รำลึก 30 ปี พฤษภา 35 “ชวน” เปิดงาน หลายฝ่ายร่วมคึกคัก ชี้ ต้องถอดบทเรียน สร้างปชต.ยั่งยืน

“คุณชวน” ประธานพิธีเปิดงาน “รำลึก30ปี พฤกษา35” ด้าน “รบ.” ส่ง “รองเลขาธิการนายกฯ” ตัวแทน ร่วมงาน ส่วน “ผู้นำฯฝ่ายค้าน-พรรคการเมืองฝ่ายค้าน” – ภาครัฐ ร่วมงาน “ ชี้ ต้อง “ถอดบทเรียนเหตุการณ์สร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืน”

 

วันที่ 17 พ.ค. 2565 เมื่อเวลา 09.30 น.คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 จัดงานพิธีรำลึก30ปี สดุดีวีรชนพฤกษาประชาธรรม ที่สวนสันติพร อนุสรณ์สถานพฤษภาประชาธรรม ถ.ราชดำเนิน กรุงเทพฯ โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายโคทม อารียา ประธานมูลนิธิพฤษภาประชาธรรม, พล.ต.อ.ดร.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ผู้แทนรัฐบาล, นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทยในฐานะประธานฝ่ายค้านรัฐบาล และนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้แทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

โดยนายโคทม ได้ขึ้นกล่าวสถานการณ์ที่มาของอนุสรณ์สถานพฤษภาประชาธรรม สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงผู้เสียสละ จากเหตุการณ์พฤษภาคม 35 ว่า อนุสรณ์สถานแสดงถึงจิตใจของประชาธิปไตยของสังคมโดยรวมที่ปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกันด้วยไมตรีบนความเห็นที่หลากหลาย และเป็นสังคมที่ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพและส่วนร่วมและกำหนดอนาคตอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้การรำลึกและการเปิดอนุเสารีย์พฤษภาประชาธรรมในวันนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ของการคืนดี เหมือนที่คนไทยในอดีตสร้างเจดีย์ขึ้นภายหลังภัยพิบัติของสงคราม เพื่อขออภัยและให้อโหสิกรรมกันและกัน

ด้านประธานรัฐสภา กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า จากปี 2535 จนถึงปัจจุบัน ผ่านมา 30 ปีเกิดความเปลี่ยนแปลงมาก เวลาส่วนใหญ่ก็เป็นของประชาธิปไตยแม้จะมีการยึดอำนาจถึง 2 ครั้ง แต่กว่า 20 ปีเป็นเวลาของประชาธิปไตย เศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไปมีทั้งดีและร้าย และเกิดการสะดุดด้วยสิ่งที่ไม่คาดคิด คือธุรกิจการเมือง เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประชาธิปไตยสะดุด ดังนั้นจึงได้ข้อสรุปว่าในรอบ 30 ปีแม้มีรัฐธรรมนูญที่ว่าดีอย่างรัฐธรรมนูญปี 40 แต่ในที่สุดรัฐบาลก็ถูกยึดอำนาจ เพราะปัญหาพฤติกรรมบุคคล

ดังนั้นข้อสรุปหนึ่งที่อยากเรียน คือหลักที่ดี คนที่ดี และกฎหมายที่ดีต้องไปด้วยกัน เพราะหากดีเพียงส่วนเดียวทฃ เราก็เห็นแล้วว่าในที่สุดเกิดปัญหา แม้รัฐบาลมาจากประชาธิปไตย แต่ถ้าไม่ยึดแนวประชาธิปไตยจะเป็นเงื่อนไขติดตามมา อย่างเช่นเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ มาจากการไม่ยึดหลักนิติธรรมตามหลักกฎหมาย จนในที่สุดทำให้รัฐธรรมนูญปี 50 ต้องเพิ่มวรรคสอง มาตรา 3ระบุว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย

