ข้อเสนอ เปิดโรงเรียนและเปิดประเทศ ต้องทำคู่กันที่ชายแดนภาคใต้/บทความพิเศษ

สมาคมโรงเรียนเอกชนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา นำเสนอ(ปรึกษาหารือ)โมเดลเปิดเรียนม.6 ต่อนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

บทความพิเศษ / อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

[email protected]

 

ข้อเสนอ

เปิดโรงเรียนและเปิดประเทศ

ต้องทำคู่กันที่ชายแดนภาคใต้

 

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

จากวิกฤตโควิดที่ชายแดนภาคใต้แม้สถิติยังสูงอยู่แต่จากการสัมภาษณ์ของหมอสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และการแถลงของ ศบค.ส่วนหน้า สถิติโควิดช่วงพีคสุดน่าจะเลยมาแล้วด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะผู้นำศาสนาในการเชิญชวนประชาชนออกมาฉีดวัคซีนทำให้รัฐเร่งมือที่จะเปิดประเทศ

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนชายแดนภาคใต้แล้วซึ่งมีวิถีชีวิตอยู่กับการศึกษาทั้งศาสนาและสามัญนั้นอยากให้ทำสองอย่างไปพร้อมกันคือ เปิดการศึกษาและเปิดประเทศ

โรงเรียนศาสนาเสนอเปิดเรียน ม.6 ก่อน

 

โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลากว่า 80โรงประชุมร่วมถึงปัญหานักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งอีกไม่กี่เดือนจะต้องเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย

แต่ตลอดทั้งปีการศึกษาพวกเขายังไม่มีโอกาสได้รับความรู้อย่างเต็มที่เพราะเรียนแต่ออนไลน์ซึ่งประสิทธิภาพไม่เหมือนกับ On-Site

ซึ่งสุดท้ายพวกเขาจะไม่สามารถเชื่อมต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้

ดังนั้น ทางสมาคมโรงเรียนเอกชนศาสนาอิสลามจึงนำเสนอโมเดลต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเพื่อให้หาทางออก

นายนัสรูดีน กะจิ นายกสมาคมให้เปิดเผยว่า โมเดลเรากับการเปิดเรียน On-Site เด็ก ม.6 ซึ่งไม่เกิน 15 % ของนักเรียนทั้งโรง ด้วยมาตรการ 5-6-7-8

ทำไมเริ่มเปิดแค่ ม.6 ก่อน ก็เพราะเราเห็นว่าจะคาดหวังให้เด็ก ม.6 มีอนาคตที่สดใสได้อย่างไร ในการต่อยอดเข้ามหาวิทยาลัยหากไม่ช่วยเหลือพวกเขาในยามวิกฤตที่เขาต้องหยุดเรียนนานเกินไป

แน่นอนหากจะเปิดเรียน On-Site ทั้งโรงเรียนในพื้นที่สีแดงของจังหวัดสงขลาก็เป็นไปไม่ได้

ดังนั้น การเปิดเพียงนักเรียน ม.6 ซึ่งมีนักเรียนจำนวนไม่เกิน 15% ของนักเรียนทั้งโรงเรียนสามารถปฏิบัติตามมาตราการ 5-6–7-8 ได้ ดังนี้

ครู และบุคลากรทางการศึกษา (ดูแลนักเรียน ม.6)และนักเรียน ม.6 ต้องได้รับวัคซีนมากกว่า 85%

แนวปฏิบัติระหว่างเปิดภาคเรียน On-Siteโดยปฏิบัติตาม “มาตรการ 5-6-7-8” อย่างเคร่งครัด ดังนี้ 5 มาตรการ คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้จัดกิจกรรม แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ได้แก่ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ คัดกรองวัดไข้ ลดการแออัด และทำความสะอาด

เพิ่ม 6 มาตรการเสริมในการดูแลตนเอง ได้แก่ ใช้ช้อนกลางส่วนตัว กินอาหารปรุงสุกใหม่ และทะเบียนเข้าออก

