การเมืองไทย 2566 ในสายตา สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

ส่วนหนึ่งจากงาน “สมานมิตรฯ Return” #เปิดโกดังหนังสือดี  Special Talk: 2566 การเมืองไทย ไปทิศทางไหน

เสวนาสุดพิเศษ ชวนแลหลังมองหน้า หาคำตอบและร่วมตั้งคำถามไปพร้อมกันว่า “การเมืองไทย” ในอนาคตจะเป็นอย่างไร
กิจกรรมช่วงบ่ายสุดพิเศษ ร่วมคาดการณ์การเมืองไทยในปีที่กำลังจะมาถึงไปกับ “รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี” อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย กุลพัทธ์ เพิ่มพูน และ พิชญ์เดช แสงแก่นเพ็ชร์ ว่าด้วยการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไรบ้าง แต่ละพรรคการเมืองมีแนวโน้มอย่างไรในอนาคต
รศ.ดร.สิริพรรณ ยังทิ้งท้ายเสวนาด้วยการชวนอ่าน 6 เล่ม ที่จะทำให้เข้าใจการเมืองไทยมากขึ้น ได้แก่ ประชาธิปไตยที่ไม่ตั้งมั่น, ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย, สงครามเย็น (ใน)ระหว่าง โบว์ขาว, อุปถัมภ์ค้ำใคร, Behind the Illusion ระบอบลวงตา และ When we vote พลวัตการเลือกตั้ง และประชาธิปไตยในอาเซียน

การเมืองไทย 2566 รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวระหว่างร่วม special talk “2566 การเมืองไทย ไปทิศทางไหน” ว่า

เป็นโจทย์ยากมาก ประเมินว่า หลายคนมองว่า ตัวตึงจริงๆอยู่ที่ พรบ.การเลือกตั้ง และพล.อ.ประยุทธ์ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ แต่กฎหมายเลือกตั้ง ก็ไม่เอื้อกับพรรครวมไทยสร้างชาติแต่กลับเอื้อให้พรรคใหญ่

การกลับไปบัตรใบเดียวคงยาก เพราะขัดพรบ.พรรคการเมืองที่ผ่านไปแล้ว พรรคพลังประชารัฐเองก็ไม่ได้ประโยชน์จากกฎเดิม ที่หมอระวียื่นร้อง มี2 ประเด็นคือกระบวนการไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เกิดเหตุสภาล่มบ่อย ข้อ 2 เนื้อหาไม่ได้ผิดรัฐธรรมนูญและไม่ได้ตั้งใจกลับมาร้องใช้สูตรหาร 500 สิ่งที่หมอระวีร้องคือ มันมีเชื้อรัฐธรรมนูญว่าด้วย “ส.ส.พึงมี” การเอาบัตรเขตมาคำนวณกับ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ยังมีเชื้อเก่า ถือว่าขัด รธน.หรือไม่

ถ้าประเมินในแง่เนื้อหาว่าบางส่วนขัดเล็กน้อย ศาลรธน.เสมอให้แก้ไขได้ไม่ถึงกับตีตกทั้งหมดไป อาจมีเวลาแก้ทันหรือเลือกตั้งก่อนแล้สค่อยแก้ทีหลัง การที่ใช้มาตรการตุกติกไม่เข้าวาระ 3 ถือว่าไม่สง่างาม แต่ถ้าศาลเข้าไปเกี่ยว ก็เท่ากับไปก้าวก่ายการทำงานของสภา อยากจะมองว่าเรากำลังเห็นประยุทธ์ย้ายไปรวมไทยสร้างชาติ มีการตีข่าวใหญ่ทั้งที่เป็นปล่อยข่าว และมีข่าวเหมือนตกปลาในบ่อเพื่อน ซึ่งตนเห็นแบบนั้น

ส่วนเรื่องแยกกันเดิน เราไม่เคยเห็นพรรคทหาร แยกกันเป็น 2 เป็นเทคนิคแยกกันเดิน ร่วมกันตีหรือไม่ น่าจะเป็นเรื่องการทำงานทางการเมือง ถ้าเราเห็นภาพรวมของพลังประชารัฐ ล้วนเป็นศิษย์เก่าเพื่อไทย อาจเห็นการต่อรองและสลายขั้วการเมือง แต่ฝั่งหนุนประยุทธ์ไม่ชอบสิ่งนี้ ยังรับไม่ได้ที่เพื่อไทนจะกลับมาเป็นรัฐบาล พรรครวมไทยสร้างชาติเกิดมาเพื่อขัดตาทัพ ไม่ให้พลังประชารัฐกลับมารวมกับเพื่อไทย แต่ก็มีโอกาสที่พลังประชารัฐรวมกับรวมไทยสร้างชาติ แต่สิ่งที่พลังประชารัฐกำลังเจอเหมือนกันคือ โดนกฎหมายเล่นงาน กรณีเงินบริจาค หรือกรณีธรรมนัส ที่ทำให้คนที่อยู่พลังประชารัฐหรือกำลังย้ายไปเพื่อไทยลังเล และความหวังกลับมาใช้สูตรหาร 500

