มองไทยใหม่ : ก ข ค แห่งสุวรรณภูมิ (๓)

ตัวอักษรอีก ๓ ชุด ที่เรียงลำดับในทำนองเดียวกันกับอักษรไทยก็คือ ตัวอักษรพม่า ตัวอักษรเขมร และตัวอักษรลาว

ชุดพยัญชนะภาษาพม่าเป็นดังนี้

ขอให้สังเกตว่าพยัญชนะ ๓ ตัวแรกที่ออกเสียงว่า ก้ะ ค่ะ ก้ะ นั้นก็ตรงกับ กอ ขอ คอ ของไทย เพียงแต่ตัวที่ ๓ นั้นพม่าออกเป็นเสียงก้อง แต่ ขอ กับ คอ ของไทยเป็นเสียงไม่ก้องทั้งคู่

ต่างกันตรงที่ ขอ เป็นอักษรสูง แต่ คอ เป็นอักษรต่ำ

ชุดพยัญชนะภาษาเขมรเป็นดังนี้

ขอให้สังเกตว่าพยัญชนะ ๓ ตัวแรกที่ออกเสียงว่า กอ คอ โก นั้นก็ตรงกับ กอ ขอ คอ ของไทย เพียงแต่ตัวที่ ๓ นั้นเขมรออกเป็นเสียงก้อง

ส่วนการที่เขมรแบ่งพยัญชนะออกเป็นกลุ่มกอ กับกลุ่มโก นั้นเป็นเรื่องของการผสมกับสระที่จะออกเสียงต่างกันแม้จะเป็นสระเดียวกัน

ชุดพยัญชนะภาษาลาวเป็นดังนี้

ขอให้สังเกตว่าพยัญชนะ ๓ ตัวแรกที่ออกเสียงว่า กอ ไก ขอ ไค คอ ควาย นั้นก็ตรงกับ กอ ขอ คอ ของไทย

ตัวอย่างที่แสดงข้างต้นนี้ตรงกับที่ รองศาสตราจารย์กรรณิการ์ วิมลเกษม เล่าไว้ว่าช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๙ เป็นช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบอักษรหลังปัลลวะให้เป็นอักษรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละอาณาจักร

จะเห็นได้ว่าแม้ภาษาพม่า ภาษาไทย ภาษาเขมร ภาษาลาว จะดัดแปลงตัวอักษรจากแหล่งเดียวกันมาใช้อย่างไร ต่างก็ยังคงออกเสียงในภาษาของตนตามเดิม ทั้งนี้เพราะเสียงในภาษากับตัวอักษรที่นำมาเป็นตัวแทนของเสียงนั้นเป็นคนละเรื่องกัน

ฉะนั้น หากจะกล่าวว่าเรามีภาษาไทยใช้เป็นของตนเองนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ตัวอักษรนั้นดัดแปลงมาจากอักษรปัลลวะเช่นเดียวกับเพื่อนบ้านอีก ๓ ภาษา