จรัญ มะลูลีม : การทูตรัฐอันธพาลกับการเมืองแห่งอำนาจในตะวันออกกลาง

จรัญ มะลูลีม

รัฐอันธพาลและการทูต (ต่อ)

จากความพยายามดังกล่าว มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology (MIT) จึงทำข้อตกลงกับชาฮ์เพื่อรับนักศึกษาของอิหร่านเข้าศึกษาในโปรแกรมวิศวกรรมนิวเคลียร์เพื่อให้ได้รับเงินอุดหนุนจากชาฮ์ โดยได้รับการปฏิเสธอย่างมากจากองค์กรนักศึกษา

แต่ด้วยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากคณะในการพบปะกันซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าคณะเก่าคงจะจำกันได้ดี เมื่อถูกถามในภายหลังว่าทำไมเขาจึงสนับสนุนโปรแกรมเหล่านี้ภายใต้ชาฮ์ แต่เวลานี้กลับปฏิเสธ คิสซิงเจอร์ตอบอย่างจริงใจว่าเวลานั้นอิหร่านเป็นพันธมิตร

เมื่อปัดความคลุมเครือออกไปแล้ว อะไรคือการคุกคามที่แท้จริงจากอิหร่านที่เป็นแรงบันดาลใจต่อความหวาดกลัวและโกรธเคืองอิหร่าน? พื้นที่ธรรมชาติที่จะตอบก็เป็นฝ่ายข่าวกรองของสหรัฐ เมื่อย้อนกลับไปสู่การวิเคราะห์ว่าอิหร่านมิได้ใช้การข่มขู่ทางทหาร

ทั้งนี้ หลักการทางด้านยุทธศาสตร์ของอิหร่านก็คือการป้องกันและโครงการนิวเคลียร์ ที่ถือว่าเป็น “ส่วนกลางของยุทธศาสตร์แห่งการยืนยัน”

แล้วใครเล่าที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการยืนยันของอิหร่าน?

เชื่อว่าคำตอบนั้นง่ายๆ นั่นคือรัฐอันธพาลที่อาละวาดอยู่ในภูมิภาคและไม่ต้องการที่จะยอมให้กับมารใดๆ ที่นำหน้าอยู่ไกลในเรื่องนี้คือสหรัฐและอิสราเอล

โดยซาอุดีอาระเบียพยายามอย่างที่สุดที่จะเข้าร่วมสโมสรด้วยการรุกรานบาห์เรนเพื่อสนับสนุนขบวนการปฏิรูปของเผด็จการ ซาอุดีอาระเบียเองในเวลานี้ก็กำลังโจมตีด้วยการสังหารชาวเยเมนจนก่อให้เกิดวิกฤตมนุษยธรรมอยู่ที่นั่น

 

วิเจย์ตั้งคำถามต่อไปอีกว่า ศ.ชอมสกี้จะพูดอีกสักเล็กน้อยเกี่ยวกับ “รัฐอันธพาลเหล่านี้ได้ไหม?” เหนืออื่นใด มันไม่ได้เป็นลักษณะของรัฐอันธพาลตามแบบฉบับแต่อย่างใด คำคำนี้พัฒนาขึ้นในปี 1994 โดยที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแอนโธนี เลค (Anthory Lake) ที่อ้างไปถึงเกาหลีเหนือ คิวบา อิรัก อิหร่าน และลิเบีย รายการของ ศ.ชอมสกี้ไม่ได้รวมอำนาจเหล่านี้ จะมีก็แต่สหรัฐ อิสราเอล และซาอุดีอาระเบีย
ศ.ชอมสกี้ตอบว่า สิบห้าปีก่อนศาสตราจารย์ด้านการปกครอง ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ทางการเมืองที่มีชื่อเสียง แซมวล ฮันติงตัน (Samuel Huntington) เตือนโลกส่วนใหญ่เอาไว้ในวารสาร Foreign Affairs ว่า

“สหรัฐกำลังกลายเป็นมหาอำนาจอันธพาล” ด้วยการพิจารณาถึง “การคุกคามขนานใหญ่ที่มีต่อสังคมของพวกเขาแต่เพียงอย่างเดียว”

คำพูดของเขาได้รับการสะท้อนออกมาอย่างสั้นๆ โดยสมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน โรเบิร์ต เจอร์วิส (Robert Jervis) ซึ่งให้ข้อสังเกตว่า ในสายตาส่วนใหญ่ของโลกนั้น “ความจริงแล้วรัฐโดยเบื้องต้นที่เป็นอันธพาลก็คือสหรัฐ”

ความคิดทั่วโลกสนับสนุนการตัดสินนี้ด้วยตัวเลขที่เป็นรูปธรรมตามรายงานของสำนักโพลของตะวันตก (WIN/Gallup) การคุกคามที่ยิ่งใหญ่ต่อสันติภาพของโลกนั้นมาจากสหรัฐ