แต่สูตรหาร 500 กลับทำให้พลังประชารัฐและภูมิใจไทยเสียเปรียบ เพราะว่าพลังประชารัฐไม่มีจุดขายของตัวเอง อาจได้แค่ 5% ของส.ส.ทั้งหมด จะได้ ส.ส.เขตแต่ไม่ได้บัญชีรายชื่อ ภูมิใจไทยอาจได้เขตเพิ่ม แต่ได้บัญชีรายชื่อ ที่ผ่านมาได้จากบ้านใหญ่ แต่ครั้งนี้ อาจไม่ได้บัญชีรายชื่อเพิ่ม

คำถามคือ แล้วเขาจะโหวตให้หรือ พรรครวมไทยสร้างชาติอาจได้จากกระแสประยุทธ์ แต่คงได้แค่ 15% แม้มีคะแนนนิยมในภาคใต้แต่ภาคอื่นไม่มีเลย

คิดว่าแนวคำวินิจฉัยศาลรธน. อาจไม่เอาสูตรหาร 500

ถ้าเกิดคุณเป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีสัมพันธ์ดีกับประยุทธ์ อาจดีด้วยซ้ำที่ไม่มีประยุทธ์ ว่าพลังประชารัฐสามารถรวมกับพรรคอื่นได้ เป็นพรรคขนาดกลางที่ยืดหยุ่น และรวมเป็นพรรครัฐบาลกัน เรียกว่า ส.ส.ดี๊ด๊า และเป็นการสลายขั้วการเมือง แต่กระแสข่าวยุบพรรคพลังประชารัฐก็มาหนัก ไม่รู้ใครเป็นคนคุมอำนาจระหว่าง ประวิตรกับประยุทธ์ อาจเป็นบีบให้รวมกับรวมไทยสร้างชาติในอนาคต และกลุ่มธรรมนัสจะยังไง มันเกิดขึ้นพร้อมกับพลังประชารัฐหุ้นขึ้นไม่กี่วันกลับมาสั่นคลอน
ถ้าเกิดถูกยุบจะเป็นปัญหา

ประยุทธ์ไปพรรครวมไทยสร้างชาติแน่ สัญญาณบ่งชี้เช่น ส.ส.หลักอย่างชัยวุฒิหรือสุชาติ ชมกลิ่นลาออก หรือเตรียมย้าย เป็นการคิดของฝั่งอนุรักษนิยมที่ยอมไม่ได้ให้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล

อิทธิพลของบ้านใหญ่ยังมีอยู่ ถ้าดูระบบอุปถัมภ์ คนไทยต้องพึ่งพาผ่านบ้านใหญ่ ทำให้ระบบราชการเฟื่องฟู อีกส่วนคือระบบเลือกตั้งมีผลต่อบ้านใหญ่ ทำให้โครงสร้างนี้เน้นตัวบุคคล แม้เลือกพรรคก็ยังต้องสัมพันธ์กับตัวบุคคล การแก้ลดบัญชีรายชื่อ และเพิ่มส.ส.เขตทำให้เส้นตัวบุคคล นั้นทำให้เน้นบ้านใหญ่มากขึ้น แต่เป็นการบ่อนทำลายระบบพรรคการเมือง แต่การเลือกตั้งครั้งหน้า จะกลายเป็น บ้านใหญ่อกแตก ประวิตรจะไปบ้านใหญ่ในกำแพงเพชร ที่อาจจะแยกกัน หรือเพชรบูรณ์ก็น่าสนใจ แต่ในที่สุด เราจะเห็นบ้านใหญ่หลายจังหวัด อกแตก สุชาติ ชมกลิ่น แยกตัวจากบ้านคุณปลื้มแน่ หรือบ้านสุชาติ ตันเจริญในฉะเชิงเทรา ก็น่าย้ายกลับเพื่อไทย

