที่สุดวิทยปัญญาจากมัดเราะซะฮ์ก็อยู่ในตอนปลายของการอ่านตำรา จากการอ่านกุรอานหรืออื่นๆ พร้อมๆ ไปกับนักศึกษา ศาสตราจารย์และกูรูที่ปลุกเร้าวลีนี้ขึ้นมาได้อย่างน่าติดตาม วัลลอฮุอะลัม (อัลลอฮ์เท่านั้นที่ทรงรู้)

ผมจะแสดงให้เห็นในหน้าของหนังสือเล่มนี้ ถือกันว่าอิบนุ ค็อลดูน (Ibn Klaldun) นักปรัชญาแห่งศตวรรษที่ 15 เป็นผู้ค้นพบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งรวมทั้งประวัติศาสตร์ สังคมวิทยาและมนุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์และวิชาว่าด้วยจริยศาสตร์

 

ในทางภูมิศาสตร์ อิบนุ ค็อลดูน เป็นชาวเยเมนแต่ได้เคลื่อนไหวไปถึงอียิปต์ แอฟริกาเหนือ และในตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้ เป็นบทนำของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เขากล่าวว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงรู้ดีที่สุดถึงจารีต การประจักษ์รับรู้และการยอมรับในความรู้สึกที่ว่า ฉันรู้น้อยมาก ดังนั้น ฉันควรจะกลับมาตั้งหลักในการที่จะเข้าไปตัดสินคนอื่น

ปัญหาของความอนุรักษนิยมสุดโต่งและปัญหาของความสุดโต่งเกิดจากการขาดการยอมรับในความจริงที่ว่าฉันรู้น้อยมาก

เพื่อให้ความเป็นสายกลางหยั่งรากลงท่านจำเป็นต้องเข้าใจปรัชญาของความเป็นนักวิชาการ ซึ่งท่านกำลังเป็นอยู่ภายใต้หมุดหมาย ที่บอกเล่ากับผู้ที่ได้รับการฝึกฝนในความเป็นปัญญาชนของพวกเขา ว่าพวกเขาต้องมีความเข้าใจทางปรัชญาว่าอาณาจักรแห่งความรู้นั้นได้เปิดอยู่ตลอดเวลา

มนุษยชาติถูกสร้างขึ้นมาจากพระองค์ผู้ทรงมอบฮิกมะฮ์ (วิทยาปัญญา) ความสามารถในการใช้เหตุผล ความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งเราสามารถใช้ความคิดเพื่อที่จะเข้าใจปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

ในกุรอาน ในหะดีษ (Hadith – คำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัด) และในจารีตของอิสลามศึกษาที่เป็นที่รู้จักกันนั้นมีความเจริญเติบโตมาจากการยอมรับว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการใช้เหตุผล (Insanul na diq) ดังนั้น ผมขอกล่าวว่าความเป็นสายกลางจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อท่านมีชุดมุมมองและความคิดซึ่งผมจะพูดถึงอย่างเต็มที่ในเรื่องนี้

 

ผมขอทิ้งบางส่วนไว้ให้สำหรับความมั่นใจในเรื่องที่ว่าเขารู้มากกว่าผมไว้ก่อน

ดังนั้น เมื่อผมบอกนักศึกษาของผมในสิ่งที่ผมกำลังเขียนในเรื่องที่ผมกำลังสื่อสาร ในเรื่องที่ผมกำลังตัดสินอยู่นั้น มันอาจจะถูกเพียงร้อยละ 75 หรือผมอาจจะถูกแค่ร้อยละ 50 หรือร้อยละ 50 ผิด หรืออาจจะเป็นร้อยละ 25 เท่านั้นที่ถูกก็ได้

และเราจะขับเคลื่อนขบวนการเคลื่อนไหวของโลกในเรื่องความเป็นสายกลางอย่างไร? หากว่าเราไม่มีพื้นฐานการตั้งข้อสมมติฐานของสารนั้น?

ความเป็นสายกลางหมายถึงว่าผมยับยั้งจากการเรียกท่านว่ากาฟิร (คนนอกศาสนา) จากการพูดว่าสิ่งที่ท่านกำลังทำอยู่นั้นหะรอม (เป็นสิ่งต้องห้าม) แทนการพูดว่าความคิดของผมเป็นความคิดเดียวที่ถูกต้องส่วนคนอื่นไม่มีความหมาย ซึ่งการพูดเช่นนั้นเป็นของลัทธิสุดขั้ว เป็นการยึดมั่นถือมั่นเป็นความคับแคบของความคิดมากกว่าจะเป็นการเปิดกว้างในการแก้ไขปัญหา

ผมไปอยู่ที่อ๊อกซ์ฟอร์ดเป็นปีและผมก็ไม่เคยมีการศึกษาแบบอังกฤษ ผมภูมิใจกับการสมาคมที่นั่นและการสังกัดอยู่กับอ๊อกซ์ฟอร์ด

