2 นักวิชาการ ฉายภาพ ‘ปฏิวัติ รศ.130’ ชี้มองอดีตสู่ปัจจุบันล้วนปรารถนาการเปลี่ยนแปลง

วันที่ 10 พ.ย.64 เมื่อเวลา 13.00 น. สำนักพิมพ์มติชนได้จัดเสวนาและเปิดตัวหนังสือ ปฏิวัติ รศ.130 ซึ่งจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 2 ในงาน Matichon Bookmark 2021 โดยได้เชิญ 2 นักวิชาการชื่อดัง ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และนักวิชาการประวัติศาสตร์ไทย และรศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

จุดเริ่มต้น รศ.130 การก่อการของนายทหารหนุ่มผู้อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง

ชาญวิทย์ กล่าวถึงเหตุการณ์ รศ.130 หรือที่เรียกว่าอีกชื่อ กบฎหมอเหล็งหรือ คณะผู้ก่อการก่อนคณะราษฎร ปัจจัยที่นำสู่เหตุการณ์นั้นว่า คำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบยาก อยู่ดีๆ คนเหล่านี้ลุกขึ้นมาต้องการยึดอำนาจและถูกจับไปเพราะแพ้ แต่วันนี้ มีปรากฎการณ์พิเศษ คือหนังสือเล่มนี้พิมพ์ล่าสุดในชื่อ “ปฏิวัติ รศ.130” ทั้งๆที่เรียกว่า กบฎ รศ.130 เป็นวิธีคิดที่เปลี่ยนไป ผมอ่านครั้งแรกตอนหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และเขียนคำนำเล่มนี้ ผมไม่รู้จักหนังสือเล่มนี้ ผมจำเรื่องที่ตัวเรียนปริญญาตรีประวัติศาสตร์
แต่กลับไม่รู้จักเหตุการณ์ เมืองไทยมีประวัติศาสตร์อันยืนยาวตั้งแต่เขาอัลไต

ในสมัยที่ผมเรียนคณะรัฐศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ไทยไม่มี จึงไม่รู้จักเหตุการณ์ รศ.130 แต่พอศึกษาดู ก็อยากตอบว่า กลุ่มผู้ก่อการกลุ่มนี้ มีบรรพชน ผู้มาก่อนกาล ไม่ได้เกิดจากกระบอกไม้ไผ่ ไม่ใช่อยู่ๆเกิดขึ้น
แค่มองบริบทประเทศไทย ก็มีความพยายามนำการปกครองระบอบประชาธิปไตยเข้ามาในไทย ผมลำดับเหตุการณ์ที่เรียกว่าเป็น “ประวัติศาสตร์ทางยาว” อ.ผาสุกและอ.คริส ชอบใช้คำนี้ คนที่มาก่อนกาลกลุ่มก่อการ รศ.130 คนที่แรกที่ทำให้รู้จักคอนสติติวชั่นหรือรัฐธรรมนูญ โลกสมัยใหม่ และประชาธิปไตย คือ หมอบลัดเรย์  (แดน บีช แบรดลีย์) นอกจากผลงานทางการแพทย์ที่ปลูกฝีดาษ การแพทย์สมัยใหม่ แต่บทบาทของหมอบลัดเรย์ เมื่อ 161 ปีก่อนคือ แปลรัฐธรรมนูญสหรัฐฯเป็นภาษาไทยและตีพิมพ์ให้คนไทยได้รู้จัก

เรารู้จักอยู่แล้ว ในชื่อ “บางกอกรีคอร์ดเดอร์” หนังสือพิมพ์ของหมอบลัดเรย์ สมาชิกคนสำคัญมีทั้งเชื้อพระวงศ์สำคัญ ตระกูลใหญ่ พ่อค้า ก่อนจะมีกลุ่มผู้ก่อการรศ.130 คนที่ตามจากหมอบลัดเรย์ คือกลุ่ม รศ.103 (หรือพ.ศ. 2427) กลุ่มขุนนาง ราชนิกุล เรียกร้องให้มีสภาและรัฐธรรมนูญเหมือน รัฐบาลเมจิของญี่ปุ่น กลุ่มนี้เมื่อ 137 ปีก่อนก็เคยเสนอมาแล้ว โดยพระองค์เจ้ากฤษฎางค์ นำเจ้านายและขุนนางชั้นสูงยื่นฎีกาให้รัชกาลที่ 5 แต่ก็ต้องมีชีวิตตกต่ำ คนที่อยู่ในกลุ่มอีกกว่าสิบคน ก็ต้องหยุดลง เราพอมาถึง รศ.130 หรือ 109 ปีก่อน

