วัดไผ่ล้อมจัดโครงการไถ่ชีวิตโคแม่พันธุ์ เพื่อสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน บ้าน วัด โรงเรียน รวมใจ ไถ่ชีวิตโคแม่พันธุ์ 9 ตัว

วัดไผ่ล้อมจัดโครงการไถ่ชีวิตโคแม่พันธุ์

เพื่อสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน

บ้าน วัด โรงเรียน รวมใจ ไถ่ชีวิตโคแม่พันธุ์ 9 ตัว

พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม เผยว่า วัดไผ่ล้อมได้จัดโครงการโคแม่พันธุ์เพื่อสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด เป็นโครงการที่จะจัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้กำหนดงานไถ่ชีวิตโค ในวันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2561 เวลา 13.00 น. ถือเป็นบุญใหญ่ที่จับมือร่วมกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน กล่าวสำหรับบ้านก็คือนำโดยร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลานายเงี๊ยบ พุทธมณฑลสาย 4 และประชาชนทั่วไป ส่วนวัดก็คืออาตมาพระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมและคณะสงฆ์ ในส่วนของโรงเรียนก็คือสหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด

โดยเริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2536 โดยเริ่มจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน โดยมีโครงการปรับปรุงพันธุกรรมและสมรรถภาพการผลิตโคพันธุ์กำแพงแสน เมื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการก็จะมีลูกโค ทั้งเพศผู้และเพศเมีย โคเพศเมียใช้เป็นแม่พันธุ์ ส่วนโคเพศผู้ มีเพียงส่วนที่สามารถนำมาเป็นพ่อพันธุ์ได้ โดยเฉลี่ยในเพศผู้ 100 ตัว สามารถทำเป็นพ่อพันธุ์ได้เพียง 20 ตัว เท่านั้น จึงเกิดปัญหาว่าโคเพศผู้ที่เหลือจะนำไปทำอะไร จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมตัวของเกษตรกร จัดตั้งสหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด ขึ้นมา เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงโคขุนและจัดการด้านการตลาดโคขุนเพื่อรองรับกำลังการผลิตของสมาชิก โดยสหกรณ์ดำเนินการเปิดรับสมาชิกทั่วประเทศ สมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของโครงการปรับปรุงพันธุกรรมและสมรรถภาพการผลิตโคพันธุ์กำแพงแสน และสมาชิกผู้เลี้ยงโคเนื้อทั่วไป มีเครื่องหมายทางการค้าคือ (เคยูบีฟ) และมีสโลแกนว่า “เนื้อนุ่ม จากโคหนุ่ม ไขมันน้อย” นอกจากนี้ยังมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคด้วย ปัจจุบันสหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็นสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2560 เป็นต้นมา

สมาชิกสหกรณ์สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน โดยการรับบริจาคโคแม่พันธุ์จากโครงการไถ่ชีวิตโคของวัดไผ่ล้อม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกสหกรณ์ โคที่ได้รับการไถ่ชีวิตจะเป็นโคต้นน้ำ (แม่พันธุ์) เพื่อผลิตเนื้อโคคุณภาพต่อไป

พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ กล่าวอีกว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มจำนวนโคต้นน้ำ หรือโคแม่พันธุ์ในประเทศ 2 เพื่อสร้างอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร วิธีการดำเนินงาน สหกรณ์กำหนดคุณสมบัติ ตรวจสอบและคัดเลือก สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ สหกรณ์รับมอบโคแม่พันธุ์จากวัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม สหกรณ์จัดทำทะเบียนประวัติโค และรับโคแม่พันธุ์เข้าระบบของสหกรณ์ จัดส่งโคพร้อมจัดทำสัญญาในการรับโคกับสมาชิกสหกรณ์ ติดตามผลการดำเนินโครงการของสมาชิก ทุก 1 ปี เช่น จำนวนลูกโคเกิด รายงานผลการดำเนินโครงการให้กับวัดไผ่ล้อมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

โครงการโคแม่พันธุ์เพื่อสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด

หลักการและเหตุผล

สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2536 โดย เริ่มจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน โดยมีโครงการปรับปรุงพันธุกรรมและสมรรถภาพการผลิตโคพันธุ์กำแพงแสน เมื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการก็จะมีลูกโค ทั้งเพศผู้และเพศเมีย โคเพศเมียใช้เป็นแม่พันธุ์ ส่วนโคเพศผู้ มีเพียงส่วนที่สามารถนำมาเป็นพ่อพันธุ์ได้ โดยเฉลี่ยในเพศผู้ 100 ตัว สามารถทำเป็นพ่อพันธุ์ได้เพียง 20 ตัว เท่านั้น จึงเกิดปัญหาว่าโคเพศผู้ที่เหลือจะนำไปทำอะไร จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมตัวของเกษตรกร จัดตั้งสหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด ขึ้นมา เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงโคขุนและจัดการด้านการตลาดโคขุนเพื่อรองรับกำลังการผลิตของสมาชิก โดยสหกรณ์ดำเนินการเปิดรับสมาชิกทั่วประเทศ สมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของโครงการปรับปรุงพันธุกรรมและสมรรถภาพการผลิตโคพันธุ์กำแพงแสน และสมาชิกผู้เลี้ยงโคเนื้อทั่วไป มีเครื่องหมายทางการค้าคือ (เคยูบีฟ) และมีสโลแกนว่า “เนื้อนุ่ม จากโคหนุ่ม ไขมันน้อย” นอกจากนี้ยังมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคด้วย ปัจจุบันสหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็นสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2560 เป็นต้นมา

สมาชิกสหกรณ์สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน โดยการรับบริจาคโคแม่พันธุ์จากโครงการไถ่ชีวิตโคของวัดไผ่ล้อม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกสหกรณ์ โคที่ได้รับการไถ่ชีวิตจะเป็นโคต้นน้ำ (แม่พันธุ์) เพื่อผลิตเนื้อโคคุณภาพต่อไป

วัตถุประสงค์

1 เพื่อเพิ่มจำนวนโคต้นน้ำ หรือโคแม่พันธุ์ในประเทศ

2 เพื่อสร้างอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

วิธีการดำเนินงาน

1 สหกรณ์กำหนดคุณสมบัติ ตรวจสอบและคัดเลือก สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ

2 สหกรณ์รับมอบโคแม่พันธุ์จากวัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม

3 สหกรณ์จัดทำทะเบียนประวัติโค และรับโคแม่พันธุ์เข้าระบบของสหกรณ์