สิ่งที่ทำให้เกิดบ้านใหญ่อกแตกคือ ประการแรก พรรคทหารแตกเป็น 2 ประการที่ 2 คนไทยจำนวนหนึ่งเบื่อระบบบ้านใหญ่ และคนที่เบื่อมากที่สุดคือ คนรุ่นใหม่ ตรงนี้จะเป็นตัวแปรสำคัญ และอาจเป็นผลดีต่อการเมืองไทย

ในโครงสร้างประชากรที่ล่าสุดปี64 อัตราเกิดใหม่เหลือ 5.4 แสนคน แล้วคนเสียชีวิตมากกว่าอัตราเกิดใหม่ เลือกตั้งครั้งหน้า จะมีผู้มีสิทธิ์ครั้งแรก 3.3 ล้านคน คนเหล่านี้อยู่ภายใต้ทุนนิยมสมัยใหม่ ไม่ได้พึ่งพาระบบบ้านใหญ่

บ้านใหญ่ลดลง พรรคเกิดใหม่มีโอกาส มากขึ้นหรือไม่ สิริพรรณกล่าวว่า มีโอกาสแต่ต้องดูหลายปัจจัย ก้าวไกลมีบทบาท แต่ยากจะเป็นรัฐบาล ตราบใดที่ ระบบการเมืองยังเน้น ส.ส.เขต บ้านใหญ่ยังมีบทบาท และระบบราชการไร้ประสิทธิภาพ นักการเมืองในพื้นที่ยังมีความสำคัญ การใช้ระบบอุปถัมภ์ก็ไม่ได้แย่เสมอไป ระบบการเมืองไทยก็เน้นศูนย์รวม ระบบราชการไทยไปไม่ถึงต่างจังหวัด ต้องเข้าหาบ้านใหญ่ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติที่ยังมีอยู่

ประยุทธ์จะยุบสภาหรืออยู่จนครบวาระไหม ถ้าให้เดาใจ ซึ่งก็เดาใจยาก คิดว่า โดยนิสัย การยุบสภาในมุมมองเขาคือกลเกมการเมือง ที่นักการเมืองใช้ เขาอยู่ลอยตัวเหนือการเมือง อยากอยู่ให้ครบ หรืออาจวัดรอยเท้าเทียบทักษิณที่อยู่ครบวาระ แต่กกต.บอกว่าถ้าไม่ยุบสภา ส.ส.ต้องสังกัดพรรค 90 วัน จะยาก พลวัตรนี้ทำให้วันที่ 6 กุมภา เราจะเห็นหลาย ส.ส. อพยพลี้ภัย อาจเป็นตัวบีบให้ประยุทธ์ยุบสภา ประยุทธ์ไม่อยากอยู่ในสภาพแรงกดดัน ด้านหนึ่งไม่จำเป็นต้องรีบยุบ ประยุทธ์อาจใช้วิธีลอยตัว รอไปถึงต้นปีหน้า แต่เชื่อว่าต้องยุบสภา ไม่งั้น ส.ส.หายหมด

“ประมาณ มกราคม 66 ไม่ชอบนะ แต่ประชาขนพร้อมเลือกตั้ง นักการเมืองก็พร้อมลงพื้นที่หลังปีใหม่” สิริพรรณกล่าวและว่า สังเกตบอลโลก หรือไม่ประกาศขึ้นค่าเอฟที เขาเตรียมพร้อมเลือกตั้งแหละ

สิริพรรณกล่าวว่า หน้าตารัฐบาลชุดหน้านั้น ยากนะ ขอให้ภาพว่า ตอนรธน.40 และ50 ที่น่าสังเกตคือ พรรคสายเพื่อไทยชนะตลอด การที่ไม่เปิดให้ฝั่งตรงข้ามมีโอกาสร่วมรัฐบาลก็เป็นปัญหาต่อระบอบประชาธิปไตย กลุ่มอนุรักษ์นิยมในไทยไม่ยอมรับการผูกขาดทางการเมือง เขาไม่ต้องการให้เกิดขึ้น บรรทัดฐานที่กลุ่มอนุรักษ์นิยมอยากเห็นคือการมีพรรคร่วมรัฐบาล ไม่เกิดผู้ชนะเอาหมด แต่ถ้าเป็นฝั่งอนุรักษ์นิยมผูกขาด กลับทำได้ แต่ในกติกาเลือกตั้ง เขาไม่สามารถชนะได้