เราก็รู้กันว่าคณะราษฎรทำสำเร็จในปี 2475 มาสำเร็จในผู้ก่อการกลุ่มที่ 4 มีเรื่องต่อเนื่องได้อีก จนหลังปี 2475 เดี๋ยวจะไล่เรียงกัน ขอขึ้นต้นว่า พวกเขามีที่มาที่ไป

การก่อการรศ.130 เกิดขึ้นในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถึงจุดสูงสุดในรัชกาลที่ 6 แต่ผู้ก่อการกลับทำในเรื่องเสี่ยงนั้น ธำรงศักดิ์ กล่าววว่า ความคิดความรับรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนั้นมาเมื่อไหร่ เหมือนพืชที่หมอบลัดเรย์หว่านเมล็ด ปีพ.ศ.2408 ชนชั้นนำที่ติดหนี้หมอบลัดเรย์ก็ได้อ่าน

แล้วหนังสือพิมพ์แต่ละตัวอักษรต้องอ่านอย่างละเอียดละออนี่คือ ถ้าคุณเป็นชนชั้นนำของสยาม ต้องเริ่มตั้งคำถามว่า รัฐธรรมนูญจะมาถึงสยามไหม? ผมคิดว่า หมอบลัดเรย์ก่อนแปลรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ก่อนหน้าในช่วงรัชกาลที่ 4 สมัยพระปิ่นเกล้ามีโอรสที่ให้ชื่อว่า “จอร์จ วอชิงตัน”

พระปิ่นเกล้าอ่านหนังสือภาษาอังกฤษดีมาก เขียนตอบโต้จดหมายเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาดีกว่าพระจอมเกล้าฯ แต่คนที่คล่องที่สุดคือ สมเด็จเจ้าพระยาพระศรีสุริยวงศ์ พอพระปิ่นเกล้ามีโอรสองค์โตแล้วตั้งชื่อ “วอชิงตัน” ต้องรู้ว่าเจ้าของชื่อนี้เป็นใคร ดังนั้นตนคิดว่ามองย้อนไกลออกไป ที่เกี่ยวพันกับแนวคิดสาธารณรัฐได้ถูกปลูกฝังในไทย แล้วมันเติบโตยังไง ซึ่งสำคัญมาก

ต้องขออ้างหนังสือที่เคยตีพิมพ์ มีภาคผนวกที่ระบุการเขียนของผู้นำการปฏิวัติ รศ.130 คือหมอเหล็ง ศรีจันทร์ หมอถูกจับได้ที่บ้าน เขาขายต้นฉบับลายมือหมอเหล็งซึ่งสวยมาก หมอเหล็งอ่านหนังสือและสั่งหนังสือภาษาอังกฤษมาเอง หมอเหล็งเป็นคลังความรู้ของกลุ่มนายทหารหนุ่ม สิ่งที่หมอเหล็งเขียนคือต้นทางความคิด

ที่อาจนำไปสู่โทษตาย นั้นคือ อันความเสื่อมโทรมและความเจริญของประเทศ คุณคิดประเทศตอนนี้คือความเสื่อมโทรม แล้วเราจะสร้างความเจริญอย่างไร แล้วอะไรสภาพการณ์ที่ดำรงอยู่ ให้ประเทศเสื่อมทราม สิ่งที่หมอเหล็งชี้คือ ระบบการปกครองที่กษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จากนั้นหมอเหล็งนำเสนอวิธีปกครองสยามเป็น ราชาธิปไตยแบบจำกัดอำนาจ หรือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ กับการปกครองแบบสาธารณรัฐ แต่เขาแปลว่าประชาธิปไตย บนฐานคิดมุมมองแบบสหรัฐฯ

