เปิดหลักเกณฑ์ Food Delivery ปกป้องร้านอาหารถูกเอาเปรียบ

เปิดหลักเกณฑ์ร่าง “ไกด์ไลน์ ฟู้ด เดลิเวอรี่” เพื่อป้องกันแพลตฟอร์มส่งอาหารออนไลน์เอาเปรียบร้านอาหาร โดย สขค. เตรียมเปิดประชาพิจารณารับฟังความคิดเห็น ก่อนประกาศบังคับใช้เร็วๆ นี้ #FoodDelivery #bangkokbank #bangkokbanksme #sme

ในช่วงการล็อกดาวน์จะเห็นชัดว่า ผู้บริโภคใช้บริการสั่งอาหารและจัดส่งออนไลน์หรือ Food Delivery เพิ่มขึ้นมาก จึงเป็นโอกาสที่ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ตลอดจนร้านค้าปลีกต่างๆ ใช้โอกาสนี้ในการสร้างรายได้ แต่กระนั้นแพลตฟอร์ม Food Delivery อาจช่วยสร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมก็จริง แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่ทางร้านอาหารต้องจ่ายให้กับแพลตฟอร์มต่างๆ นั้นถูกเรียกว่า GP (Gross Profit) หรือค่าส่วนแบ่งยอดขาย ซึ่งแพลตฟอร์มจะเรียกเก็บที่ประมาณ 30 -35 % ต่อเมนู ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็คือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ของร้านอาหารที่เข้าแพลตฟอร์มจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ที่สำคัญในปัจจุบันยังไม่มีกฎระเบียบที่ชัดเจนในการป้องกันแพลตฟอร์มออนไลน์เอาเปรียบร้านค้า

แต่ล่าสุดก็มีข่าวดี เมื่อคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อยกร่าง “ไกด์ไลน์ ฟู้ด เดลิเวอรี่” เพื่อป้องกันแพลตฟอร์มส่งอาหารออนไลน์เอารัดเอาเปรียบร้านอาหาร เตรียมเปิดประชาพิจารณารับฟังความคิดเห็น ก่อนประกาศบังคับใช้ เปิดเงื่อนไขเข้ม ห้ามเรียกรับผลประโยชน์ไม่เป็น

ธรรม จำกัดหรือขัดขวางการทำธุรกิจกับรายอื่น ห้ามใช้อำนาจเหนือตลาดหรืออำนาจต่อรองที่มีอยู่กำหนดเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme

นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ กรรมการการแข่งขันทางการค้า และโฆษกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) ได้ยกร่างประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เรื่องแนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรับและส่งอาหารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร หรือไกด์ไลน์ ฟู้ด เดลิเวอรี่เสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างการเตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น จากนั้นจะนำความคิดเห็นมาปรับปรุง ก่อนที่จะเสนอให้ กขค. พิจารณาและออกประกาศให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

“การออกไกด์ไลน์ฟู้ด เดลิเวอรี่ดังกล่าว เป็นการติดตามการทำธุรกิจสมัยใหม่ในยุค New Normal ที่ธุรกิจมีการปรับตัวรับวิกฤตโควิด 19 ซึ่ง สขค. ก็ต้องตามรูปแบบการทำธุรกิจให้ทัน และเห็นว่าหากไม่เข้าไปกำกับดูแล ก็อาจจะมีปัญหาธุรกิจแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ครองส่วนแบ่งตลาด อาจจะมีทำการเอาเปรียบธุรกิจรายอื่นเกิดขึ้น

ได้ จึงได้ผลักดันให้มีการทำไกด์ไลน์ออกมา และที่ผ่านมาก็ได้มีการหารือกับผู้ให้บริการฟู้ด เดลิเวอรี่ และร้านอาหารแล้ว ทุกฝ่ายไม่ขัดข้อง” นายสันติชัยกล่าว