นายชวน กล่าวอีกว่า ข้อสรุปที่เป็นบทเรียนเพื่อฟันฝ่าสู่การเป็นประชาธิปไตยต่อไปนั้น นอกเหนือจากหลักที่ดี คนก็ต้องดีด้วย ฝากถึงญาติวีรชนและทุกคนว่าการสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่ได้สูญเปล่า แต่ขอเพียงอย่าหวั่นไหวหรืออย่าท้อ ขอให้เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งเราตัดสินใจเรื่องนี้มานาน 90 ปี และจะไปสู่ปีต่อๆไปด้วยระบอบนี้ ขณะเดียวกันต้องพยายามขจัดโรคร้ายในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็ดีและต่อไปก็ดีสิ่งที่ทุกคนปรารถนาทั้งความสามัคคีปรองดองและความเป็นประชาธิปไตยเกิดขึ้นจากคน ไม่ใช่เพียงการเขียนที่ดี ถ้าเขียนดีแต่คนไม่ปฏิบัติก็ไม่เกิดสัมฤทธิ์ผล ตนจึงย้ำอยู่เสมอว่าหลักที่ดีกับคนที่ดีต้องไปด้วยกัน

ด้าน พล.ต.อ.ดร.ธรรมศักดิ์ กล่าวว่า การที่ชาติบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ที่ต้องแลกด้วยเลือดเนื้อและชีวิตของประชาชนจำนวนมากรัฐบาลไม่อยากให้มีเหตุการณ์ที่สูญเสียโดยสนับสนุนให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาทางออกโดยใช้หลักสันติวิธีและยึดมั่นหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อนำไปสู่ความปรองดอง ในสังคมอย่างยั่งยืน

พล.ต.อ.ดร.ธรรมศักดิ์ กล่าวต่อว่า เป็นการรำลึกถึง วีรชนและจะเป็นแหล่งเรียนรู้ประชาธิปไตยให้แก่นิสิตนักศึกษาสนับสนุนทั้งนี้รัฐบาลของสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ให้มากขึ้นทั่วประเทศ เพื่อศึกษาทางการเมืองและสิทธิมนุษยชนในการพัฒนาบ้านเมืองร่วมกันต่อไป ตนในนามตัวแทนรัฐบาลขอแสดงความรำลึกและความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อวีรชนผู้สูญเสีย และญาติวีรชนผู้เสียชีวิต ผู้สูญหาย บาดเจ็บ พิการ ในเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งผ่านพ้นมา 30 ปีแล้ว นอกจากนี้ขอเป็นกำลังใจให้ครอบครัววีรชนทุกท่าน ขอให้ดวงวิญญาณของวีรชนพฤษภาไปสู่สุคติ และขอให้ทุกคน สืบสานเจตจำนงประชาธิปไตยต่อไป

ขณะที่ ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวว่า คนที่มาร่วมกันตรงนี้ในปี 2535 มีจุดประสงค์เพื่อจะเรียกร้องความถูกต้องให้เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น คือให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งแต่การเรียกร้องการต่อสู้ครั้งนั้น จบด้วยการสูญเสีย เพราะมีทั้งผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย ทั้งนี้ความสูญเสียที่เกิดขึ้น นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสลดใจอย่างยิ่ง เพียงเพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อเรียกร้องอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย อย่างมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง ขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐจะทำหน้าที่ปกป้องประชาธิปไตยตามบทบาทที่แท้จริง กลับถูกใช้มาทำลายประชาชนเพียงเพราะความเห็นต่างทางการเมือง

“ผ่านมา 30 ปี แต่สิ่งที่เราพบก็คือ ประเทศนี้ไม่เคยเปลี่ยนไม่เคยได้เรียนรู้ หรือถอดบทเรียนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นวัธจักรที่หลายคนเรียกว่า วงจรอุบาท และในการรัฐประหารแต่ละครั้งก็มีข้ออ้างที่แตกต่างกันเป็นความล้มเหลวของการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร ทุจริตคอรัปชั่น ล้มล้างสถาบัน เพื่อที่จะสืบทอดอำนาจ” ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าว