วิธีคิดของคนยุคนั้น คิดง่ายว่า มี 2 ประเทศ ว่าจะเอาแบบอังกฤษหรือสหรัฐฯ ถ้าเลือกแบบอังกฤษ ยังคงมีสถาบันกษัตริย์และมีระบบการเลือกตั้ง ให้สภาเลือกฝ่ายบริหาร ถ้าเลือกแบบสหรัฐฯ ก็เลือกสามัญชนตามวาระเป็นประธานาธิบดี ดังนั้นในโลกใบนี้ เห็นแค่ 2 ระบอบ นี้ ทำให้เราต้องหาจุดเริ่มว่า กลุ่มผู้ก่อการได้รับอิทธิพลความคิดจากใคร หมอเหล็งจบแพทย์ศิริราช แล้วเป็นแพทย์ทหาร ก่อนหมอเหล็งถูกจับในปี ก.พ.2454 หรือ รศ.130 คนกลุ่มนี้ที่เริ่มต้นให้คนมาชวนเปลี่ยนระบอบ คนนั้นคือ ร้อยตรีเหรียญ ศรีจันททร์ น้องชายของหมอเหล็ง

แล้วเจอเพื่อนรุ่นเดียวกันคือ จรูญ (ร้อยตรีจรูญ ษตะเมษ) ทหารหนุ่มวัย 18 คืออะไร? คนวัยรุ่น ดูรายชื่อคนถูกจับอายุเฉลี่ย 18-21 ปี เป็นรุ่นนายทหารร้อยตรีร้อยโท คุณต้องจบนายร้อยทหารบกแต่เป็นคนล้มสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ผลิตคุณมา โรงเรียนนายร้อยทหารบก ไม่ใช่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า สร้างก่อนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2435 สร้างโรงเรียนนายร้อยทหารบกก่อน

ความหมายสำคัญคือ การที่จะสถาปนาระบอบการเมือง จะต้องมีกองทัพสมัยใหม่ กองทัพจึงถูกสร้างขึ้นมา บรรดาเจ้านายเป็นนายพลคุมกองทัพ คนคุมกรมทหารราบหน่วยคือเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง ซึ่งถ้าเราดูเจ้านายทั้งหมด สามัญชนหมดสิทธิ์ ประเด็นแรกคือ โรงเรียนนายร้อยทหารบก ถูกสร้างเพื่อค้ำยันอำนาจระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งเป็นระบบการเมืองแบบตะวันตก

การบรรลุสถานะอำนาจพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส ทำให้ระบบกษัตริย์ยุโรปเข้มแข็ง รัชกาลที่ 5 เอามาใช้ ยกเลิกตำแหน่งวังหลวง วังหน้า และเปลี่ยนเป็นมกุฎราชกุมาร กระทรวงทบวง กรม เอามาหมด สิ่งหนึ่งที่มีปัญหาในการเอามา ท่ามกลางภัยชาติอาณานิคม คือเสรีภาพของปัจเจกชน ทำให้รัชกาลที่ 5 ที่ต้องยกเลิก เพราะสงครามการเมืองในสหรัฐฯที่ต้องต่อสู้เพื่อยกเลิกระบบทาสก่อนรัชกาลที่ 5
เพราะสหรัฐฯยกเลิก 2. เจ้าอาณานิคมอังกฤษและฝรั่งเศสยกเลิกระบบทาส จักรวรรดิอังกฤษโค่นราชวงศ์คองบองของพม่าได้ ฝรั่งเศสยึดอินโดจีนได้ยกเลิกระบบศักดินา นึกภาพว่ากรุงเทพและปริมณฑล รอบด้วยดินแดนเสรีชน สิ่งที่ตามมาคือ ลัทธิชาตินิยมในดินแดนอาณานิคม ชาตินิยมมาพร้อมกับประชาธิปไตย อาณานิคมพาแนวคิดนี้มาด้วย ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ตั้งมาต้องถูกตั้งคำถามว่าถึงเวลาหรือยังที่ต้อง