ที่ตามมาไกลหน่อย แต่ก็อยู่ในระดับที่สองก็คือปากีสถาน

ทั้งนี้ อันดับของปากีสถานอาจจะสูงขึ้นได้โดยการโหวตของชาวอินเดีย

อิหร่านนั้นอยู่อันดับล่าง ร่วมกับอิสราเอล เกาหลีเหนือ และอัฟกานิสถาน

ในส่วนการตอบรับของสหรัฐเองนั้น สหรัฐคือการคุกคามที่ร้ายแรงต่อสันติภาพของโลก นี่เป็นความหมายที่ชัดเจนในการยืนกรานถึงการเป็นผู้นำและชนชั้นทางการเมือง ในสื่อและการแสดงความเห็นที่สหรัฐใช้สิทธิที่จะใช้กำลังหากต้องตัดสินใจแต่ฝ่ายเดียวว่าอิหร่านมุ่งมั่นที่จะละเมิดบางประการ

มันเป็นจุดยืนอย่างเป็นทางการมายาวนานของฝ่ายเดโมแครตเสรีนิยม

ตัวอย่างเช่น ลัทธิคลินตัน (Clintan Dactrine) ที่ว่าสหรัฐนั้นมีสิทธิที่จะ “ใช้อำนาจทางทหารแต่ฝ่ายเดียว” แม้แต่เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะเข้าถึงตลาดพลังงานสำคัญๆ การส่งพลังงานและทรัพยากรทางยุทธศาสตร์

ยังไม่ต้องกล่าวถึง “ความมั่นคง” หรือ “ที่เกี่ยวกับความมีมนุษยธรรม” แต่อย่างใด

 

กลับมาที่คำถามที่เห็นได้ชัด ความจริงแล้วอะไรคือการคุกคามของอิหร่าน ตัวอย่างเช่น ทำไมเล่า อิสราเอลและซาอุดีอาระเบียจึงหวาดกลัวการคุกคามของอิหร่าน อะไรคือการคุกคาม มันยากที่จะเป็นเรื่องการทหาร

ไม่กี่ปีก่อนฝ่ายข่าวกรองของสหรัฐ รายงานกับรัฐสภาว่าอิหร่านมีค่าใช้จ่ายทางทหารต่ำตามมาตรฐานของพื้นที่และหลักการทางยุทธศาสตร์ ก็คือการป้องกันที่ออกแบบมาเพื่อขัดขวางการรุกรานเท่านั้น
การรายงานจากฝ่ายข่าวกรองในเวลาต่อมาได้ยืนกรานว่าไม่มีหลักฐานใดที่ว่าอิหร่านขับเคลื่อนโครงการอาวุธนิวเคลียร์

Stockholm International Peace Research Institute (SIRRI) ที่มีพลังได้พิจารณาถึงอันดับของอาวุธทั่วโลก ซึ่งเป็นไปตามปกติที่สหรัฐนำห่างในเรื่องค่าใช้จ่ายทางทหาร โดยจีนมาเป็นอันดับสอง ซึ่งอยู่ในราวหนึ่งในสามของค่าใช้จ่ายทางทหารของสหรัฐ

ที่อยู่ต่ำกว่าก็คือรัสเซียและซาอุดีอาระเบียซึ่งอยู่เหนือประเทศยุโรปตะวันตกอื่นๆ โดยแทบจะไม่มีการกล่าวถึงอิหร่านให้เห็นแต่อย่างใด

รายละเอียดทั้งหมดได้มอบให้กับศูนย์กลางการศึกษาทางยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา (Centre for Strategic and International Studies) หรือ CSIS เพื่อการศึกษาเมื่อเดือนเมษายนซึ่งพบ “กรณีที่เป็นบทสรุปว่ารัฐแถบอ่าวมีความก้าวหน้าอย่างท่วมท้น (เหนือ) อิหร่านทั้งการใช้จ่ายทางทหารและการเข้าถึงอาวุธสมัยใหม่” การใช้จ่ายทางทหารของอิหร่านเป็นแค่เศษเสี้ยวของซาอุดีอาระเบียและอยู่ต่ำกว่าการใช้จ่ายของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เสียอีก

โดยรวมแล้วรัฐต่างๆ ของสภาความร่วมมือแห่งอ่าวเปอร์เซีย (GCC) อย่างบาห์เรน โอมาน ซาอุดีอาระเบีย และ UAE ต่างก็ใช้เงินมากกว่าอิหร่านในด้านอาวุธ

CSIS ได้ให้ข้อสังเกตต่อไปว่า “รัฐอาหรับแถบอ่าวได้จัดหาและกำลังจัดหาอาวุธบางประเภทที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก (ในขณะที่) อิหร่านถูกบีบให้อยู่กับอดีต ซึ่งบ่อยครั้งต้องขึ้นอยู่กับระบบต่างๆ ที่โดยพื้นฐานแล้วได้รับมาในช่วงเวลาของชาฮ์” ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีความล้าสมัย

แน่ละความไม่เท่าเทียมกับอิสราเอลยิ่งมีมากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงอิสราเอลอยู่คู่เคียงกับอาวุธที่ก้าวหน้ามากที่สุดของสหรัฐมหาอำนาจที่แท้จริง และบทบาทของอิสราเอลที่เป็นฐานทางทหารที่อยู่ภายนอกของมหาอำนาจ โดยมีอาวุธนิวเคลียร์สำรองจำนวนมาก

 

ในท้ายที่สุด วิเจย์ถามว่า ศ.ชอมสกี้จะพูดอะไรบางอย่างในสิ่งที่เพิ่งได้กล่าวมาแล้วได้บ้าง? ในเรื่องการเก็บสะสมอาวุธนิวเคลียร์ของอิสราเอล?

