ซีเอ็มเอ็มยู ชี้สกิล “การจัดการ” อาวุธติดองค์กรทางรอดพ้นวิกฤต แชร์การถอดรหัส 3 บทเรียนการจัดการ พัฒนาสังคมและธุรกิจสู่ความยั่งยืน

กรุงเทพฯ 24 ธันวาคม 2564 – วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) สถาบันการศึกษาทางด้านการบริหารจัดการชั้นนำของประเทศ เดินหน้าปีที่ 25 ตอกย้ำวิสัยทัศน์ Wisdom of the Land in Management Education เดินหน้าผลิตบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเพื่อธุรกิจยุคใหม่ พร้อมทะยานขยายเป้าหมายสร้างสรรค์สิ่งใหม่สอดรับก้าวที่เติบโตขึ้น ชี้สกิล การจัดการ เป็นทักษะทางรอดสำคัญขององค์กรและผู้บริหารในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ระดม 6 กูรู จากวงการธุรกิจด้านต่างๆ พร้อมแชร์ประสบการณ์การถอด 3 รหัสบทเรียนแห่งการจัดการ ผ่านกิจกรรม CMMU Management Talk: Building Resilience in Times of Change ถ่ายทอดแนวคิด ‘Resilience ล้มแล้วลุกให้เร็ว เพื่อร่วมส่งต่อองค์ความรู้พัฒนาสังคมและธุรกิจสู่ความยั่งยืนรับโลกหลังยุคโควิด-19 อาทิ  1. การจัดการ “คนรุ่นใหม่-รุ่นเก่า” ให้แมชต์กับงาน สู่การทำงานแบบไร้รอยต่อ 2. การจัดการ “องค์กรให้เกิดนวัตกรรม” ด้วย 3 คีย์หลัก และ 3. การจัดการ“การสื่อสารที่น่าเชื่อถือ-สร้างสรรค์” สู่การขยาย Community ที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถรับชมกิจกรรมดังกล่าวย้อนหลังได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก CMMU Mahidol (https://www.facebook.com/CMMUMAHIDOL)

สำหรับผู้สนใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรไทย-หลักสูตรนานาชาติ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 24 มกราคม 2565 ที่ https://apply.cm.mahidol.ac.th/web สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02206-2000 หรือติดตามข้อมูลได้ที่เพจเฟซบุ๊ก CMMU Mahidol

รศ. ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวว่า ตลอดเวลา 25 ปี ซีเอ็มเอ็มยู เป็นสถาบันการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลง การเติบโต และการปรับตัวด้วยความกระตือรือร้นอยู่เสมอ เพื่อให้เข้ากับโลกปัจจุบัน โดย ซีเอ็มเอ็มยู พร้อมด้วยคณาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีเป้าหมายร่วมกันคือ การทำให้ ซีเอ็มเอ็มยู เติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านการบริหารจัดการที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา สังคม และโลกใบนี้ ดังนั้นก้าวใหม่ปีที่ 25 ในนาม ซีเอ็มเอ็มยู ที่เปรียบเสมือนคนๆ หนึ่งที่มีการเตรียมตัวในชีวิตมาประมาณหนึ่งแล้ว และรู้ว่าแท้จริงแล้วต้องการอะไร โดยต้องการมุ่งมั่นผลิตบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเพื่อธุรกิจยุคใหม่ ให้สามารถก้าวสู่การเป็นนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ หรือทีมบริหารในองค์กรชั้นนำทั่วโลก พร้อมเป็นบุคลากรคุณภาพที่ดี พัฒนาสังคมได้จริง จึงได้ร่วมกับเครือข่ายพาร์ทเนอร์ชั้นนำทั่วโลกในอุตสาหกรรมภาคธุรกิจต่างๆ จัดทำกิจกรรม CMMU Management Talk: Building Resilience in Times of Change ถ่ายทอดองค์ความรู้ ถอดรหัสบทเรียนการจัดการ ประสบการณ์ ความท้าทาย และวิสัยทัศน์ของผู้บริหารต่างๆ ในหัวข้อที่แตกต่างกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การสร้าง การพัฒนา และการมอบองค์ความรู้คืนสู่สังคม

