E-DUANG : บนเส้นทาง ไพรวัลย์ กะ สมปอง ความเหมือน ที่สะท้อน จุด”ต่าง”

มีทั้งความเหมือนและความต่างในการสึกหาลาพรตระหว่าง พระมหาไพรวัลย์ วรวรรโณ กับ พระมหาสมปอง ตาลปุตโต แม้จะออก มาจากสำนักวัดสร้อยทองเหมือนกัน

เหมือนตรงที่ทั้ง 2 มหาล้วนถูกกดดันจากขนบและธรรมนิยมดั้งเดิมของพุทธเถรวาทในสังคมไทย

ลึกๆแล้วก็คือ ไม่เห็นด้วยกับท่วงทำนองการเผยแผ่ศาสนา

ลึกๆแล้วท่าทีและท่วงทำนองของ พระมหาไพรวัลย์ วรวรรโณ และ พระมหาสมปอง ตาลปุตโต ไม่เป็นที่สบอารมณ์และประเมินว่าจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี

ภายในกลไกของศาสนจักรอาจไม่มี”ความเห็น”ปรากฏออกมา มากนัก แต่หากอ่าน”ปฏิกิริยา”ซึ่งสำแดงผ่าน นายศรีสุวรรณ จรรยา ก็จะฉายสะท้อนออกมาได้อย่างแจ่มชัด ตรงเป้า

เหมือนตรงที่ในที่สุด “ทิศทาง”ภายหลังการสึกหาลาพรตของ 2  

มหาคือการเข้าสู่”ตลาด”อันเป็นพื้นที่ใหญ่ของระบบทุนที่อ้าแขนต้อนรับด้วยความเต็มใจ

นี่คือประตูบานแรกไม่ว่าจะเป็น”ไพรวัลย์”ไม่ว่า”สมปอง”

 

กระนั้น ภายใน”ความเหมือน”ก็ปรากฏ”ความต่าง”แยกห่างออกจาก กันอย่างเด่นชัดมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

“ไพรวัลย์”แสดงออกเหมือนกับเป็นศิลปิน”อิสระ”ไม่สังกัดค่าย

การเคลื่อนไหวรีวิว การเดินทางไปเยือนตามจุดต่างๆอันเป็นการปรากฏพร้อมกับเสียงหัวเราะดำรงความเป็น”อินดี้”ของตนอย่าง ไม่แปรเปลี่ยน

ตรงกันข้าม กรณีของ”สมปอง”มีค่ายมี”เจ้าสัว”เป็นผู้อุปถัมภ์

อุปถัมภ์ตั้งแต่การปลดหนี้จำนวนนับสิบล้านบาท อุปถัมภ์ตั้งแต่อุปกรณ์และสถานที่ในการประกอบธุรกิจ เด่นชัดยิ่งว่าเป็นธุร กิจอย่างมีสังกัด มีค่าย

ประกาศความพร้อมตั้งแต่”รถยนต์”ไปยังที่ตั้ง”สำนักงาน”

 

หากมองในแง่ของการบริหารจัดการก็ต้องยอมรับว่า “สมปอง”สะ ท้อนความพร้อมมากกว่า ดำเนินไปอย่างมีการวางแผนและมีทีมอยู่เพียบพร้อมแม้กระทั่งแดนเซอร์

ตรงกันข้าม “ไพรวัลย์”ยังรักษาสถานะแห่ง”ศิลปินเดี่ยว”

แนวโน้มของ”สมปอง”ที่จะเข้าไปสู่แวดวงธุรกิจการค้าอย่างลึกซึ้งมีความเป็นไปได้สูงอย่างสูงยิ่ง

ขณะที่”ไพรวัลย์”จำเป็นต้องรักษาความเป็น”นักวิชาการ”ไว้