“อีคอนไทย” ประเมินตกงานจากโควิด-19 ถึง 6.5 ล้านคน

BANGKOK, THAILAND - MARCH 22, 2020: Foreign workers wearing face masks await at the Mo Chit Bus Terminal amid Coronavirus fears in Bangkok. Laos has closed its four immigration checkpoints near ThailandÕs Nakhon Phanom province, saying it doesnÕt have enough medical personnel to screen for the Covid-19 coronavirus at the four places.- PHOTOGRAPH BY Adisorn Chabsungnoen / Echoes Wire / Barcroft Studios / Future Publishing (Photo credit should read Adisorn Chabsungnoen / Echoes Wire/Barcroft Media via Getty Images)

สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย(อีคอนไทย) ประเมินผลกระทบโควิด-19 ทำให้ตกงาน 6.5 ล้านคน กลุ่มท่องเที่ยวมากสุด รองลงมากลุ่มธุรกิจในห้าง ลุ้นการแพร่ระบาดจบใน 1 เดือน วอนรัฐอัดสภาพคล่องช่วยเอสเอ็มอี

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย(อีคอนไทย) กล่าวว่า จากไวรัสโควิด -19 เริ่มระบาดในไทยมานานกว่า 2 เดือน เริ่มส่งผลกระทบรุนแรงต่อการจ้างงานในคาดว่าในเดือนมีนาคมต่อเนื่องถึงเดือนเมษายน จะมีคนตกงานไม่น้อยกว่า 6.5 ล้านคน จากปกติสถิติคนว่างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติสูงสุดไม่เกิน 5 แสนคน เนื่องจากเขานับจาก 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์คือ ถ้าทำงาน 1ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แม้ไม่ได้รับค่าจ้างก็ตาม ถือว่าไม่ตกงาน ซึ่งไทยเป็นเมืองแห่งเกษตรกรรมดังนั้นทำให้อัตราการว่างงานที่ภาครัฐประเมินอยู่ในระดับที่ต่ำ เพราะแค่ถือจอบไปนา ไปสวน ถือว่ามีงานทำแล้ว

“ตัวเลข 6.5 ล้านคนมาจาก เช่น  แรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 2.75 ล้านคน ลูกจ้างที่ถูกปิดกิจการโดยคำสั่งรัฐ เช่น ลูกจ้างในร้านค้า ร้านอาหาร ในห้าง ประมาณ 1 ล้านคน ร้านค้ารายย่อย 8.4 แสนคน แผงลอย 9 หมื่น ร้านนวดแผนโบราณ ร้านเสริมสวย 3.7 แสนคน ร้านอาหาร 2.1 แสนคน แรงงานในอุตสาหกรรมรถยนต์ปิดชั่วคราวหลายแสนคน นอกจากนี้มีแรงงานเด็กจบใหม่ 5 แสนคนจบใหม่ คนตกงานสะสม 4 แสนคน”นายธนิต กล่าว

นายธนิตกล่าวว่า ตัวเลขตกงานสูงขึ้นเรื่อยๆ คงต้องรอดูว่าไวรัสโควิด-19 จะจบอย่างไร หากสามารถจบได้เร็วภายใน 1 เดือนธุรกิจน่าจะฟื้นตัวได้เร็ว แต่ถ้าจบช้าลากยาวไปอีกหลายเดือน การฟื้นตัวจะลำบากมากขึ้น เพราะขณะนี้ภาคท่องเที่ยวหายไปเกือบหมด คนไทยไม่เที่ยว ต่างชาติเข้ามาไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลต้องใช้ยาแรงในการควบคุมไวรัส การประกาศเคอร์ฟิว ต้องเข้มงวด เพราะไม่อย่างนั้นอุตสาหกรรมคงต้องปิดอีกหลายกลุ่ม จากขณะนี้ โรงงานผลิตรถยนต์ของ  6 ค่ายรถยนต์ประกาศปิดตัว 1 เดือน ถ้าไวรัสยังไม่จบเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น คงจะปิดต่อเนื่องยาวกว่า 1 เดือน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และอะไหล่ชิ้นส่วนรถยต์ ต้องปิดตัวตามโรงงานผลิต ซึ่งตัวเลขงานอาจจะสูงกว่าที่ประเมินไว้ข้างต้น

นายธนิต กล่าวว่า นายจ้างไม่อยากให้คนออก พยายามรักษาแรงงานไว้ หากเศรษกิจฟื้นตัวได้เร็ว ทำให้ธุรกิจฟื้นตัวได้ แต่ดูแล้วไม่ง่าย เพราะการแพร่ระบาดครั้งนี้เกิดขึ้นทั่วโลก การส่งออก การท่องเที่ยวที่เป็นเสาหลักของเศรษฐกิจไทยกระทบหมด สหประชาชาติ(ยูเอ็น) ประกาศแล้วว่าการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจโลก ถดถอย รุนแรง ต่ำที่สุดตั้งแต่เคยเป็นมาในอดีต

นายธนิต กล่าวว่า สิ่งสำคัญขณะนี้ของภาคธุรกิจคือสภาพคล่องผู้ประกอบการ การที่รัฐเตรียมออกมาตรการเยียวยารระยะที่ 3 วงเงิน 1.6-1.7 ล้านล้านบาท คาดว่าจะเข้าช่วยดูแลประชาชนและธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งมาตรการระยะที่ 1 และ 2 ใช้เงินรวมกัน 5.258 แสนล้านบาท มีสินเชื่อกว่า 2 แสนล้าน แต่ธุรกิจรายเล็กยังเข้าไม่ถึง ธนาคารนำเสนอให้แต่รายใหญ่ เพราะกลัวเรื่องหนี้เสีย

“แม้รัฐมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำหรือซอฟท์โลนไปก่อนหน้านี้จากธนาคารออมสิน 1.5 แสนล้านบาทดอกเบี้ย 2% ต่อปี ถูกกว่าที่ธุรกิจไปกู้แบงก์ต้องเสียดอกเบี้ย 7-8% ต่อปี แต่เงื่อนการปล่อยกู้ของธนาคารต่างๆ ยังมีเงื่อนไข เช่น ต้องมีผลประกอบการที่ดี มียอดขาย ซึ่งทำให้เอสเอ็มอีรายเล็กยังเข้าถึงแหล่งเงินทุนไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องผ่อนเกณฑ์เงื่อนไขการกู้เงิน รวมถึงต้องบรรษัทสินเชื่อขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(บสย.) เข้ามาเพิ่มวงเงินค้ำประกันเช่น 50% จากเดิมค้ำประกันไม่เกิน 30% เพื่อให้ธนาคารกล้าปล่อยกู้”นายธนิตกล่าว