E-DUANG : สงคราม เพื่อไทย ก้าวไกล ภายใต้ “ผู้นำ” จิตวิญญาณ

ไม่ว่าเมื่อตัดสินใจจัดตั้งพรรคไทยรักไทยในเดือนกรกฎาคม 2561 ไม่ว่าเมื่อเดินทางกลับเข้าประเทศอีกครั้งหนึ่งในเดือนสิงหาคม 2566 แต่ละก้าวของ นายทักษิณ ชินวัตร ล้วนถูกจับตา

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 เป็นการจับตาว่าพรรคไทยรักไทยจะเดินหน้าอย่างไรในทางการเมือง

เป็นเหมือนพรรคพลังใหม่ หรือเป็นเหมือนพรรคกิจสังคม

เพราะพรรคพลังใหม่มีคนรุ่นใหม่อย่าง นพ.กระแส ชนะวงศ์ มีคนรุ่นใหม่อย่าง นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ เพราะพรรคกิจสังคม มีซาร์ในทางเศรษฐกิจอย่าง นายบุญชู โรจนเสถียร

ผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม 2544 จึงท้าทายและกลาย เป็นคำตอบให้กับพรรคไทยรักไทย ให้กับสถานะของ นายทักษิณ ชินวัตร

เช่นเดียวกับ การกลับประเทศอีกครั้งหนึ่งในเดือนสิงหาคม 2566 ส่งผลสะเทือนเป็นอย่างสูงในทางการเมือง พลานุภาพที่เห็น ณ เบื้องหน้าสร้างความตื่นตลึง

เมื่อเห็นพรรคเพื่อไทยจับมือกับพรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคพลังประชารัฐ จัดตั้ง”รัฐบาลพิเศษ”ขึ้น

เส้นทางของ นายทักษิณ ชินวัตร จึงทรงความหมาย

 

คำถามต่อ นายทักษิณ ชินวัตร จากสถานการณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2566 จึงเป็นคำถามเดียวกันต่อ นายทักษิณ ชินวัตร ใน การเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2561

เพียงแต่เปลี่ยนจากพรรคไทยรักไทยมาเป็นพรรคเพื่อไทย ขณะที่คำถามยังมีต่อ นายทักษิณ ชินวัตร เหมือนเดิม

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 คู่ต่อสู้ของพรรคไทยรักไทย คือพรรคประชาธิปัตย์ พรรคกิจสังคม พรรคชาติไทย พรรคชาติไทยพัฒนา แต่ในเดือนสิงหาคม 2566 คู่ต่อสู้เป็นพรรคก้าวไกล

การดำรงอยู่ของพรรคก้าวไกลอันเป็นความต่อเนื่องมาจาก พรรคอนาคตใหม่จึงมีความสำคัญและแตกต่างไปจากการดำรงอยู่ของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม เมื่อเดือนกรกฎาคม 2561

เพราะพรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองใหม่ เพราะพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่เคยเป็นพรรคอันดับ 1

 

สถานการณ์จากเมื่อเดือนสิงหาคม 2566 ทำให้พรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลอยู่ในจุดที่จะต้องชิงชัยกัน

โดย นายทักษิณ ชินวัตร อยู่ในสถานะ”ผู้นำจิตวิญญาณ”

ขณะที่พรรคก้าวไกลมิได้มีเพียง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อยู่ในสถานะ”ผู้นำจิตวิญญาณ” หากมีแนวโน้มสูงยิ่งที่ นายพิธา ลิ้ม เจริญรัตน์ จะเข้าไปอยู่ในสถานะ”ผู้นำจิตวิญญาณ”ในอีกไม่นาน

พรรคเพื่อไทย มี นายทักษิณ ชินวัตร พรรคก้าวไกลมี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์