สำหรับไกด์ไลน์ธุรกิจให้บริการฟู้ด เดลิเวอรี่ ได้กำหนดเงื่อนไขที่ห้ามกระทำในเบื้องต้น โดยห้ามเรียกรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม เช่น การเรียกเก็บค่าส่วนแบ่งรายได้ในอัตราที่สูงเกินสมควรหรือแตกต่างกันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร, การเรียกเก็บอัตราค่าธรรมเนียมการโฆษณา ที่เป็นการเรียกเก็บโดยปราศจากความชัดเจนและไม่มีเหตุผลอันสมควร, การเรียกเก็บค่าส่งเสริมการขายในโอกาสพิเศษทางการตลาด โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และเรียกผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมอื่นๆ รวมทั้งยังกำหนดให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราหรือวิธีการเรียกรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจใดๆ แพลตฟอร์มฟู้ด เดลิเวอรี่ จะต้องแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารทราบล่วงหน้าถึงเหตุผลและความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาที่เหมาะสม

นอกจากนี้ยังได้กำหนดเงื่อนไขทางการค้าอันเป็นการจำกัด หรือขัดขวางการประกอบธุรกิจของผู้อื่นอย่างไม่เป็นธรรม เช่น การกำหนดเงื่อนไขที่เป็นการจำกัดสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร โดยการห้ามจำหน่ายอาหารกับผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรับและส่งอาหารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์รายอื่นอย่างไม่เป็นธรรม และหากผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษด้วยวิธีทางการค้าต่างๆ เช่น การคิดอัตราค่าส่วนแบ่งรายได้ในอัตราที่สูงขึ้น ไม่ให้หรือระงับส่วนลดอัตราค่าส่วนแบ่งรายได้ คิดอัตราผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่นๆ ในอัตราที่สูงเกินสมควร

ขณะเดียวกัน ห้ามใช้อำนาจเหนือตลาดหรืออำนาจต่อรองที่เหนือกว่าอย่างไม่เป็นธรรม เช่น การแทรกแซง หรือจำกัดอิสระในการกำหนดราคาของผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารอย่างไม่เป็นธรรม, การกำหนดเงื่อนไขบังคับด้านราคาที่เท่ากันในทุกช่องทางการจำหน่าย โดยไม่มีทางเลือกด้านราคาอย่างไม่มีเหตุผลอันสมควร, การประวิงเวลาจ่ายค่าสินค้าตามระยะเวลาที่กำหนดในระยะเวลาที่นานเกินสมควร, การปฏิเสธการทำการค้ากับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร เนื่องจากกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารปฏิเสธเงื่อนไขข้อตกลงที่กำหนดหรือปฏิเสธที่จะทำการใดๆ ที่ถูกร้องเรียนอย่างไม่เป็นธรรม

หรือกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารได้รับร้องเรียนหรือเตรียมการร้องเรียน เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรับและส่งอาหารต่อหน่วยงานของรัฐ, การถอดผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารหรือร้านค้าออกจากช่องทางการจำหน่ายอิเล็กทรอนิกส์อย่างไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้า, การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขภายใต้สัญญาหรือระยะเวลาของสัญญา โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาของสัญญาโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน

ส่วนเงื่อนไขอื่นๆ ห้ามปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น ฟู้ด เดลิเวอรี่กระทำการบังคับ หรือกำหนดเงื่อนไขพิเศษ หรือจำกัดหรือกีดกันการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจอื่นจนอาจก่อให้เกิดความเสียหาย

เรื่องนี้ต้องตามกันต่อไปว่าคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าจะประกาศใช้ไกด์ไลน์ ฟู้ด เดลิเวอรี่ เมื่อไร เพราะนี่เป็นเรื่องที่ธุรกิจร้านอาหารต่างเฝ้ารอและอยากให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

การใช้ Food Delivery ของคนไทยช่วงโควิด Ghost Kitchen ขายอาหารได้ไม่ต้องมีหน้าร้าน

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333