ดังนั้นบรรทัดฐานที่จะปูไปคือการเป็นพรรคร่วมรัฐบาง ประวิตรมองเห็นตรงนี้ แม้กลุ่มอนุรักษ์นิยมสายแข็งไม่ อยากเห็นพรรคเพื่อไทย เราอาจได้เห็นพรรคขนาดกลาง รวมถึงพรรคหน้าใหม่ ถ้าจะแลนด์สไลด์ ต้องเป็นฝั่งฝ่ายค้าน ไม่ใช่พรรคใดพรรคหนึ่ง แต่ต้องได้ 375 ที่นั่ง เว้นแต่ได้เสียงบางส่วนกับประชาธิปัตย์ แม้มีความคิดเพื่อไทยไม่ร่วมกับก้าวไกล ทั้งที่จริงคือมีเพื่อไทยรวมกับก้าวไกล ที่ถนัดคนละแบบแต่รวมกันเหมือนหยิน-หยาง

ในกรณีรวมไทยสร้างชาติ จะต้องได้ ส.ส. 25ที่นั่งเพื่อเสนอชื่อประยุทธ์ เขามองว่าการเลือกตั้งเหมือนปี 62 คือได้นายกรัฐมนตรีก่อนแล้วค่อยรวมกับพรรคอื่น ยกเว้นเพื่อไทย ก้าวไกล และประชาชาติ แต่รวมกันจะได้ 250 เสียงไหม แม้มี ส.ว. แต่ก็กลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย

เมื่อถามการประเมินเพื่อไทยรวมกับพลังประชารัฐ ว่านั้นเป็นเหตุว่าทำไมที่ทำให้มีรวมไทยสร้างชาติ เพื่อเป็น ก.ข.ค. ไม่ให้รวมตัวกัน แต่โอกาสที่เพื่อไทยรวมกับพลังประชารัฐมีโอกาสสูง พอประยุทธ์ออกไป

แต่ถ้าไม่มีก้าวไกล เพื่อไทยจะตั้งรัฐบาลได้ไหม สิริพรรณเสนอว่า ต้องมองว่า จำนวนที่เพื่อไทยเคยยิ่งใหญ่มาได้ก็เพราะบ้านใหญ่ พอประยุทธ์ไปรวมไทยสร้างชาติ บ้านใหญ่ในพลังประชารัฐก็เห็นโอกาสจะรวมกับเพื่อไทย แต่ก็มีความเสี่ยงเกิดยุบพรรคได้

พรรคที่ได้เกินร้อยพรรคเดียวคือเพื่อไทย เพื่อไทยสามารถร่วมกับก้าวไกล ด้วยวิธี confident and supply เพื่อไม่สร้างความหวาดกลัวให้กับกลุ่มอนุรักษ์นิยม แต่ถ้าไม่มีก้าวไกล แล้วเพื่อไทยรวมกับพลังประชารัฐ แต่ครั้งหน้าพรรคก้าวไกลอาจมีโอกาสได้ ส.ส.ได้มากขึ้น

ถ้าประเมินพร้อมคะแนนพรรค เพื่อไทยยังไม่ได้มากพอเทียบกับยุครุ่งเรืองในอดีต บัญชีรายชื่ออาจได้ 30-40 แต่ส.ส.เขต อาจได้จากบ้านใหญ่ ตัวแปรสำคัญคือ แคนดิเดตนายกคนที่ 3 คุณเศรษฐาอาจเก่งเรื่องธุรกิจ แต่ยังพรรษาน้อยในการเมือง อาวุธจริงๆของเพื่อไทยคือนโยบาย แต่ 8 ปีที่ผ่านมากลับไม่ได้มีโอกาสส่งมอบนโยบาย

ภูมิใจไทย โอกาสได้คะแนนสูง กระแสกัญชาแรงแต่ไม่รู้เป็นบวกหรือลบ ในสายตาชนชั้นกลางไม่มา เป็นพรรคภูมิภาคอีสานใต้ บุรีรัมย์แม้ส.ส.เขตได้แต่ไมีได้บัญชีรายชื่อ ถ้าใครพูดว่าภูมิใจไทยมาแรง แต่ได้แค่ 70 อาจได้จากบ้านใหญ่ที่เป็นภาวะ อกแตก บัญชีรายชื่อไม่ถึง 10

พลังประชารัฐ ก็ได้พอกับภูมิใจไทย แถมถูกฉีกไปอยู่รวมไทยสร้างชาติกับภูมิใจไทย พรรคจะเล็กลง

ประชาธิปัตย์ก็เลือดไหล ส.ส. ลดลง

ก้าวไกล ต้องบอกว่า ประเมินคะแนนนิยมไม่ได้ลดลงจากปี 62 ครั้งนี้ก้าวไกลมีแนวโน้มส.ส.เขตลดลง อาจได้ 25% ครั้งนี้เชื่อว่า ส.ส.เขตได้โดยเฉพาะกทม.หรือเมืองที่มีมหาวิทยาลัย แต่พอเป็นระบบเลือกตั้งหาร 100 อาจได้ลดลง