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า สิ่งที่เป็นบทเรียนแม้ไม่กลับนำมาใช้แต่มีคุณค่า ควรค่าแก่การจดจำคือ มีการต่อสู้เรียกร้องอย่างน้อยที่สุดมีรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับที่ได้บันทึกไว้เป็นเจตนารมย์ของประชาชนในปี 2535 คือ นายกฯมาจากการเลือกตั้งของพี่น้องประชาชน ทั้งนี้รัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 แม้จะเข้มแข็งในเรื่องนี้แต่ก็มีผลกระทบมาตลอด ส่วนกลไกของรัฐธรรมนูญปี 2560 สามารถจะบิดเบือนเจตนารมณ์ได้ คือ ไม่ให้นายกฯมาจากผู้แทนของประชาชน ทั้งนี้ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในการต่อสู้และเรียกร้อง ซึ่งเป็นความเห็นต่างในวิถีประชาธิปไตยจะเกิดความสมานฉันท์ปราศจากการใช้ความรุนแรง ทำให้เกิดการน้องเลือดในแผ่นดินนี้ต่อไป เพื่อให้บ้านเมืองก้าวเข้าสู่ประชาธิปไตยที่สมดุลย์และแท้จริง

ส่วน นายวสันต์ กล่าวว่า 30 ปีผ่านไปเร็วมาก วันนี้(17 พ.ค.) เรามาร่วมกันรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อจะมองไปข้างหน้า ตนเชื่อว่า ทุกคนคิดเหมือนกันคือไม่อยากเห็นความรุนแรง บาดเจ็บล้มตาย ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีก ทั้งนี้ประชาธิปไตยและความปรองดอง สมานฉันท์ไม่มีทางลัด เพราะฉะนั้นทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือในการสร้างสังคมประชาธิปไตย ที่เคารพในสิทธิเสรีภาพเสมอภาคของคนในสังคม เพื่อที่จะให้เกิดสังคมประชาธิปไตย โดยแนวทางสันติวิธี อย่างไรก็ตามการสูญเสียของวีรชน ในทุกเหตุการณ์ทางการเมืองจะไม่มีวันสูญเปล่า

“อดีตนายกฯ” ชี้ ความปรองดอง ต้องเริ่มสร้างขึ้น จากพวกเราทุกคน ลืทความขัดแย้ง ร่วมกันพา “ปท.”เดินไปข้างหน้า

จากนั้นในเวลา 11:30 น. นายอนันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ พฤษภาคม 2535 ได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งนึง เป็น 30 ปีในปีนี้ มูลนิธิพฤษภาประชาธรรม และคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ได้จัดงานได้จัดงานรำลึกถึงผู้เสียชีวิตและผู้เสียหาย วันนี้ตนมาเพราะว่า หลังจากเหตุการณ์พฤษภา กำลังจะรุกรามต่อไป ตนได้รับเกียรติและได้รับเชิญให้มาเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาตน ได้ เป็นประธานคณะกรรมการอิสระ เพื่อติดตามผู้สูญหายและช่วยเหลือผู้เสียหายจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ทั้งนี้ความสูญเสียของพี่น้อง ณ ที่นี้ตนยังจำได้ดี ถึงแม้จะผ่านมา 30 ปีแล้ว

“แต่ชีวิตคนเราทุกครั้ง ที่ประสบปัญหาชีวิตและเป็นเพราะเราทำเอง หรือเป็นเพราะคนอื่นเป็น ผู้กระทำ แต่ชีวิตเราต้องดำเนินต่อไป และที่เราดำเนินชีวิตต่อมา 30 ปีนั้น หลายครั้งความขมขื่นก็ยังเหลืออยู่ สุดท้ายแม้ไม่ได้มีการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าใครเป็นผู้ กระทำหรือผู้ถูกกระทำ แต่ในทางหลักพระพุทธศาสนา เราจะเอาความเครียดแค้นความเสียใจ ความผิดหวังในชีวิต มาเป็นเครื่องกีดขวางการดำเนินชีวิตไม่ได้ งั้นตนยินดีที่ กระทรวงกลาโหมได้มีการขอโทษดำเป็นทางการ และผู้ที่มีส่วนเสียหายได้ อโหสิกรรมกับการกระทำ” อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าว