               โดยผลลัพธ์จากการจัดกิจกรรมดังกล่าว ทำให้ทราบถึงแก่นสำคัญของการพัฒนาธุรกิจให้รอดพ้นวิกฤตต่างๆ พร้อมทั้งพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน คือ “การจัดการ” ซึ่งสะท้อนผ่าน 3 บทเรียนจากผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำดังนี้

•             การจัดการ “คนรุ่นใหม่-รุ่นเก่า” ให้แมชต์กับงาน สู่การทำงานแบบไร้รอยต่อ องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ในการ Customize การบริหารจัดการเนื้องานให้สอดคล้องกับความชำนาญ ความสามารถของทีมงานแต่ละส่วน พร้อมผลักดัน สนับสนุนสิ่งเหล่านั้นให้ยังเดินหน้าต่อไป “เพราะถ้าไปบอกคนรุ่นเก่าให้ปรับตัวเหมือนคนรุ่นใหม่ ก็อาจไม่ Fair นัก หรือกรณีถ้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่องค์กรเดียว แล้วผู้บริหารอัดหลายสิ่งเข้าไปที่เดียวกัน แล้วบอกทุกคนต้องเปลี่ยน คำถามคือใครจะเปลี่ยนไปหาใคร และจะส่งผลให้คนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่าถอดใจพร้อมเกิดความขัดแย้งในช่องว่างระหว่างวัยขึ้น” โดยบทเรียนนี้เกิดขึ้นแล้วที่ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงไทย

•             การจัดการ “องค์กรให้เกิดนวัตกรรม” ด้วย 3 คีย์หลัก องค์กรจะต้องระดมทีมคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่อง ผ่านการบริหารจัดการใน 3 คีย์หลัก ดังนี้ 1. ต้องเป็นคนช่างสังเกตุ มองเห็นถึงปัญหาพร้อมวิเคราะห์แนวทางแก้ไขที่รวดเร็ว เพื่อลดข้อผิดพลาดในอนาคต 2. ต้องมีหลักทำงานแบบสตาร์ทอัพ  เพราะธรรมชาติของธุรกิจสตาร์ทอัพมีความเร็ว ความกล้า แก้ไขปัญหาได้ตามเป้าที่ชัดเจน อีกทั้งยังยืดหยุ่นสูง 3. อินไซต์ความต้องการลูกค้า ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรขนาดใหญ่ จะต้องรู้จักนำทีมในการพูดคุยร่วมกับลูกค้าเพื่อให้เกิดไอเดียใหม่ ขณะเดียวกันก็ต้องให้อิสระแก่ทีมในการสร้างผลงานต้นแบบ (Prototype)

•             การจัดการ “การสื่อสารที่น่าเชื่อถือ-สร้างสรรค์” สู่การขยาย Community ที่ยั่งยืน องค์กรสื่อสารมวลชนมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น หากจะคงไว้ซึ่งองค์กรที่อยู่คู่สังคมแบบยั่งยืนได้จะต้องมี 2 ปัจจัยสำคัญในการบริหารองค์กร ดังนี้ 1. ต้องไม่บิดเบือน ความน่าเชื่อถือ แม้โลกปัจจุบันจะมีเรื่องใหม่ๆ เกิดขึ้นให้คนเสพ เช่น Metaverse แต่ความน่าเชื่อถือและจรรยาบรรณ คือกระดูกสันหลังของสื่อสารมวลชนที่ต้องคงไว้ เพราะถ้าเปลี่ยนเมื่อไหร่ตายทันที 2. ต้องปรับการสื่อสารที่ สร้างสรรค์ ต้องปรับตัวให้ทันโลกตลอดเวลา ห้ามหยุดนิ่ง ทั้งรูปแบบการนำเสนอ วิธีการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนให้สื่อรวมถึงองค์กรเป็น Audience-Centric City เพราะผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางที่ทำให้เกิดการคิด การพัฒนา การออกแบบสินค้า และป้องกันความเสี่ยง