รวมไทยสร้างชาติ ถ้าพรรคไม่มีประยุทธ์ ก็จะเหมือนสายลมแสงแดด แม้ประยุทธ์มาแน่ แต่พรรคยังไม่มีบิ๊กเนมทางเศรษฐกิจกลับไม่มี ทั้งที่ทั่วโลกเศรษฐกิจถดถอยอีกระดับ ฐานของรวมไทยสร้างชาติมาจากแฟนคลับประยุทธ์ บ้านใหญ่มาแน่คือกลุ่มสุชาติ แน่นอนโจทย์ใหญ่คือการหาเสียง จะบอกยังไงที่ประยุทธ์อยู่ได้แค่ 2 ปี

แต่อย่าประมาทกลุ่มอนุรักษ์นิยม แม้มีระบบรัฐสภาที่นายกต้องมาจากการเลือกตั้ง การเมืองจำกัดวาระก็เพื่อความสบายใจของฝ่ายอนุรักษ์นิยม แต่พอสังคมเติบโตที่ประชาชนตัดสินว่านายกรัฐมนตรีจะอยู่นานแค่ไหน ก็สามารถกลับมาแก้ได้

“กลุ่มอนุรักษ์นิยมจนตรอก เพราะไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่านี้ เป็นความอับจนที่คนต้องชูประยุทธ์ แต่การใช้กลไก องคาพยพอำนาจรัฐไม่เข้มข้นเหมือนอดีต” สิริพรรณ กล่าว

เมื่อถามถึง โอกาสเกิดรัฐประหารอีกแค่ไหน สิริพรรณ กล่าวว่า สิ่งที่ฝั่งอนุรักษ์นิยมต้องการคือ การเปิดโอกาสต่อรอง ไม่ใช่การผูกขาด ฝั่งก้าวหน้าอย่ามองการต่อรองว่าเป็นเรื่องไร้ศักดิ์ศรี ถ้าตึงมาก โอกาสรัฐใช้ความรุนแรงก็จะกลับมามีสูง แต่ชนชั้นนำจารีตเองก็ไม่อยากเห็นรัฐประหาร เพราะครั้งหน้าจะมีความอ่อนไหวมากกว่าครั้งไหน อาจใช้เครื่องมืออื่นแทน เพื่อลดทอนความเข้มแข็งของพรรคการเมือง หรือใช้ศาลจัดการ น่าจะออกมาแบบนั้น ภาวะสุ่มเสี่ยงพลังประชารัฐจะโดนยุบนั้น คงมีวิธีแก้เกมส์ แต่ความขัดแย้งในชนชั้นนำ จะเป็นตัวพลิกผันในการเมืองไทย

 


ฟังเสวนาย้อนหลังได้ที่: https://youtu.be/RoHyWwQ2FoE
สำหรับผู้ที่สนใจเสวนาเข้มข้นและกิจกรรมสนุกๆ ภายในงานของเราสามารถลงทะเบียนกิจกรรมได้ที่ 👉https://forms.gle/96xNhdawpUyK8tgd6
ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
.
🎡 “สมานมิตรฯ Return” #เปิดโกดังหนังสือดี
📆 วันจัดกิจกรรม 25 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2565 (10 วัน)
⏰ เวลา 10.00 – 19.00 น.
🏢 สถานที่: Matichon Academy – มติชนอคาเดมี
⛳️พิกัด: ถนนเทศบาลนิมิตใต้ ซอย 12 ประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
.
🚋 การเดินทาง
🔸 BTS สถานีหมอชิต หรือ MRT สถานีสวนจตุจักร ต่อรถประจำทางสาย 1-1 (29), 52, 134, 510 ลงป้ายวัดเสมียนนารีและขึ้นวินมอเตอร์ไซค์ บอกว่าไป “มติชนอคาเดมี” หรือ “ตึกข่าวสด”
🔸 เดินทางมายัง MRT: สถานีวัดเสมียนนารี (สายสีแดง) แล้วต่อวินมอเตอร์ไซค์
🔸 ทางผู้จัดงานมีบริการรถรับส่ง มติชนอคาเดมี – วัดเสมียนนารี
🔸 รถส่วนตัว (มีที่จอดรถจำนวนจำกัด แนะนำเดินทางโดยรถขนส่งสาธารณะ)