มีรัฐสภา รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย ระบบการเลือกตั้ง แม้รัชกาลที่ 5 จะไม่พูดถึงการเลือกตั้ง นั้นคือในฐานะผู้ปกครอง สิ่งที่จะต้องคิดคือ จะทำขยายพระราชอำนาจยังไง สมบูรณาญาสิทธิราชย์คือขีดสุดตรงกันข้ามกับประชาธิปไตย ไม่มีทางที่ระบบเก่าเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยได้ กระแสประชาธิปไตยพัดจากการปฏิวัติในอเมริกา 1776 ตรงกับสมัยพระเจ้าตากสินเพิ่งเป็นกษัตริย์ สิ่งหนึ่งในคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯนอกจากเสรีภาพ

คือการแสวงหาความสุขของมนุษย์ ต้องได้รับการรักษา สหรัฐฯปฏิวัติเพื่อให้ปัจเจกชนแสวงหาความสุขได้ ต่อมาฝรั่งเศสก่อการปฏิวัติ 1789 ประชาธิปไตยพัดมายังญี่ปุ่น ระบอบโชกุนพังสู่การปกครองคณาธิปไตยของจักรพรรดิด้วยรัฐธรรมนูญ มีประชาธิปไตยแบบอังกฤษ ในขณะเดียวกัน การปฏิรูปเมจิ พัดไปสู่จีน ระบบฮ่องเต้ล้มลงในปฏิวัติซินไห่ 1911 และสถาปนาสาธารณรัฐจีน แล้วไทยเล่าเป็นแบบไหน

นี่คือว่าด้วยความเสื่อมทรามของประเทศและการสร้างประเทศของหมอเหล็ง

ชาญวิทย์กล่าวเสริมว่า สิ่งที่อ.ธำรงศักดิ์ทิ้งท้าย เป็นประเด็นสำคัญ โดยจะบอกว่า โลกาภิวัฒน์ ระบบของโลก เรียกได้ว่าบริบทของโลกในตอนนั้น เปลี่ยนโฉมแล้ว สู่การปกครองที่เป็นประชาธิปไตย มีอยู่ 2 รูปแบบ ระหว่างประธานาธิบดีกับรูปแบบที่รักษาสถาบันกษัตริย์ไว้ มี 2 อย่างเท่านั้น นั้นแปลว่า สยามในเวลานั้นจะต้องเลือกเอา ผมคิดว่ากษัตริย์สยาม (รัชกาลที่ 5-6-7) เลือกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงทำให้เห็นการรอไปก่อน ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

ไม่ได้พูดเล่น เพราะว่า เมื่อบรรดาเจ้านาย พระองค์เจ้ากฤษฎางค์ ก็ถูกพาออกนอกประเทศ รัชกาลที่ 5 ตอบให้รอก่อน นำไปสู่การปฏิรูป พ.ศ. 2435 เทียบกับพม่า ปีนี้ 2564 รวบความว่า การรอไปก่อน เล่นตั้งแต่รัชกาลที่ 5 จนถึงวันนี้ ยังเล่นกันอยู่ แปลว่า คนรุ่นปัจจุบัน ที่อาจเรียกว่า คณะราษฎรใหม่ ผมคิดว่าก็ไม่ได้เห็นด้วยแล้ว

ประเด็นที่เราพูดกันทุกวันนี้ ก็คือว่าได้มีการเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่คนรุ่นปัจจุบันจำนวนหนึ่งไม่ได้พูดแบบผมแล้ว