นายอนันท์ กล่าวว่า ความทรงจำเรามีอยู่เราไม่ลืมแต่ต้องเดินข้ามไปแล้ว และในวันนี้ตนยินดีที่ได้มาพบกับญาติ พี่น้องของผู้สูญเสียอีกครั้งหนึ่ง ถือว่าการที่ได้มาร่วมกันทำบุญในวันนี้จะเป็นบุญกุศลกับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว และอนุสรณ์ที่เราทำขึ้นมาก็เป็นการปลุกให้รู้ว่า เหตการณณ์เช่นนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นอีก แต่ไม่ได้เป็น สัญลักษณ์ของความเกลียดแค้นหรือเจ็บใจ แต่เป็นการสร้างขึ้นเพื่อเป็นบทเรียนประวัติศาสตร์ ให้คนรุ่นเราหรือลูกหลานต่อไป ของผู้ที่ประสบการณ์โดยตรง

อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เราระลึกถึงเสมอว่า ครั้งหนึ่งการต่อสู้เพื่อประชาธรรม เพื่อประชารัฐ เพื่อประชาคมในการเรียกร้องหาสิทธิเสรีภาพ นั้น โอกาสที่จะลดความเหลื่อมล้ำ ลดความอยุติธรรมในสังคม แสวงหาสิทธิ ในการออกความเห็น แม้จะมีความเห็นที่แตกต่างก็ตาม ซึ่งคนเรามีความเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่เมื่อไหร่ที่มีความแตกแยก ต่อสู้การใช้กำลังกันแล้ว อันนั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ

นายอานันท์ กล่าวว่า เรามีบทเรียน แบบนี้หลายครั้งในชีวิตของเมืองไทย 80 ปีที่ผ่านมาแต่ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประเทศนี้ ก็ยังเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้งต่อไป การไม่อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน จะทำให้การขัดแย้งนี้ลุกลามไปถึงจิตใจ ของประชาชน ก่อให้เกิดความเกลียดชัง ความโมโหโทสะอย่างรุนแรง ถ้าเราไม่มีบทเรียนจากประวัติศาสตร์ เมืองไทยเราจะหาความสุขสงบได้อย่างไร เพราะความปรองดอง ต้องเริ่มสร้างขึ้น จากพวกเราทุกคนด้วยการสร้างความเข้าใจ และความเชื่อถือซึ่งกันและกัน ถึงแม้ไม่เป็นมิตรแต่ก็จะไม่สร้างศัตรูกัน สิ่งเหล่านี้ต้องใช้ความพยายามและสติ

อดีตนายกฯ กล่าวว่า วันนี้เรามารำลึกถึงอดีต เพื่อนำประเทศชาติ เราต้องคุมสติไว้เพื่อนำประเทศชาติและสังคมไทยเข้าสู่ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ความยึดถือในเรื่องของความยุติธรรม ทั้งในสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตนหวังว่า เหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกในประเทศไทย เพราะถ้าเกิดขึ้นมาแล้ว เราไม่โต เราจะย้อนหลังเป็นเด็กมากขึ้นทุกที

อย่างไรก็ตาม ตนไม่ได้สูญเสียอะไรในวันนั้น แต่เหตุการณ์เหล่านั้นทำให้ตนรู้สึกว่า ตนต้องรักประเทศชาติและรักคนไทยมากขึ้น เพราะในสังคมทุกสังคม มีแต่ความเกลียดชัง มีแต่ความดูถูกดูแคลน แต่ตอนนี้จะต้องหมดไป เพราะฉะนั้นวันนี้ครบ 30 ปี พฤษภาประชาธรรม ตนขอตั้งอธิษฐานให้วิญญาณผู้เสียชีวิตทุกชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกสากลโลกบันดาลให้คนไทยในปัจจุบัน ตื่นจากความมืดมัว ตื่นจากความซึมเศร้า ตื่นเพื่อต่อสู้ สร้างอนาคตใหม่ที่ดีที่งาม ที่เป็นธรรม แบบที่ไม่เป็นภัยกับผู้ใดทั้งสิ้น