ผมซื้อเข็มอันหนึ่งและกลัดมันลงในเสื้อคลุมของผม ผมเดินเข้าไปในมัสญิดที่กรุงลอนดอน และถูกมือมือหนึ่งมาดึงไว้แล้วเอาเข็มออกจากเสื้อคลุมของผมไป

ผมคิดเอาด้วยการตั้งสมมติฐานว่า หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าไม่ต้องการรู้ ไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าคุณคุ้นเคยกับอ๊อกซ์ฟอร์ด

แต่ผมพูดว่ามาชาอัลลอฮ์ (ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮ์) ผมไม่ได้คิดอะไรในเรื่องเหล่านี้เลย และผมมาที่นี่ก็เพื่อจะละหมาดและผมก็มาที่นี้ในช่วงเวลาอัศร์ (Asr) ซึ่งเป็นการละหมาดตอนบ่ายพอดี

ผมแค่เพียงต้องการละหมาด และการมาที่นี่ก็ไม่ได้มาทำอะไร แต่นักวิชาการจากซูดาน ซึ่งนั่งรถเข็นคันนี้เชิญผมเข้าไปแล้วให้ถอดเข็มออกเสีย

คุณไม่ควรสวมใส่สิ่งใดๆ ต่อหน้าอัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา

เวลานี้คุณเป็นคนสายกลาง คุณไม่ต้องไปเรียกร้องการตัดสินนั้น ถ้าคุณเป็นคนสายกลาง คุณจะลังเลที่จะบอกคนอื่นๆ ที่จะแก้ไขคนอื่นๆ เพื่อยัดเยียดความคิดของคุณในประเด็นนั้นไปที่คนอื่น

ด้วยเหตุนี้ ผมคิดว่าสิ่งแรกที่จะนำเสนอจึงเป็นเรื่องของความเป็นปรัชญา ความเป็นวิชาการ การมีพื้นฐานว่าอะไรคือความเป็นสายกลาง อะไรคือสายกลางเสียก่อน

 

ดังนั้น สำหรับผม ท่านต้องใช้ชุดความคิดใหม่ ชุดความคิดที่ยอมให้มีการใช้ปัญญาของมนุษย์ อิบนุ ค็อลดูน เรียกมันว่า “อุปนิสัยของความมีปัญญา” หมายความว่าคุณใช้ความสามารถในการใช้เหตุผลเพื่ออนุมาน เพื่อหาข้อสรุปว่าอะไรเป็นอะไร อะไรถูก อะไรผิด ด้วยตัวคุณเอง

แน่ละภายในกรอบ ในหะดีษ ในกุรอานหรือว่าตัวคุณเอง อิจญ์ติฮาด (Ittihad การใช้เหตุผล) จะมีอยู่ที่นั่นด้วย แล้วคุณรับผิดชอบสำหรับสิ่งนี้ ด้วยเหตุนี้ในผู้เข้าใจกุรอานอัลลอฮ์มิได้คาดหวังถึงความสามารถของเขาหรือเธอมากกว่า dyo

นั่นเป็นเรื่องส่วนบุคคล ที่มีการเรียกร้องให้ยืนขึ้นและใช้ความมีเหตุผลของตนเอง วิเคราะห์ด้วยตัวเอง และใช้การเปรียบเทียบของตนเอง

สิ่งที่สามารถอ่านจิตใจของคนสุดโต่งก็คือการถือเอาแนวทางแนวของเราแค่แนวทางเดียว คนอื่นๆ ผิดหมด ไม่มีใครเข้าใจเนื้อหาของหะดีษและมรดกที่เราได้รับมา 14,000 ปีที่แล้วได้

ไม่มีใครจะตัดสินในเรื่องนั้นได้ยกเว้นฉันและเรา นั่นเป็นสาเหตุของความสุดโต่ง นั้นเป็นระบบของความสุดโต่ง และนั่นเป็นสาเหตุของความขัดแย้งในหมู่พวกเรา และระหว่างเรา นี่เป็นปัญหาที่ท่านมีอยู่ในมาเลเซียและในอินโดนีเซีย เรียกกันว่าอิสลามของความเป็นอาหรับ (Arabisation of Islam)

สุลต่าน อิบรอฮีม อิบนิ อัลมัรฮูม สุลต่านอิสกันดัร (Sultan Ibrahim ibni Almarhan Sultin Iskandar) กล่าวว่า

เรามีบรรทัดฐานของตนเอง เรามีค่านิยมของเราเอง

เรามีอุปนิสัยของเราเอง มีอะไรผิดพลาดในรูปลักษณ์อิสลามของเราหรือ

มันเป็นประสบการณ์ที่พวกเราสั่งสมกันมา ผ่านกาลเวลา 400 ปีของอิสลามที่นี่ในคาบสมุทร

เวลานี้ทุกอย่างต้องถูกทิ้งขว้างไปและคุณต้องมายอมรับทรรศนะของการตีความของนักตีความศาสนาสุดขั้ว

สุลต่านอิบรอฮีมบอกว่านั่นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องจงระมัดระวังในเรื่องนี้