มาตรการ 7 เข้มงวดโดย ผ่านการประเมินด้วยระบบ TSC+ และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือ ศบค.ส่วนหน้า มีการเว้นระยะห่าง มีบริการด้านอาหาร ตามหลักสุขาภิบาลอาหารและโภชนาการ ผ่านเกณฑ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม มีสถานที่แยกกักตัว ดูแลเรื่องการเดินทางไป-กลับตลอดเส้นทาง มี School Pass ไว้ตรวจสอบข้อมูลทางสาธารณสุข

จัดทำแผนเผชิญเหตุตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หากพบการติดเชื้อโควิด-19 ในโรงเรียน ดังนี้

1. ปิดเรียน ในกรณีพบผู้ป่วยยืนยัน 1 คนขึ้นไป จะปิดห้องเรียนเป็นเวลา 3 วัน งดทำกิจกรรมรวมกลุ่มให้ผู้ที่เสี่ยงสูง ให้กักตัวที่บ้าน งดมาเรียนที่โรงเรียน และผู้ที่มีเสี่ยงต่ำให้มาเรียนตามปกติโดยใช้การสังเกตอาการ กรณีพบผู้ป่วยยืนยันมากกว่า 1 ห้องเรียนจะปิดชั้นเรียนเป็นเวลา 3 วัน งดทำกิจกรรมรวมกลุ่มทุกกิจกรรม และปิดโรงเรียน (ตามอำนาจพิจารณาของคณะกรรมการโรคติดต่อ) โดยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR

2. ไม่ต้องปิดโรงเรียน กรณีไม่พบผู้ป่วยยืนยันในโรงเรียน แต่มีความเสี่ยงติดเชื้อมาจากบ้านหรือชุมชนที่พักอาศัย

โดยผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจากที่บ้าน ให้สังเกตอาการ 14 วัน หากพบอาการผิดปกติ ให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย ระหว่างรอผลให้กักตัวที่บ้าน

ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำจากที่บ้าน ผู้ใกล้ชิดกับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ผู้ใกล้ชิดกับผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ให้สังเกตอาการ 14 วัน โดยไม่จำเป็นต้องหยุดเรียน พร้อมในการปรับเปลี่ยนอาคารสถานที่ภายในโรงเรียนให้เป็นโรงพยาบาลสนามและสถานที่กักตัวหรือสถานที่พักคอย สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อในระยะต้น ไม่รุนแรง (ระดับสีเขียว) นักเรียนจะต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครอง หากไม่ได้รับการยินยอมโรงเรียนจัดการเรียนออนไลน์ให้

เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยทางด้านร่างกายและจิตใจต่อทุกคน ร่วมกันสร้างสุขอนามัยส่วนรวมและห่างไกลจากโควิด-19

และเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สำหรับนักเรียนที่ยังไม่สามารถ On-Site สถานศึกษา ได้เลือกรูปแบบการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมตามความพร้อมของสถานศึกษา ผ่านการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เช่น

การเรียนผ่านโทรทัศน์ On Air การเรียนผ่านหนังสือ On Hand การเรียนการสอน Online การเรียนการสอนแบบ On Demand

สมาคมโรงเรียนเอกชนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา นำเสนอ(ปรึกษาหารือ)โมเดลเปิดเรียนม.6 ต่อนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

ในส่วนนักเรียนหอพักที่อยู่ประจำซึ่งส่วนใหญ่โรงเรียนเอกชนเป็นนักเรียนหอพักจะใช้ 8 แนวปฎิบัติในการป้องกันการพร่ระบาดของโรคโควิด-19

1.ตรวจคัดกรอง วัดไข้ และสังเกตอาการเสี่ยงทุกคนก่อนเข้าหอพัก

2. มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์บริเวณทางเข้าหอพัก ห้องนั่งเล่นสถานที่ส่วนกลางอย่างเพียงพอ

3. ทำความสะอาดพื้นที่อาคารเรียนทุกห้อง ตลอดจนพื้นที่หอพัก และเน้นจุดสัมผัสร่วมกัน วันละ 2 ครั้งหากมีผู้ใช้งานจำนวนมากให้เพิ่มความถี่มากขึ้น

4. จัดเว้นระยะห่าง ลดความแออัด เช่น ระยะห่างของโต๊ะเรียน เตียงนอน ชั้นวางของส่วนตัว มีสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจน

5. เปิดประตู หน้าต่าง ระบายอากาศและทำความสาดอย่างสม่ำเสมอ

6.ผู้เข้ามาหอพักทุกคนต้องสวมหน้ากผ้า หรือหน้ากากอนามัยทุกคน หลีกเลี่ยงการพูดคุยไกล้ชิดเป็นเวลานาน และไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น

7. มีมาตรการดูแลบุคลากร ครู นักการภารโรง แม่บ้าน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง หากพบมีอาการเสี่ยง ไข้ จาม ไอ มีน้ำมูก หรืออาการเหนื่อยหอบ ให้หยุดงาน และแนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที

8. กรณีพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ ผู้มีอาการเสี่ยงในหอพัก หรือสถานศึกษา ต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการสอบสวนโรค และการทำความสะอาดพื้นท่อย่างเคร่งครัด

 

มาตรการขับเคลื่อนแบบบูรณาการเพื่อรองรับการทั้งเปิดเรียนและเปิดประเทศ คือ

1) เร่งรัดฉีดวัคซีนทั้งรูปแบบ on-site และ mobile unit ด้วยการใช้เวทีสภาสันติสุขตำบลภายใต้ การนำของกำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้นำศาสนา, อสม. และชุดปฏิบัติการกิจการพลเรือนเข้ารณรงค์สร้างความเข้าใจ ให้เกิดความเชื่อมั่นในทุกครัวเรือนพร้อมจัดชุดปฏิบัติการเชิงรุกเข้าตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดย ATK, ฉีดวัคซีน และรักษาตามอาการถึงหมู่บ้าน/ชุมชน/โรงเรียน/ศาสนสถาน

2) ส่งเสริมการเข้าถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดย ATK ทั้งแบบ professional used และ self used ด้วยการจัดชุดปฏิบัติการเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จ (CCRT) เข้าไปที่หมู่บ้าน/ชุมชน,/โรงเรียน/มัสยิด/ศาสนสถาน/ด่านตรวจ, สถานประกอบการ และสถานบริการสาธารณะต่างๆ รวมทั้งการออกมาตรการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึง ชุดตรวจ ATK และยาต้านไวรัสได้ง่ายและราคาถูก

3) นำมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting) มาใช้อย่างเป็นระบบทั้งด้านสิ่งแวดล้อม, บุคคลและผู้รับบริการ พร้อมกำหนดมาตรการควบคุมตรวจสอบ และประเมินผลภายใต้การบูรณาการการทำงานร่วมกันของกลไกฝ่ายปกครอง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนให้เป็นไปตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีเป้าหมายให้มีความพร้อมตามมาตรการ Covid Free Setting

4) เตรียมความพร้อมด้านการรักษาพยาบาลด้วยการปรับเพิ่มรูปแบบการรักษาผู้ป่วยที่ไม่มีอาการเข้าสู่ศูนย์แยกกักตัวชุมชน (ci) และรักษาตัวที่บ้าน (Hi) ให้มากขึ้น พร้อมทั้งกำหนดแนวทางบริหารจัดการขยะติดเชื้อในพื้นที่อย่างเป็นระบบทั้งระบบการเก็บขน และระบบการกำจัดโดยใช้เตาเผาในพื้นที่หากเกินขีดความสามารถจะนำส่งเตาเผานอกเขตพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาขยะติดเชื้อตกค้างในสถานพยาบาลต่างๆ

4. มาตรการอื่นๆ

1) การช่วยเหลือเยียวยา ได้ให้ความช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบางทางสังคมที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์โควิด-19 รวม 17,086 ราย เป็นเงิน 25,516,285 บาท (จากผลสำรวจของ ศบค.ส่วนหน้า)

ประการสุดท้ายไม่ควรมองข้ามการแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องในสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการลดอัตราเงินสมทบประกันสังคมงวดเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2564 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้าง และผู้ประกันตน จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้ประกันตนในระบบจ่ายเงินสมทบลดลง 10,721 ล้านบาท และนายจ้างจ่ายลดลงเป็น 9,629 ล้านบาท

ส่งผลดีต่อผู้ประกันตน และนายจ้างมีสภาพคล่องในการใช้จ่าย และดำเนินกิจการต่อไปได้