นัยยะแห่งอำนาจ การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา! ในมือทรัมป์

เผยแพร่ ครั้งแรก เมื่อ 14 พ.ย. 2559

หลังจากที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน คว้าชัยชนะเหนือนางฮิลลารี คลินตัน ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต ไปอย่างสูสี ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่มีขึ้นเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ก็ค่อนข้างเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะได้ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกาอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ การกระทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2560 หลังจากที่ นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน หมดวาระการดำรงตำแหน่งลง

ในทางการเมืองแล้ว การที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะในครั้งนี้ ก็คงไม่ได้เป็นเรื่องที่เกินความคาดหมายมากมายนัก เนื่องจากนักวิเคราะห์การเมืองในสหรัฐหลายท่านก็เคยได้ปรารภไว้บ้างแล้ว ว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ “ทรัมป์” จะเป็นคนที่คว้าชัย

แต่ในทางกฎหมาย มีประเด็นที่น่าสนใจเพิ่มเติมอีกประเด็นหนึ่งที่ผมเชื่อว่า ประชาชนชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยกำลังเฝ้าติดตามอยู่ นั่นคือ “ทรัมป์” ในฐานะประธานาธิบดีคนใหม่ กำลังจะมีอำนาจในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา (The Supreme Court)

โดยที่มาตรา 2 อนุมาตรา 2 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา บัญญัติให้ ประธานาธิบดีโดยคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภาแห่งสหรัฐมีอำนาจแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา

ดังนั้น เมื่อสหรัฐกำหนดให้มีผู้พิพากษาศาลสูงสุดจำนวน 9 คน แต่ปัจจุบันเหลือ ปฏิบัติหน้าที่ได้จำนวน 8 คน เนื่องจาก นายแอนโทนิน สกาเลีย ในวัย 79 ปี หนึ่งในผู้พิพากษา ที่มีแนวความคิดแบบอนุรักษ์นิยมที่สุดในศาลสูงสุดของสหรัฐ ได้เสียชีวิตไปในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา

ทรัมป์ในฐานะประธานาธิบดีคนใหม่ก็จะมีอำนาจในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุด แทนตำแหน่งของนายแอนโทนิน สกาเลีย ด้วย

ถามว่า การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกามีความสำคัญอย่างไร?

ประการแรก คงต้องตอบว่า เนื่องจากศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกามีบทบาทอย่างยิ่งในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ศาลสูงสุดมีอำนาจในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย หรือหากพูดอย่างง่าย ๆ ก็คือ การตรวจสอบกฎหมายที่รัฐสภาเป็นผู้ออกไม่ให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพอันเป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันหวงแหนมากที่สุดนั่นเอง

ประการที่สอง การว่างลงของตำแหน่งผู้พิพากษาศาลสูงสุด จนเหลือผู้พิพากษาที่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้เพียง 8 คน ทำให้เรื่องสำคัญอย่างยิ่งบางเรื่องที่อาจมีคะแนนเสียงเท่ากันกึ่ง ๆ ของผู้พิพากษา เท่าที่เหลืออยู่ ไม่สามารถตัดสินได้ ซึ่งอาจกระทบกับการบริหารประเทศและสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ประการที่สาม โดยที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้พิพากษาศาลสูงสุดแต่ละคนสามารถดำรงตำแหน่ง ได้ตลอดชีวิตตราบเท่าที่มีความประพฤติดี (Good Behavior)

ดังนั้น การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุดจึงถือเป็นการฝากอนาคตส่วนหนึ่งของประเทศไว้กับแนวคิดของผู้พิพากษาคนนั้น ๆ ตลอดช่วงชีวิตที่เขายังดำรงตาแหน่ง เนื่องจากเขาจะมีอำนาจพิจารณาตัดสินข้อพิพาทในเรื่องสาคัญของประเทศได้ตลอดชีวิต ซึ่งต่างจากประธานาธิบดีที่จะมีอำนาจบริหารประเทศเพียงเท่าที่ยังอยู่ในวาระการดารงตาแหน่งเท่านั้น

ภายหลังการเสียชีวิตของ นายแอนโทนิน สกาเลีย นายบารัค โอบามา เคยกล่าวว่า เขามีความ ตั้งใจอย่างเต็มเปี่ยมที่จะเสนอชื่อบุคคลผู้ที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาศาลสูงสูดสืบต่อจากตำแหน่ง ของนายแอนโทนิน สกาเลีย โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติตามความรับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญ

แต่อย่างไรก็ดี ก็มีเสียงคัดค้านจากวุฒิสมาชิกจากพรรครีพับลิกัน (ซึ่งครองเสียงข้างมาในวุฒิสภา) และนักวิชาการ ด้านการเมืองการปกครองจานวนหนึ่ง ที่ได้พากันออกมาโต้แย้งว่า นายโอบามาเป็นประธานาธิบดีที่กำลังจะพ้นตาแหน่งในอีกไม่ถึง 1 ปีข้างหน้า ไม่สมควรทำหน้าที่นี้ แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใด จนถึงปัจจุบันนายโอบามาก็ยังไม่ได้เสนอชื่อบุคคลใดเพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาอนุมัติให้ดำรงตำแหน่ง แทนนายสกาเลียเลย

ผมมีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า เนื่องจากช่วงที่นายสกาเลียเสียชีวิตนั้น เป็นช่วงที่สหรัฐอเมริกา กำลังมีการเลือกตั้งภายในของแต่ละพรรคเพื่อหาตัวแทนผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 ซึ่งนายโอบามาเอง น่าจะพอประเมินเห็นความเป็นไปได้ที่พรรคเดโมแครตจะได้ครองตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐในสมัยต่อไปอีกครั้ง และกระแสของสื่อมวลชนและประชาชนในเวลานั้นก็โหม มาทาง นางฮิลลาลี คลินตัน ผู้สมัครซึ่งเป็นว่าที่ผู้แทนของพรรคเดโมแครต ในขณะที่พรรครีพับลิกันยังไม่มีความชัดเจนในตัวผู้แทนพรรคเท่าไรนัก

ประกอบกับในเวลานั้น บรรยากาศในวุฒิสภาก็ไม่ได้เป็นใจให้กับนายโอบามาด้วย เพราะพรรครีพับลิกันยังคงครองเสียงมากในวุฒิสภา การสนับสนุนนางคลินตัน เพื่อให้ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี และสนับสนุนผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาจากพรรคเดโมแครตให้รับเลือกในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันเดียวกันกับวันเลือกตั้งประธานาธิบดี ก็น่าจะส่งผลดีมากกว่า หากในวันนั้นได้ข่าวดีว่านางคลินตัน ได้รับชัยชนะและพรรคเดโมแครทได้รับเสียงในวุฒิสภามากขึ้น การจะส่งมอบหน้าที่ให้นางคลินตัน ในฐานะประธานาธิบดีคนใหม่ เป็นผู้ทาหน้าที่แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสูดแทนนายสกาเลียก็ยังไม่สาย ทั้งยังสง่างามอย่างยิ่ง

การณ์กับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะในวันนี้ทั่วทั้งโลกทราบดีแล้วว่านางคลินตันเป็นผู้ปราชัย ส่วนผู้ที่กำชัยได้แก่นายโดนัล ทรัมป์ พร้อมกับข่าวร้ายที่ตามมาติด ๆ ว่า การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่มีขึ้น ในวันเดียวกันกับวันเลือกตั้งประธานาธิบดีนั้น พรรครีพับลิกันได้เสียงส่วนใหญ่ไปครอง ปิดโอกาสที่ นายโอบามา จะเสนอชื่อบุคคลเพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาอนุมัติให้ดารงตาแหน่งผู้พิพากษาศาลสูงสุด และวุฒิสภาเห็นชอบด้วยอย่างสิ้นเชิง

เกมทั้งหมดจึงกลับมาอยู่ในมือของทรัมป์ที่ฟ้าสว่างทางเปิดให้มากกว่า เพราะไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่งประธานาธิบดีที่รอคอยเขาอยู่อย่างแน่นอนแล้ว รีพับลิกันก็ยังได้ครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา
ด้วย

อย่างไรก็ดี ด้วยความที่ “ทรัมป์คือทรัมป์” แม้ว่าเขาจะเป็นประธานาธิบดีที่มาจากพรรคสาย อนุรักษ์นิยมอย่างรีพับลิกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเลือกเสนอชื่อผู้พิพากษาศาลสูงสุดที่มีแนวคิด อนุรักษ์นิยมเสมอไป หากทรัมป์เลือกคนที่หัวก้าวหน้าแล้วละก็

พัฒนาการของบรรทัดฐานทางสังคมและกฎหมายของสหรัฐอเมริกาในทศวรรษหน้าก็คงจะน่าตื่นเต้นขึ้นและน่าจับตาดูเป็นอย่างมาก สิทธิในการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศจะเป็นอย่างไร การทำแท้งเสรี จะเกิดขึ้นหรือไม่ “นิวเคลียร์” ตลอดจนเทคโนโลยีในมนุษย์จะได้รับการรับรองโดยกฎหมาย ไปในทิศทางไหน เหล่านี้เป็นสิ่งที่ศาลสูงสุดอาจต้องพิจารณา ซึ่งนั่นย่อมเป็นหน้าที่สุดท้าทายของผู้พิพากษาศาลสูงสุดคนใหม่ด้วย

“ใครจะเป็นคนนั้น” และ “ทรัมป์จะเลือกใคร?” นี่คือสิ่งที่น่าติดตาม

ล่าสุด

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริดา ได้เสนอชื่อ นายนีล กอร์ซุช ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รัฐบาลกลางในรัฐโคโลราโด เป็นผู้พิพากษาศาลสูงคนที่ 9 แทน นายแอนโทนิน สกาเลีย ที่เสียชีวิต คลิกอ่านข่าว