คุยกับทูต ‘อะศิม อะห์มัด’ พาไปรู้จัก “ปากีสถาน” อีกมุมหนึ่ง และ 67ปีแห่งความสัมพันธ์ไทย

คุยกับทูต อะศิม อะห์มัด ไทย-ปากีสถาน 67 ปีแห่งความสัมพันธ์ ที่ใกล้ชิดกันในทุกมิติ (1)

ปากีสถานเป็นประเทศสังคมมุสลิม เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม โดยเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์มากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นสมาชิกที่สำคัญขององค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) อีกทั้งเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง

คำว่า “ปากีสถาน” (Pakistan) ประกอบไปด้วยสองส่วนคือ Pak และ Istan ในขณะที่ Pak เป็นคำภาษาเปอร์เซียซึ่งหมายถึง ศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธิ์ สะอาด

คำว่า Istan มาจากคำว่า isthan ซึ่งเป็นคำภาษาฮินดูที่หมายถึง สถานที่ ตัวอย่างเช่น “Janum Isthan” หมายถึง สถานที่เกิด

มากราน (MAKRAN) เป็นส่วนหนึ่งของโค้งอ่าวและเวิ้งทะเลทราย

ดังนั้น คำว่า “ปากีสถาน” จึงหมายถึง สถานที่หรือประเทศอันศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธิ์ สะอาด แต่ไม่ใช่หมายถึง ดินแดนของชนบริสุทธิ์ (Land of the Pure)

คำว่า Pak เป็นคำคุณศัพท์ซึ่งขยายคำว่า “Istan” (Isthan) ที่หมายถึงสถานที่ไม่ใช่ประชาชนผู้อยู่อาศัย

นี่คือ บทสรรเสริญในเพลงชาติซึ่งเริ่มต้นด้วย Pak Sar Zamin Shad Baad อันเกี่ยวกับประชาชน เราจึงไม่อาจกล่าวว่า ชนทั้งหมดเป็นผู้ที่มีความบริสุทธิ์

Mohenjo-daro หรือ เนินของคนตาย ในภาษา Sindha นั้น เป็นสถานที่ใหญ่โตที่อารยธรรมแห่งหุบเขาอินดัสเข้ามาฝังรกรากที่นี่ราว 2600 ปีก่อนคริสต์ศักราช

เราขอต้อนรับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำประเทศไทยคนล่าสุดคือ นายอะศิม อิฟติคาร์ อะห์มัด (H.E. Mr. Asim Iftikhar Ahmad) ซึ่งมารับตำแหน่งเมื่อไม่นานมานี้คือเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา

ท่านทูตสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เมืองลาฮอร์ ปี ค.ศ.1991 สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าด้วยรางวัลเหรียญทอง และมหาวิทยาลัยปัญจาบ เมืองลาฮอร์ ปี ค.ศ.1988 สาขาศิลปะด้วยรางวัลเหรียญทองเช่นเดียวกัน

เริ่มต้นเข้ารับราชการในกระทรวงต่างประเทศของปากีสถานในปี ค.ศ.1993 เคยไปประจำสถานทูตปากีสถานในสาธารณรัฐไนเจอร์, สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก และเป็นอธิบดีกองงานสหประชาชาติ กระทรวงต่างประเทศปากีสถานระหว่างปี ค.ศ.2014-2017

Khyber Pass เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหม

ก่อนมารับหน้าที่เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำประเทศไทย

เหตุที่เลือกทำงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน

“ผมต้องการมีประสบการณ์ในการเป็นข้าราชการพลเรือน เพราะอาชีพนี้เปิดโอกาสให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดนโยบายของประเทศ ยิ่งมีความสนใจเพิ่มขึ้นในงานที่เกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน เพราะได้เข้าไปมีบทบาทระหว่างประเทศทั้งในมุมมองของส่วนบุคคลและมืออาชีพ ซึ่งต่างจากงานด้านอื่น” ท่านทูตอะห์มัดกล่าว

“งานที่เกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดนมีความเป็นเอกลักษณ์ เนื่องจากประกอบด้วยหน่วยงานและกลไกต่างๆ มากมายทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ซึ่งเราสามารถพัฒนาความสนใจและเรียงลำดับความสำคัญในประเด็นที่หลากหลายได้”

ประธาน สนช.ให้การรับรองในโอกาสเข้ารับหน้าที่ใหม่

“เช่น เป็นเวทีที่เราสามารถแสดงความสนับสนุนของเราในเรื่องสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ หรือในการติดตามนโยบายเรื่องของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รวมทั้งให้ความร่วมมือในการพัฒนาระดับภูมิภาค ตลอดจนการพัฒนาวัตถุประสงค์หลักอื่นๆ เช่น การแก้ไขปัญหาข้อพิพาทของแคว้นชัมมูและแคชเมียร์ ผ่านการสนับสนุนตามหลักการที่เรากำหนดเองและดำเนินการตามมติของสหประชาชาติ เป็นต้น”