“สื่อหรือองค์กรในปัจจุบัน ควรชี้ให้ชัดว่าจะเจาะกลุ่มใด อยากจะสื่อสารกับใคร เพราะการวัดกลุ่มผู้บริโภคโดยใช้ปัจจัย เช่น ช่วงวัย รายได้ อาจจะทำให้พลาดข้อมูลสำคัญอย่างละเอียดและทำให้ไม่เข้าใจผู้บริโภคมากพอ ซึ่งปัจจุบันคำว่า ‘Community หรือชุมชน เหมาะยิ่งสำหรับคนยุคใหม่ ยกตัวอย่าง คนวัย 70 ปี และคนวัย 17 ปี ถ้าดูภายนอกทั้งคู่มีความแตกต่างมาก แต่สนใจธุรกิจเรื่องเทคโนโลยีบล็อกเชนทั้งคู่ ก็มาอยู่ใน Community เดียวกัน ดังนั้น สื่อหรือองค์กร ควรสร้างและขยายชุมชนตนเองให้มาก เพื่อตอบรับต่อความต้องการและมีประโยชน์ด้วยต่อผู้บริโภค

             ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามเรื่องราวการจัดการในประเด็นหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติม ในกิจกรรมดังกล่าว อาทิ คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในหัวข้อ “Sharing Experiences in How to Drive Innovation in Corporations and Startups” คุณอรรถพล โพธิ์หาญรัตนกุล (โค้ดดี้) ผู้ก่อตั้งบริษัท กู๊ด ดีล เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ในหัวข้อ เด็ก Gen ใหม่เข้าใจได้ไม่ยาก คุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการและบรรณาธิการบริหาร สำนักข่าว The Standard ในหัวข้อ “The Secret Sauce: The Secret Recipe of Ken” คุณอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในหัวข้อ “SCBx The Transformer – Leading Businesses into the Future” คุณผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และประธานสมาคมธนาคารไทย ในหัวข้อ กล้าเปลี่ยน เพื่อก้าวนำ (Courage to Change) และคุณชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ในหัวข้อนำธุรกิจก้าวข้ามวิกฤตเศรษฐกิจด้วยการบูรณาการ GRC (Governance, Risk management, and Compliance)” ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก CMMU Mahidol (https://www.facebook.com/CMMUMAHIDOL)

            สำหรับผู้สนใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรไทย-หลักสูตรนานาชาติ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 24 มกราคม 2565 ที่ https://apply.cm.mahidol.ac.th/web สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02206-2000 หรือติดตามข้อมูลได้ที่เพจเฟซบุ๊ก CMMU Mahidol

หมายเหตุถึงกองบรรณาธิการ:รายละเอียดเรื่องราวการจัดการ โดยได้รับเกียรติจากแขกคนสำคัญมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีดังนี้

·        คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในหัวข้อ “Sharing Experiences in How to Drive Innovation in Corporations and Startups” รับฟังได้ที่ https://fb.watch/a12np0U0Zp/

·        คุณอรรถพล โพธิ์หาญรัตนกุล (โค้ดดี้) ผู้ก่อตั้งบริษัท กู๊ด ดีล เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ในหัวข้อ “เด็ก Gen ใหม่เข้าใจได้ไม่ยาก” รับฟังได้ที่ https://fb.watch/a12r1gsDYg/

·        คุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการและบรรณาธิการบริหาร สำนักข่าว The Standard ในหัวข้อ “The Secret Sauce: The Secret Recipe of Ken” รับฟังได้ที่ https://fb.watch/a12tkkn224/

·      คุณอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในหัวข้อ “SCB x The Transformer – Leading Businesses into the Future” รับฟังได้ที่ https://fb.watch/a12vCFSrZ_/

·      คุณผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และประธานสมาคมธนาคารไทย ในหัวข้อ “กล้าเปลี่ยน เพื่อก้าวนำ (Courage to Change)” รับฟังได้ที่ https://fb.watch/a12DtS1LoW/

·  คุณชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ในหัวข้อ “นำธุรกิจก้าวข้ามวิกฤตเศรษฐกิจด้วยการบูรณาการ GRC (Governance, Risk management, and Compliance)” รับฟังได้ที่ https://fb.watch/a12ypk1UXy/