รายงานยูเอ็น ชี้ เมียนมาเจอวิกฤตมนุษยธรรมหนัก จำนวนมากตกอยู่ในภาวะยากจน

สหประชาชาติออกรายงานฉบับใหม่ ชี้ให้เห็นปัญหาโครงสร้างประชากรในเมียนมา โดยเป็นปัญหาชนชั้นกลางของพม่ากำลังลดขนาดลงอย่างมาก ชาวเมียนมาครึ่งหนึ่งตกอยู่ในสถานการณ์ความยากจนจากสงครามกลางเมือง

รายงานนี้อิงจากการสัมภาษณ์มากกว่า 12,000 ครั้งในช่วงสามเดือนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม พ.ศ. 2566 และเป็นหนึ่งในการสำรวจทั่วประเทศที่ใหญ่ที่สุดที่ดำเนินการในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ตามรายงานของสหประชาชาติ ชี้ว่า ทั้งนี้ พม่าซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกมองว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อัตราการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางอยู่ในระดับสูง ปัจจุบันเมียนมากำลังทุกข์ทรมานจากระดับความยากจนที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสงครามกลางเมืองที่สร้างความเสียหายอย่างหนักส่งผลให้ผู้คนหลายสิบล้านคนต้องทนทุกข์ทรมานมากขึ้น

นักวิจัยจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของประชากร 54 ล้านคนของเมียนมาร์อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน โดย 49.7% ของประชากรมีรายได้น้อยกว่าวันละไม่ถึง 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน (76 เซนต์) ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นสองเท่านับตั้งแต่ปี 2560

ทั้งนี้ สามปีหลังจากที่ทหารยึดอำนาจในการทำรัฐประหาร สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็วถึงจุดที่ชนชั้นกลางเสี่ยงต่อการถูกทำลาย ครอบครัวถูกสภาพบังคับให้ต้องลดการใช้จ่ายอาหาร สุขภาพ และคุณภาพการศึกษา

“สถานการณ์มีแนวโน้มที่จะแย่ลงอีกเมื่อถึงรายงานชิ้นนี้จะถูกเผแพร่ออกมา” ผู้เขียนกล่าว “นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นได้ส่งผลให้ผู้พลัดถิ่นสูญเสียอาชีพการดำรงชีวิต ธุรกิจต่างๆ ก็ต้องปิดตัวลง”

ย้อนกลับไปก่อนการรัฐประหาร เมียนมามีความก้าวหน้าอย่างมากในการลดความยากจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่เริ่มการเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตยจากการปกครองของทหารในปี 2554 ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมือง

ตามข้อมูลของธนาคารพัฒนาเอเชีย ในปี 2559 เมียนมา มีเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาค และระหว่างปี 2554 ถึง 2562 เศรษฐกิจของเมียนมาร์เติบโตเฉลี่ย 6% ต่อปี ตามตัวเลขของธนาคารโลก สามารถลดอัตราความยากจนลงครึ่งหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพจาก 48.2% ในปี 2548 เป็น 24.8% ในปี 2560

แต่หลังจากมีการรัฐประหารในปี 2564โค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของอองซานซูจี ได้ส่งผลให้ประเทศตกอยู่ในความไม่มั่นคงและความรุนแรง ทั้งยังเจอกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้สถานการณ์พลิกกลับหน้ามือเป็นหลังมือ

รายงานของสหประชาชาติ พบว่าความยากจนไม่เพียงเพิ่มขึ้นสองเท่า แต่ผู้คนยังยากจนยิ่งขึ้นด้วย โดยรวมแล้ว ประมาณสามในสี่ของประชากรอยู่ในความยากจน แต่สิ่งที่น่ากลัวมากคือผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้ ก็เป็นเพียงระดับยังชีพได้เท่านั้น” Kanni Wignaraja ผู้ช่วยเลขาธิการและผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียของ UNDP ระบุ

ทั้งนี้ ท่ามกลางความยากจนที่กำลังกัดกิน แพร่กระจายไปทั่วประเทศ ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตความขัดแย้งกำลังถูกกดดันให้อยู่ในความอดอยากมากขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้หญิงและเด็ก รายงานระบุ

นับตั้งแต่รัฐประหาร กองกำลังต่อต้านรัฐบาลทหารและกองทัพชาติพันธุ์ได้ต่อสู้กับรัฐบาลทหารเพื่อหวังโค่นล้มจากอำนาจ รัฐบาลเผด็จการทหารก็ได้เปิดฉากโจมตีที่โหดร้ายมากขึ้นต่อชาวเมียนมา

การสู้รบภาคพื้นดิน การโจมตีทางอากาศ และการโจมตีหมู่บ้านต่างๆ ของเผด็จการทหาร ได้ทำให้ประชาชนต้องพลัดถิ่นเกือบ 3 ล้านคน รายงานพบว่า แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบก็ยังต้องทนทุกข์ทรมาน มูลค่าของสกุลเงินท้องถิ่นของเมียนมาร์ คือ จ๊าต ลดลงพร้อมกับราคาอาหารและปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้น

การลงทุนจากต่างประเทศในประเทศลดลงอย่างรวดเร็วและจำนวนผู้ว่างงานที่อพยพไปต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก

รายงานพบว่า GDP ของเมียนมาไม่สามารถฟื้นตัวได้ หลังจากที่ลดลงไปถึง 18% ในปี 2564 เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองพร้อมๆกับการระบาดของโควิด

“เราไม่เคยเห็นเขตเมืองใหญ่ๆ เข้าสู่ความทุกข์ยากอย่างรวดเร็วขนาดนี้มาก่อน ดังนั้นพื้นที่รอบๆ ย่างกุ้งและมัณฑะเลย์จึงได้รับความทุกข์ยากย่างหนัก”

หากไม่มีการเข้าไปช่วยเหลือโดยทันที วิกฤตด้านมนุษยธรรมจะเลวร้ายลง “แบบทวีคูณ” และผลกระทบต่อเนื่องยาวนาน

“หากไม่มีการแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือโดยทันทีเพื่อให้การโอนเงิน ความมั่นคงทางอาหาร และการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน ปัญหาต่างๆก็จะยิ่งลุกลามบานปลาย ที่สุด ผลกระทบจะถูกส่งไปยังคนรุ่นต่อๆ ไป” อาคิม สไตเนอร์ ผู้บริหาร UNDP กล่าวในแถลงการณ์

“เราขอเรียกร้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดทั้งในและนอกเมียนมา ดำเนินการและปกป้องครัวเรือนที่เปราะบางจากการหลุดพ้นจากความยากจนและความสิ้นหวังที่ไม่อาจแก้ไขได้”