“ผมคิดว่าในฐานะนักการทูต คุณจะรู้สึกพึงพอใจอย่างมากเมื่อเห็นผลงานและข้อมูลที่คุณนำเสนอ ได้ปรากฏอยู่ในนโยบายของรัฐบาลและคำแถลงการณ์ของผู้นำ ซึ่งนับว่าเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่ในการได้เป็นตัวแทนประเทศของคุณในฐานะทูตในประเทศอื่น ดังนั้น ผมจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสทำหน้าที่นี้ในประเทศไทย”

เมื่อถามว่า ตำแหน่งหน้าที่ที่คิดว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

“งานที่ได้รับมอบหมายทุกครั้งผมถือว่ามีความสำคัญ แต่เห็นได้ชัดว่ามันกลายเป็นความเรียกร้องและท้าทายมากขึ้นเมื่อคุณมีความก้าวหน้าในอาชีพ ตำแหน่งที่สูงขึ้นโอกาสและแนวทางในการดำเนินงานก็ยิ่งมีมากขึ้น ซึ่งผมก็ได้เห็นแนวทางและโอกาสเมื่อได้รับมอบหมายงานที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อมองย้อนกลับไป ผมถือว่า การที่ได้รับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายงานสหประชาชาติซึ่งมีความสำคัญจึงเหมือนกับผมได้รับรางวัล เพราะเป็นหนึ่งในตำแหน่งงานในกระทรวงต่างประเทศที่หลายคนต้องการมากที่สุด”

พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ แนะนำตัวเข้ารับตำแหน่งใหม่

“นอกจากนี้แล้วผมก็ภูมิใจที่ได้เป็นสมาชิกคนหนึ่งของทีมปากีสถานในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติระหว่างปี ค.ศ.2003-2004 และอีกครั้งในปี ค.ศ.2012-2013 โดยทำหน้าที่เป็นรองหัวหน้ารัฐมนตรีของประธานาธิบดีสมัชชาแห่งสหประชาชาติ ปี ค.ศ.2009- 2010”

“นับเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจมาก”

ทางเลือกและสถานการณ์ที่มาประจำประเทศไทย

“การดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตนั้น มีหลายปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณา จะมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับความสนใจ ประสบการณ์ และความพร้อมในการมาประจำตำแหน่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผมมีทางเลือกอยู่สองสามทาง แต่สำหรับประเทศไทย ผมไม่ต้องตรึกตรองมาก จากมุมมองของมืออาชีพถือว่าเป็นภารกิจที่สำคัญและน่าตื่นเต้น เพราะมีหลายอย่างที่เราสามารถทำได้ทั้งสองฝ่าย และในมุมมองของภูมิภาคที่กว้างขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาเซียน และที่นี่ก็เหมาะสมสำหรับครอบครัวอีกด้วย จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นสถานที่ที่ดีเยี่ยม”

มุมมองที่มีต่อประเทศไทย

“สำหรับผม นับเป็นครั้งแรกที่มาประเทศไทยและเป็นเอกอัครราชทูต ดังนั้น จึงเป็นประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร เราเคยได้ยินเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับประเทศไทยจากเพื่อนฝูงและครอบครัวของเรา เกี่ยวกับสถานที่และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ผู้คนที่เป็นมิตรและอื่นๆ ตอนนี้เราได้มาอยู่ที่นี่และกำลังเรียนรู้ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ”

หารือ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ

“แต่ที่ผมอยากจะพูดถึงอีกด้านหนึ่ง อันเป็นเรื่องที่เราได้ประสบหลังการมาถึงประเทศไทยไม่นานนักและได้กลายเป็นความประทับใจอันยาวนาน เพราะเมื่อเรามาถึงกรุงเทพฯนั้น ประเทศไทยอยู่ในช่วงเวลาของการไว้ทุกข์อย่างเป็นทางการแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สิ่งที่เราได้พบเห็นรวมทั้งความรู้สึกของเราตลอดช่วงเวลานั้น มาจนถึงงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในเดือนตุลาคม นับเป็นเรื่องพิเศษสุดที่ไม่ธรรมดา ในความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน”

“ความจงรักภักดีและความเคารพอันลึกซึ้งของคนไทยที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประสบการณ์เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ประทับอยู่ในความทรงจำของเราชั่วกาลนาน”