ศ.ชอมสกี้ตอบว่า แน่ละ อิสราเอลเป็นหนึ่งในสามมหาอำนาจนิวเคลียร์เคียงคู่กับอินเดียและปากีสถาน ซึ่งโปรแกรมว่าด้วยอาวุธนิวเคลียร์ได้รับการช่วยเหลือโดยสหรัฐและปฏิเสธการลงนามสนธิสัญญาไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ (NPT)

รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่าน ญาวาด ซารีฟ ให้การต้อนรับข้อตกลงนิวเคลียร์และกล่าวว่าเวลานี้คือการกลับมาของ “ความแข็งกระด้าง” ที่มีชื่อว่าอิสราเอล

การพิจารณาถึงการประชุม NPT ทุกห้าปีจบลงด้วยความล้มเหลวในเดือนเมษายน หนึ่งในความล้มเหลวหลักก็คือสหรัฐได้ปิดกั้นความพยายามที่จะเคลื่อนไหวสู่เขตอาวุธทำลายล้างในตะวันออกกลาง (เอเชียตะวันตก)

ความพยายามนี้นำโดยอียิปต์และรัฐอาหรับอื่นๆ มา 20 กว่าปีแล้ว ผู้ที่เป็นแกนนำในการสนับสนุน NPT และหน่วยงานอื่นๆ ของสหประชาชาติ และในการประชุม Pugwash คือจาญันตา ดานาปาลา (Jayantha Dhanapala) และเซอร์จิโอ ดูอาร์เต (Sergio Duarte) ที่ให้ข้อสังเกตไว้ว่า

“การนำมาใช้ที่ประสบความสำเร็จในปี 1995 ของข้อมติในการสร้างเขตปลอดอาวุธทำลายล้างในตะวันออกกลางเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการรวมตัวกันที่อนุญาตให้มีการขยายเวลา NPT ออกไปอย่างไม่มีกำหนด”

สนธิสัญญาการควบคุมอาวุธที่สำคัญที่สุด ซึ่งมีการเกาะกลุ่มกันก็สามารถจะยุติการระบาดของอาวุธนิวเคลียร์ได้ การนำเอาข้อมติมาใช้ได้ถูกหยุดยั้งโดยสหรัฐที่เป็นปัจจุบันที่สุดก็โดยบารัค โอบามา ในปี 2010 และอีกครั้งหนึ่งในปี 2015

ดานาปาลาและดุอาร์เตวิจารณ์ว่าความพยายามได้ถูกปิดกั้นอีกครั้ง “ในนามของรัฐซึ่งไม่ได้เป็นกลุ่มก้อนของ NPT และเชื่อกันโดยกว้างขวางว่าเป็นเพียงหนึ่งในภูมิภาคที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง”

อันเป็นความสุภาพและเป็นการพูดแค่เพียงเล็กน้อยที่อ้างไปถึงอิสราเอล

 

พวกเขาหวังว่าความล้มเหลวนี้จะไม่เป็นการฆ่าเพื่อจบชีวิต (Coup de grace) ต่อวัตถุประสงค์ที่มีมายาวนานของ NPT จนมีการเพิ่มความก้าวหน้าในการลดอาวุธนิวเคลียร์และเขตปลอดอาวุธทำลายล้างในตะวันออกกลาง บทความของพวกเขาในวารสารของสมาคมการควบคุมอาวุธมีชื่อว่า มีอนาคตสำหรับ NPT?

เขตปลอดนิวเคลียร์ในตะวันออกกลางเป็นการกล่าวออกมาตรงๆ เพื่อนำเสนอถึงอะไรก็ตามที่มีการกล่าวหากันว่ามาจากอิหร่าน และการตกลงที่ยิ่งใหญ่มากกว่านี้ยังเห็นกันอยู่ในความต่อเนื่องของสหรัฐที่จะก่อวินาศกรรม ตามความพยายามนี้ด้วยการปกป้องลูกค้าอิสราเอล

นี่ไม่ได้เป็นกรณีเดียวเมื่อโอกาสที่จะหยุดการกล่าวหาการคุกคามอิหร่านได้ถูกเพิกเฉยโดยสหรัฐ ก่อให้เกิดการตั้งคำถามว่าอะไรคือเดิมพันที่แท้จริงกันแน่