เมื่อถามถึงเหตุการณ์รศ.130 ส่งผลต่ออภิวัฒน์สยามนั้น ธำรงศักดิ์กล่าวว่า สิ่งที่เราลืมไป แม้ตัวละครจำนวนมาก สิ่งที่เหรียญ ศรีจันทร์ชักชวนเพื่อน ความใฝ่ฝันของตัวเองน่าจะเกิดขึ้นอีก 10 ปีข้างหน้า เพราะการเผยแพร่ความคิดต้องใช้เวลา สิ่งที่พวกเขาวางแผนจะทำยังไงที่สร้างระบบการเมืองในหมู่ทหาร นั้นทำไมทหารในเวลานั้นถึงหัวก้าวหน้า โรงเรียนเตรียมทหารเหมือนสถาบันการศึกษาชั้นสูง เจ้านายคือกลุ่มคนที่เรียนจากยุโรป ลองดูรัชกาลที่ 6 เจ้าฟ้าจักรพงษ์ เจ้าฟ้าบริพัตร

มาจากยุโรป สิ่งที่ทหารต้องเรียน คือประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศนำไปสู่การจัดตั้งเหล่าทัพ อย่างทัพเรือทำไมถึงก้าวหน้าด้านต่างประเทศมากกว่าทหารบก เพราะพวกเขาเดินทางต่างประเทศบ่อย ต้องเรียนรู้กฎหมายระหว่างประเทศ แต่ตอนนี้เราต้องนึกว่า 2430 เริ่มโรงเรียนนายร้อยทหารบก ผลผลิตต่อมาคือล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทำไมถึงเป็นแบบนั้น เพราะปฏิรูปเมจิมาแรงมาก ประเทศแรกในเอเชียในใจคนไทยคือญี่ปุ่น ทำไมถึงมีชินคันเซ็น ญี่ปุ่นเป็นแบบอย่าง พอชนะจักรวรรดิรัสเซีย

สายตาของจีนซึ่งอยู่ภายใต้ราชวงศ์ชิงก็มองญี่ปุ่น ทุกสายตาในเอเชียมองญี่ปุ่น ญี่ปุ่นกลายเป็นความหวัง ถ้าอ่านงานของศรีบูรพา ก็จะเห็นว่าความงาม ความสะดวกและตรงเวลาของรถไฟความเร็วสูง ญี่ปุ่นเป็นตัวแบบของความเจริญ สิ่งที่ตามมาคือ ญี่ปุ่นปกครองระบอบอะไร เป็นประชาธิปไตยแบบอังกฤษ มีจักรพรรดิ แต่มีการเลือกตั้งเพื่อเลือกรัฐบาล ถ้าใครรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่สถาบันกษัตริย์ ซึ่งทำให้อำนาจลอยอยู่เหนือการบริหารจัดการ สยามในตอนนั้นสร้างถนนราชดำเนิน แต่ญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจาทางทะเล

ญี่ปุ่นเคยเป็นศักดินา แต่กลับเป็นประเทศที่อัตราการรู้หนังสือสูง เพราะรัฐบาลส่งเสริมการส่งนักเรียนไปต่างแดน คนญี่ปุ่นอ่านคาร์ล มาร์กซ สายของนายทหารหนุ่มเหล่านี้ ทำไมสยามไม่เป็นเหมือนญี่ปุ่นบ้าง 2475 ก็เหมือนกัน พม่าก็มีรัฐธรรมนูญ ทำไมสยามไม่มี พอเปรียบกับพม่า เราน้อยใจ ตรงนี้เองทำให้ทหารไทยก้าวหน้า เพราะการเรียนการสอนเพิ่งเริ่มต้น เอาความรู้ตะวันตกมาสอน ไม่รู้ต้องปิดกั้นอะไรบ้าง แต่ต่อมาการศึกษา การเรียนการอ่าน ห้ามเรียนรัฐธรรมนูญ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมืองมีปฏิสัมพันธ์ วิชารัฐศาสตร์กลายเป็นวิชาต้องห้ามหลังการปฏิวัติ รศ.130 ก่อนกลับมาฟื้นคืนหลังอภิวัฒน์สสยาม

นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงเรียนทหาร เวลาเราเรียนโรงเรียนทหาร พระยาพหลฯ ในวันอภิวัฒน์สยาม วันนั้นเป็นวันศุกร์ที่เราตอนย่ำรุ่งและเข้ายึดพระที่นั่งอนันตสมาคม พอตอนบ่ายก็เชิญผู้ก่อการรศ. 130 มา และพระยาพหลฯบอกว่าเพราะมีพวกท่าน ถึงมีพวกเรา พระยาพหลฯศึกษาต่อที่เยอรมนีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 พระยาพหลฯอยู่ในช่วงความคิดประชาธิปไตยกำลังเติบโต นี่คือความปรารถนาที่เขาเก็บไว้ หนังสือเล่มนี้ ชี้ถึงคน 2 รุ่น ที่จริงๆ เกี่ยวข้องกัน

โดยรวมนี่คือโรงเรียนนายร้อย และความสัมพันธ์ของการสร้างชาติ จากญี่ปุ่นสู่สยาม การศึกษาที่ค่อนข้างมีคุณภาพ ซึ่งมี 2 ด้าน คืออย่างแรกเรียนไปกราบไป กับเรียนเพื่อวิจารณ์และตั้งคำถาม แต่เรากลับเลียนแบบนาซีเยอรมัน รด.ปัจจุบันก็มาจากต้นกำเนิดยุวชนนาซี

ทั้งนี้ ชาญวิทย์ทิ้งท้ายว่า คุณูปการของการศึกษาเหตุการณ์ปฏิวัติ รศ.130 ต้องตอบว่าทำให้เราตาสว่าง ในเมื่อไม่รู้ พอรู้ก็ทำให้ค้นหาต่อ กลับไปสู่บรรพชนก่อนรศ.130 กลับไปยังรศ.103 แต่ว่าเมื่อมองย้อนกลับกลับไปวันวานจนถึงวันนี้ และมีวันหน้าต่อ ผมคิดว่าวันหน้าต่อก็คิดว่าคณะราษฎร ถ้าไม่มีรศ.130 ก็ไม่มีคณะราษฎร แล้วเกิดการ “รอ” ไปก่อน ตามมาด้วยรัฐประหาร 2490 มองกลับไปกลับมา 2500 ยุคจอมพลสฤษดิ์ เหตุการณ์เดือนตุลา 2516, 2519,2535 2553 และปี 2563 ผู้ก่อการรุ่นที่ 9

นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่จะมาเขียนต่อว่า คณะราษฎรใหม่เกิดขึ้นก็ย้อนจาก คณะราษฎร 2475 และแน่นอน รศ.130 อยากบอกว่า ประวัติศาสตร์ทำให้รู้เท่าโลก ต้องชำระประวัติศาสตร์ใหม่ ไม่ใช่ชำระแบบปลอม แบบรมต.ศธ.หลายคนที่บอกที่จะปฏิรูปแต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผมชอบซื้อตำราเรียนของศธ.ระดับชั้นประถม มัธยมแล้วมานั่งดู จะมีสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ ปีต่อมาก็เหมือนเดิม แต่โชคดีแนวคิดเทือกเขาอัลไตค่อยๆหายไป ผมถามวิทยากรท้องถิ่น ชมพิพิธภัณฑ์ จนท.มองหน้าผมแล้วบอกไม่มีแสดงคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตเลย

วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่น่าสงสารที่สุดในไทย ผมเจอรมต.ศธ.หลายคน ก็มักไม่เอาผมเพราะไม่ใช่กระแสหลัก

ธำรงศักดิ์กล่าวว่า รศ.130 คือมรดกสู่ อภิวัฒน์สยาม 2475 พอเราอ่านบันทึก การปฏิวัติที่ล้มเหลวในรศ.130 ทำให้คณะราษฎรวางแผนอย่างระมัดระวัง แต่ยังเลือกคงสถาบันกษัตริย์และมีประชาธิปไตย รศ.130 ส่งผลทำให้ 20 ปีต่อมาประสบความสำเร้จ ปรีดี พนมยงค์เรียกผู้ก่อการรศ.130 ว่าพี่ๆ ดังนั้นการปฏิวัติรศ.130 แม้ล้มเหลว แต่พวกเขาได้เดินสู่สายธารประวัติศาสตร์ในการสร้างประชาธิปไตย